ราชประเพณีนี้เป็นวัฒนธรรมที่ชาวไทยถือปฏิบัติตลอดมา แต่ละยุคสมัยย่อมมีการปรับเปลี่ยนการจัดพระราชพิธีและการสร้างพระเมรุสอดคล้องไปกับสภาวะของสังคม ดังที่เมื่อพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี เสด็จสวรรคต หรือพระบรมวงศ์ ผู้ทรงประกอบคุณงามความดีไว้แก่ชาติบ้านเมองล่วงลับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศล และถวายพระเพลิงพระบรมศพและพระศพจะอัญเชิญสู่พระโกศทองประดิษฐานเหนือพระเบญจาทอง ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มีการตกแต่งที่ประดิษฐานพระโกศและกางกั้นด้วยเศวตฉัตรตามพระอิสริยยศ จัดการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นประจำวัน และทุกสัตตมวาร (๗ วัน) ปัณรสมวาร (๑๕ วัน) ปัญญาสมวาร (๕๐ วัน) และสตมวาร (๑๐๐ วัน) เมื่อถึงกาลอันควร หมายความว่าสร้างพระเมรุมาศหรือพระเมรุที่ท้องสนามหลวงเสร็จพร้อมที่จะถวายพระเพลิงได้ ก็อัญเชิญพระบรมศพหรือพระศพจากพระบรมมหาราชวังไปยังท้องสนามหลวง เรียกเป็นสามัญว่า “งานออกพระเมรุ” |
---|
พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ที่มา :เครื่องประกอบพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ.2551,243 |
การเชิญพระบรมศพ พระศพ สู่พระโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล ตลอดจนการสร้างพระเมรุมาศพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง มีแบบแผนกำหนดไว้เป็นแนวทางให้ปฏิบัติ หรือแม้แต่การเคลื่อนพระศพจากพระบรมมหาราชวังสู่พระเมรุที่ท้องสนามหลวง การตกแต่งพระจิตกาธาน การอัญเชิญพระบรมอัฐิ พระอัฐิพระสรีรางคารกลับสู่พระบรมมหาราชวัง |
PREVIOUS NEXT |