กริชในภาคใต้ตอนล่าง
วัฒนธรรมชวา-มลายู ในยุคที่อินเดียเข้ามามีอำนาจในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5-13 ทำให้วิถีชีวิต
ของประชาชนบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะต่าง ๆ ถูกหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมฮินดูโดยมีชนชั้นสูง
จากเกาะอื่นๆที ่มีอำนาจเหนือกว่าเป็นผู้ควบคุมให้เอาอย่างดยเฉพาะการขยายอำนาจของเจ้าผู้ครองนครมัชปาหิต
ของชวามายังดินแดนคาบสมุทรตอนใต้ได้แก่ ปาหัง หุชุง ตะนะ (HUJUNG TANA : ยะโฮร์)
เลงกาสุกะ (LENGKASUKA) สาย (SAI : สายบุรี) กะลันตัน (KALANTEN) ตรังกานู (TRINGGANO) เป็นต้น
การที่มัชปาหิตเคยเข้ามาปกครองปัตตานีโดยตรง ทำให้ปัตตานีรับศิลปะแบบชวามาใช้หลายอย่าง เช่น
วายัง (หนังตะลุงชวา) และดาบสองคม คือ กริช (Keris) ก็เชื่อว่าเป็นอิทธิพลจากมัชปาหิตที่เข้ามามีบทบาท
ต่อปัตตานีเช่นกัน (Bougas. 1994 : 10)
ในระยะแรกปัตตานีรับเอาวัฒนธรรมการใช้กริชมาจากชวาโดยตรง คือทั้งรูปแบบและการใช้ ภายหลังจึงค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยสกุลช่างท้องถิ่นที่เรียกว่ากริชปาแนซาฆะห์ [ภาพที่ 107] หรือกริชตายง
(กริชปัตตานี) ทำให้มองเห็นร่องรอยของวัฒนธรรมชวาและมลายู อยู่มากมายในตัวกริช ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย
รูปแบบ และกรรมวิธีผลิต
ในสงขลาก็เช่นเดียวกันกับปัตตานีกล่าวคือดาโต๊ะโมกอล (ราชวงศ์โมกุล) เป็นชาวอาหรับอยู่ในเปอร์เซีย
ถูกชาวตะวันตกรุกราน จึงอพยพไพร่พลหาที่ตั้งเมืองใหม่ เมื่อเดินเรือมาถึงหัวเขาแดง เห็นเป็นทำเลที่เหมาะสม
จึงได้ตั้งเมืองขึ้นที่บริเวณนั้น เมื่อมีความเข้มแข็งขึ้น ก็สามารถปกครองคนพื้นเมืองดั้งเดิมได้ การเข้ามาปกครอง
บริเวณหัวเขาแดงของดาโต๊ะโมกอลนั้น ได้นำเอาวัฒนธรรมที่ตนชื่นชอบเข้ามาด้วย โดยเฉพาะการเหน็บกริช
เมื่อจะเดินทางไปไหนมาไหน จึงเป็นอิทธิพลทำให้ค่านิยมในการใช้กริชแพร่ไปสู่ชนพื้นเมืองด้วย
สงขลาได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญในอดีตและเป็นเมืองท่าค้าขายที่เป็นคู่แข่งกับปัตตานีด้วย
โดยเฉพาะการที่เจ้าเมืองสงขลาไม่เก็บภาษีผ่านด่าน จึงทำให้การค้าเจริญรุ่งเรืองมาก ทำให้ปัตตานีไม่พอใจ
ถึงกับยกมาตีเมืองสงขลาก็มี ดังนั้นการเข้ามาค้าขายของนานาประเทศก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามา
มีอิทธิพลต่อประชาชนในเมืองสงขลาด้วย
กริชในรูปแบบสงขลาก็เช่นกันกับกริชปัตตานี จะเห็นร่องรอยของวัฒนธรรมชวา และมลายูอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย รูปแบบและกรรมวิธีผลิต
รูปแบบของกริชในภาคใต้ตอนล่าง
ค่านิยมของการใช้กริชของผู้คนในภาคใต้ตอนล่างที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์ (ไทย จีน มลายู)
