ลักษณะนกเขาชวา  เช่น  นกตัวใดมีแข้งเป็นสีแดง  เล็บยาว  ตาทั้ง  2  ข้างมีรอยขาวอยู่ข้างใน  ถือว่าสามารถ
ระงับไฟไหม้ได้  นกตัวใดมีขนในปาก  จะนำใชคลาภมาให้ผู้เลี้ยงอยู่เป็นนิจ  และกันไฟไหม้ได้  นกตัวใดมีขนคอ
คล้ายลูกประคำแก้ว  คือ  เป็นรูปวงกลมติดกันอยู่รอบคอ  เชื่อว่าสามารถป้องกันศัตรูได้  นกตัวใดมีขนหางนับได้  11,
17  หรือ  19  เส้น  ใครเลี้ยงไว้จะเป็นเศรษฐีและจะไม่มีโรคภัย  นกตัวใดขันเสียง  “ครู”  จะให้คุณทางค้าขาย 
และทำไร่นา  ถ้านำน้ำที่นกตัวนั้นกินแล้วกระเซ็นออกมาไปประพรมในไร่นา  เชื่อว่าพืชผลจะงอกงามบริบูรณ์  คติที่ถือกันในกลุ่มไทยพุทธ  คือ  ถ้านกตัวใดมีลักษณะเหมือนองค์พระ  คือที่ปีกทั้ง  2  ข้าง  มีรูปเหมือนตัวอักษร  “นะ”  ตรงกลางขนหางมีรูปเหมือนตัวอักษร  “โม”  ขนที่คอมีรูปเหมือนอักษร  “พุท”  ขนที่โคนหางมีรูปเหมือนตัวอักษร  “ธา”  และที่ปลายหางมีรูปเหมือนอักษร  “ยะ”  ท่านว่ามีค่าควรเมือง  ดังนี้เป็นต้น มัลลิกา  คณานุรักษ์, สารานุกรมวัฒนธรรมไทย 
ภาคใต้  เล่ม  8, 2542 : 3575)  เนื่องจากคติการเลี้ยงนกมิได้เป็นของต้องห้าม  จึงยังดำรงอยู่ทั้งวิถีและพลังจวบจนปัจจุบัน  สำหรับในระดับวัฒนธรรมเมืองของปัตตานี  มีประเพณีแห่นกสวรรค์  ในโอกาสสำคัญ  เช่น  การับแขกเมือง  นกสวรรค์ตามตำนานชาวา  ได้แก่  (1)  นกกาเฆาะซูรอ  หรือนกกากะสุระ  (นการเวก)  (2)  นกกรุดา  คือครุฑ
  (3)  นกบือเฆาะมาศ  คือนกยูงทอง  (4)  นกบุหรงซีงอหรือนกสิงห์  มีรูปร่างคล้ายราชสีห์  ตุรงกะ  หรือดุรงค์  คือ  ม้า  นอกจากหมายถึงสัตว์พาหนะ  ยังมีความหมายโดยนัยว่า  “ผู้ไปเร็ว”  เป็นคุณลักษณะของความเป็นชายชาตรี  แบบชายชาติ 
“อาชาไนย”  คือเป็นผู้ผ่านการฝึกมาอย่างดีแล้ว  มีความกล้าหาญ  เป็นนักเลง  เป็นผู้  “มีวิชา”  (ในยุคโบราณหมายถึง 
รู้กฤตยาคุณ  รู้คาถาอาคม  เป็นต้น)  และจุริกะหรือ  จุรีกา  หมายถึง  อาวุธ  คือ  กริช  ตามตำรากริชซึ่งเป็นหนังสือบุดขาว  อำเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี  กล่าวถึงลายกริชประมาณ  50  ลาย  มีคำเกริ่นนำว่า  “ตำรากริชนี้จะบอกไว้แก่ท่าน
ทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดจะซื้อกริชให้ดูตำรานี้เสียก่อน  ต่อหาซื้อเอาถ้าว่าถูกต้องเหมือนในที่ตำรากล่าวไว้นั้น  ผู้นั้นเขาจัดว่ามีวาสนา
  คนเลื่องลือ  ความครันมากมาย  ข้าคน  วัว  ควาย  ทรัพย์สินทั้งหลายมีอยู่ครบครัน  ถ้าหากวาสนาไม่มีให้หาจนตาย
ไม่พบสักอัน  หากลายไม่ครบพอใช้ได้ให้หาเพียงนั้นพอสบายใจ  เราและเพื่อนฯ”
  บางลายบ่งว่างูขบเรามิได้, ลายนี้ล้างน้ำข้าวปลูกดีนักแล, เป็นเสน่ห์ผู้หญิง ฯลฯ  อนึ่งตามคติความเชื่อของชาวใต้ตอนล่างว่ากริชที่ส่วนกลางของใบกริชมีรอยแตกทะลุ เชื่อกันว่ามีความขลังมากกว่า
กริชที่ไม่มีรอยทะลุ  ดังนี้เป็นต้น
                “ในพิธีแต่งงานของมาเลเซียและอินโดนีเซีย  แม้ในปัจจุบันกริชยังเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายตามประเพณี
ของเจ้าบ่าว  ทำให้ภาพลักษณ์ของเจ้าบ่าวในสายตาเจ้าสาวและครอบครัวนั้นรู้สึกว่าเป็นคนที่ควรแก่การยอมรับ  กริชที่เจ้าบ่าวเหน็บนั้นเป็นของขวัญจากบิดาของเจ้าสาว  หรือถ้าบิดาไม่อาจมอบให้ได้ก็จะเป็นของขวัญจากพี่ชายของเจ้าสาว...ตามธรรมเนียมมลายู  กริชเป็นทียอมรับว่าเป็นตัวแทน
ของเจ้าบ่าว  ถ้าเจ้าบ่าวมีเหตุใดที่จะไปเองตามวันที่กำหนดไม่ได้  เจ้าสาวจะเข้าพิธีแต่งงานกับกริชของเจ้าบ่าวก็ได้”

