การจัดพิธีบรมราชาภิเษก
                                                                                                                                                                                                                                                              
ที่มา : สุวิชา. 2539, 31

สำหรับขั้นตอนของพิธีที่สำคัญต่างๆ แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ดังนี้  
ขั้นเตรียมพิธี
พิธีเบื้องต้น

  1. พิธีบรมราโชวาท
  2. พิธีเบื้องปลาย และ
  3. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

พระราชพิธีที่ประกอบขึ้นก่อนวันพระฤกษ์บรมราชาภิเษก
1. ขั้นเตรียมพิธี
          มีการตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่
สำคัญต่างๆ 18 แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามาเจือปนเป็น
น้ำมูรธาภิเษกให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรง และทรงรับน้ำอภิเษกในวันพระราชพิธีราชาอภิเษกต่อไป


พระพุทธเจดีย์ที่สำคัญที่ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ทั้ง 18 แห่ง คือ 

  1. จังหวัดสระบุรี ที่ตั้งพระพุทธบาท
  2. จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ
  3. จังหวัดสุโขทัย ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
  4. จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์
  5. จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
  6. จังหวัดลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย
  7. จังหวัดนครพนม ที่ตั้งวัดพระธาตุพนม
  8. จังหวัดน่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง
  9. จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย
  10. จังหวัดเพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ
  11. จังหวัดชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ
  12. จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร 
  13. จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช
  14. จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง 
  15. จังหวัดจันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ
  16. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อำเภอไชยา
  17. จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งวัดตานีณรสโมสร
  18. จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง

          น้ำสำหรับมูรธาภิเษกเป็นน้ำที่เจือด้วยน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดีย คือ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคา
ในแม่น้ำสำคัญทั้ง 5 ของไทย คือ

  1. แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง
  2. แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี
  3. แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม
  4. แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี
  5. แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก
              และน้ำ 4 สระ คือสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ
              นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎดวงพระบรมราชสมภพ (ดวงเกิด) และแกะพระราชลัญจกร (ดวงตราประจำรัชกาล)
    โดยได้มีการประกอบพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2493  ในพระอุโบสถวัดพระศรีศาสดาราม
    2. พิธีในเบื้องต้น
            มีการตั้งน้ำวงด้ายจุดเทียนชัยละเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              
                                                                                                                                                                                                                                                                                                           

3. พิธีบรมราชาภิเษก
          เริ่มด้วยการสรงพระมุรธาภิเษกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพร
พระราชอาสน์ ราชบัณฑิตและพราหมณ์นั่งประจำ 8 ทิศ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายดินแดนแต่ละทิศให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงคุ้มครอง (ในรัชกาลนี้ได้เปลี่ยนจากราชบัณฑิตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน)
          ในวันที่ 5 พฤษภาคม อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมูรธาภิเษก แล้วทรง
เครื่องต้นเสด็จออกประทับ เหนือพระที่นั่งอัฐทิศภายใต้สตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น) 
สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษก และพราหมณ์ทำพิธีพวายน้ำเทพมนต์เวียนไปครบ 8 ทิศ เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ (จิตต์ ณ สงขลา)
ประธานวุฒิสมาชิกสภา ถวายพระพรเป็นภาษามคธ และนายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรถวายพระพรเป็นภาษาไทย
พระราชครูวามเทพมุนี ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์ร่ายเวทเปิดศิวาลัย
ไกลาลทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฎ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ ด้วยภาษามคธ 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งภัทรนิฐ
ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่มา : สุวิชา. 2539,31

สำหรับพระสุพรรณบัฎ ได้จารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"
          เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ แล้ว พระราชครูวามเทพมุนี ถวายพระพรชัยมงคลด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตอบ พระราชอารักษาแต่ปวงชนชาวไทย ด้วยภาษาไทยว่า 
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
          เมื่อพระราชครูวามเทพมุนีรับพระราชโองการด้วยภาษามคธและภาษาไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรางหลั่งน้ำ
ทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา 
          จากนั้นทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎ พระธำมรงค์รัตนวราวุธ และพระธำมรงค์วิเชียรจินดา จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ)
เลขาธิการพระราชวัง ทูลเกล้าฯ ถวายดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน ทรงโปรยพระราชทานแก่พราหมณ์ แล้วเสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งไพศาล
ทักษิณ สู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ 80 รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราช
ถวายอดิเรกเป็นปฐม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพรลา แล้วเสด็จขึ้น สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนชัย 
4. พิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคม
          เวลาบ่ายของวันที่ 5 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกมหาสมาคม ที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ให้คณะรัฐมนตรี
คณะฑูต สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบทูลถวายพระพรชัยมงคล โดยมี
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี กราบทูลในนามคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทั่วพระราชอาณาจักร และพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ประธานรัฐสภา กราบทูลในนามประชาชนชาวไทย แล้วทรงมีพระบรมราชโองการตรัสตอบขอบใจทั่วกัน แล้วเสด็จขึ้น
          นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินี ประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา ถวายพระบังคม
พระบรมศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ และเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร 
5. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

                   การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค จัดเป็นราชประเพณีที่สำคัญพิธีหนึ่ง เมื่อเสด็จ
          พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งนี้เพื่อให้พสกนิกร ได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่

                   
                  
ที่มา : เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา มหาราช. 2542,21
  
ที่มา : สุวิชา. 2539,35
ที่มา : สุวิชา. 2539,73
PREVIOUS