ซึ่งมีผลมาจากการเมืองและการค้า แต่มีปัจจัยหลักของการดำรงชีวิตเกือบเป็นอย่างเดียวกัน ดังกล่าวข้างต้น
จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วมขึ้น โดยเฉพาะค่านิยมในการใช้กริช จากการออกสำรวจภาคสนามสามารถแบ่งรูปแบบของกริชในภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นที่นิยมของชาวไทยเชื้อสายจีน
ชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สกุลช่างปัตตานี และสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช
(สัมภาษณ์ นายเรือง ศรีอินทร์ : 2541)
กริชสกุลช่างปัตตานีมีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถดูได้จากรูปแบบของตากริชส่วนของด้ามและฝัก
ตากริชสกุลช่างปัตตานี
ตากริชของช่างปัตตานีเรียกชื่อเป็นภาษามลายูท้องถิ่นว่าตากริชแบบปาแนซาฆะห์ ลักษณะพิเศษคือ
ตากริชจะเรียบ มีสันตรงกลางคล้ายอกไก่ทั้ง 2 ข้าง มองภาพตัดจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มี 2 แบบ คือ
แบบตาตรง และแบบตาคต (สัมภาษณ์ นายเจะอุมา หะมิงมะ : ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีลายในเนื้อเหล็กและไม่มีลาย
กริชสกุลช่างปัตตานี
|
|
|
กริชปัตตานีแบบ หัวนกพังกะ ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,82 |
กริชสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช
กริชสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช สามารถดูได้จากรูปแบบของด้ามและฝัก |
|
กริชสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,91 |
กริชกลุ่มนี้ด้ามและฝึกคล้ายกริชตะยงของกลุ่มปัตตานี เพราะมีตันกำเนิดที่เดียวกันแต่แบบสงขลา-นครศรีธรรมราชฝักและด้ามมีขนาดเล็กและบางเพรียวกะทัดรัดกว่า
กริชตะยงของปัตตานี ด้ามกริชแบบสงขลาดูคล้ายรูปวายังหรือตัวหนังชวา บ้างก็ว่าดูคล้ายหน้าพราน
ซึ่งเป็นตัวตลก
ของโนรา มีจมูกยาวและเรียวแหลม ไม่มีเคราใต้คาง รูปทรงด้ามกริชจะแบนแฟบจะแกะสลักลวดลายแบบตื้น ๆ วัสดุที่ทำด้ามกริชมีทั้งที่ทำจากไม้แก้วดีปลี เขาควาย งาช้าง และเงินบุขึ้นรูป ฝักกริชแบบกลุ่มสงขลา ตัวฝักและปีกฝักจะบางเพรียว ขนาดเล็กและสั้นกว่ากลุ่มปัตตานีฝักจะเรียวแหลมเป็นรูปกรวย ปีกฝักมีความโค้งมากจนดูคล้ายเขาควาย ปลายปีกฝึกบางเล่มจะทำให้ม้วนตัวคล้ายเลขหนึ่ง (๑) แบบไทยหรือคล้ายยอดผักกูด นิยมสวมรัดฝักกริชด้วยปลอกเงิน
เป็นเปลาะ ๆ
|
เปรียบเทียบรายละเอียดของด้ามกริชหัวนกพัง
ระหว่างแบบปัตตานีกับแบบสงขลา-นครศรีธรรมราช
ด้ามกริชหัวนกพังกะแบบปัตตานี (แบบตัวผู้) |
|
|
ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,92 |
การพัฒนารูปแบบและเทคนิควิธีผลิตของกริชทั้ง 2 กลุ่มถือเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรับใช้สังคมตามเจตนารมณ์จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ทางด้านศิลปกรรม
|
|
|