ในพิธีกรรมเรียกผีตายาย  การเล่นนายมนตร์หรือโต๊ะครึมใช้กริชวางเหนือหัวหมอน เชื่อว่ากริชคือตัวแทนพระ  ศิวะ  ส่วนตะเกียงชวาลาที่จุดแขวนไว้ที่เสาเอกของโรง พิธี  ยอดฝาจะต้องมีรูป กุหนุงหรือเขาพระสุเมรุ         
    ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,103

                                                                                                              
                                                                                                                      
                                                                                                                                                                                                                                                                

คติการใช้กริชแทนเจ้าบ่าว  ผู้นำศาสนาอิสลามยืนยันตรงกันว่าถ้าจะเคยม็ไม่ใช่พิธีนิกะห์  (แต่งงาน)  ของชาวมุสลิม  เพราะมุสลิมถ้าจำเป็นที่จะต้องประกอบพิธีนิกะห์  โดยที่เจ้าบ่าวไม่อยู่ในวิสัยที่จะเข้าพิธีได้ก็จะใช้วิธี  “นิกะห์ฆาตี” 
คือ  “แต่งงานแทน”  โดยเจ้าบ่าวมอบหมายให้ผู้หนึ่ง  ผู้ใดแต่งงานแทนตน  เจ้าบ่าวจะต้องมอบหมายด้วยวาจา
ต่อหน้าสักขีพยานอย่างน้อย  2  คนให้รับรู้หรือมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร  การประกอบพิธีคงปฏิบัต
ิเช่นเดียวกับการแต่งงาน  ที่มีเจ้าบ่าวตัวจริงทุกประการ
                การแต่งงานแบบให้ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นตัวแทน  (ที่ไม่ใช้พิธีของมุสลิม)  ขุนศิลปะกิจพสัณห์เคยเล่าว่า  เคยมีคดีความเนื่องจากเจ้าบ่าวตัวแทนเกิดหัวหมอและกลับใจจะได้เจ้าสาวนั้นเป็นภรรยาจริงของตนขึ้นมา 
การใช้กริชเป็นตัวแทนจึงปลอดภัยกว่าและดูดีกว่า  เมื่อพิธีแต่งงานแทนเสร็จสมบูรณ์แม้ว่าเจ้าบ่าวและเจ้าสาว
ยังมิได้ร่วมหอเป็นสามีภรรยากันจริง  ทั้งสองฝ่ายก็สามารถเรียกร้องสิทธิอันเนื่องจากการสมรสได้ถ้ามีเหตุจำเป็น 
ทำนองเดียวกันฝ่ายหญิงก็อาจตกเป็นพุ่มหม้ายได้โดยปริยาย
                การใช้กริชบุกรุกเพื่อลักพาหญิงสาว  ในวัฒนธรรมมลายูมี  2  ลักษณะ  คือ  “panjat angkara  (ปันจัต  อังกะระ)
