ความหมาย
กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง
เชื่อกันว่ากริชนั้น เริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในมาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ตอนใต้ กัมพูชา ภาคใต้ของไทย สิงคโปร์ และแม้กระทั่งเวียดนาม
คำว่า " กริช" ในภาษาไทย น่าจะถอดมาจาก "keris" ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้ ผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง แทง ภาษาต่างๆ ในยุโรป ใช้ว่า kris ตามมลายู
ใบและฝัก
ตัวกริช หรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย
ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

        

กริช (keris) เป็นคำภาษาชวา-มลายู เรียกอาวุธประจำตัวที่เป็นที่นิยมของคนชวา-มลายู ถึงขนาดเรียกว่า เป็นอาวุธประจำชาติของชาวมลายู สำหรับประเทศไทย เป็นที่นิยมพกพาของคนในบริเวณชายแดนภาคใต้ทั่วไป
(กริชรามัน กริชแห่งลังกาสูกะ www.krisraman.co.th)

กริชนั้นถือเป็นอาวุธประจำกายที่สำคัญซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความ
เป็นชายชาตรี  ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ  ยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของและตระกูล     และนิยมใช้กันแพร่หลายทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมในภาคใต้ของไทย  เรื่อยไปจนถึงมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  หรือเรียกได้ว่าทั่วทั้งคาบสมุทรมลายู

    กล่าวกันว่า  กริช  นั้นน่าจะเป็นอาวุธของอินโดนีเซียซึ่งปรากฏรูปจำหลัก  ว่ามีการใช้ดาบเป็นอาวุธอยู่ซึ่งยังไม่พบการใช้กริช   จนกระทั่งพบรูปกริชครั้งแรกที่ผนังโบสถ์ suku  ของชวาราวกลางศตวรรษที่ 14   เป็นรูปจำหลักของเทพเจ้าภีมะนักรบของชวากำลังใช้มือเปล่าจับเหล็กร้อน
ตีเป็นรูปกริชซึ่งใช้เข่าตนเองรองต่างทั่ง   และในศตวรรษที่  14  นี้เอง  มีการกล่าวถึงตำนานกริชที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่นในตำนานฮินดูสกุตรัม(
Hindu King Sakutrum)     กระทั่งถึงสมัยมัชปาหิตกริชเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย  พกติดตัวและพร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา   และในศตวรรษที่ 15 เรื่อยมาถึง ศตวรรษที่ 19 ติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้กริชแบบฮินดูเริ่มน้อยลงแทนที่ด้วย
แบบฮินดูเริ่มน้อยลงแทนที่ด้วยความเชื่อแบบอิสลาม ซึ่งการใช้กริชและการทำกริชต้องอยู่ในหลักและแนวคิตของศาสนาอิสสลาม
อย่างเคร่งครัด การทำกริชประกอบขึ้นมาแต่ละเล่มนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับ
ปรากฎการธรรมชาติอำนาจชีวิตและเลือดเนื้อของเจ้าของกริช  กริชเล่มหนึ่งๆ
อาจต้องสรรหาเหล็กถึง 20 ชนิดมาหลอมรวมกันด้วยกระบวบการและพิธีกรรม
ที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบตามความเชื่อและกระบวนการทางไสยศาสตร์ 
มีความแหลมคมประดุจดังเขี้ยวเสือ และความคดประดุจเปลวไฟอันแสดงถึงความกล้าหาญและมีอำนาจ  กริชนั้นถือเป็นอาวุธมงคลขจัดภยันตรายและอัปมงคล นำโชควาสนา   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาผสมกรรมวิธีรูปแบบลักษณะที่ประกอบ
ขึ้นเป็นกริชเล่มนั้นๆ    G.C. Woolley ได้จำแนกกลุ่มกริช
อาศัย รูปแบบของด้ามได้ 
(กริช  อาวุธโบราณในบริเวณคาบสมุทรมาลายู
http://www.oknation.net/blog/yongyoot/2007/09/06/entry-1)

<<< PREVIOUS     NEXT >>>