  เป็นการบุกรุกด้วยกำลัง  ในกรณีที่ครอบครัวของหญิงนั้นปฏิเสธคำขอแต่งงานของผู้บุกรุก  ตามธรรมเนียมแล้วการกระทำเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับหากเป็นไปตามขนบนิยมคือ  ชายผู้บกรุกต้องมีกริชของตนเป็นอาวุธและพร้อมที่จะเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจากครอบครัวฝ่ายหญิง 
โดยจะตอบโต้ไม่ได้  ส่วนครอบครัวฝ่ายหญิงจะต้องพิจารณาเป็นการภายในว่าควรจะจำยอมหรือตอบโต้
้  โดยคำนึงถึงชื่อเสียง  พรรคพวก  เพื่อนฝูง  และสถานภาพครอบครัวของผู้บุกรุก  ถ้าครอบครัวฝ่ายหญิงยินยอม  ฝ่ายชายจะต้องพร้อมที่จะจ่ายค่าตัวให้ฝ่ายหญิงเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวของอัตราปกติ  และจ่ายค่าปรับตามฐานะของผู้ชาย”   คู่แข่งขันที่พ่ายแพ้ชายคนใหม่ที่ปรารถนาหญิงสาวผู้นั้น  โดยคนรักเก่าของฝ่ายหญิงเป็นผู้ได้รับเงินนี้ไป 
แต่ถ้าญาติของฝ่ายหญิงยังไม่ยินยอม  กระทาชายผู้บุกรุกก็ต้องถอยกลับและต้องอับอายเป็นอันมาก  อีกลักษณะหนึ่ง
  คือ  “panjat adapt  (ปันจัต  อะดัต)  เป็นการบุกรุกอย่างสงบ  ในกรณีนี้ใช้กริชเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการบุกรุกโดยชายที่หมายปองหญิงเพียงแต่ส่งกริชไปที่บ้านฝ่ายหญิงที่ครอบครัว
ของฝ่ายหญิงเคยยืนกรานไม่ยินยอมยกให้  พร้อมกับแจ้งไปว่าตนพร้อมจะสู้ราคาค่าสินสอดและจัดของขวัญตามกำหนด  ซึ่งจะเป็นอีกเท่าตัวตามประเพณีและเต็มใจให้เรียกร้องไม่ว่าด้วยประการใด ๆ  ถ้ากริชถูกส่งกลับ  หมายถึง  ถูกปฏิเสธ  กรณีเช่นนั้นครอบครัวฝ่ายหญิงจะต้องจ่ายค่าปฏิเสธให้ฝ่ายชายตามที่ตกลงกันไว้”

                คตินิยมดังกล่าวนี้ไม่พบในวัฒนธรรมภาคใต้กลุ่มไทยมุสลิม  ส่วนในกรณีที่เจ้าบ่าวได้รับมอบกริชเป็น
ของขวัญจากฝ่ายเจ้าสาว  ผู้ที่จะมอบได้  คือ  วลี  เท่านั้น  วลี  คือ  ผู้ปกครองของหญิง  ซึ่งมีสิทธิ์ให้หญิงนั้นประกอบ
พิธีสมรส  ต้องเป็นเพศชาย  มีสติสัมปชัญญะ  ไม่อยู่ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์  อาจเป็นบิดา  ปู่  พี่ชาย  หรือน้องชาย
ของหญิงก็ได้ 
                กลุ่มไทยพุทธในภาคใต้ตอนล่างและตอนกลาง  เมื่อทศวรรษที่  2490  ถอยไปสู่อดีตหลายพื้นที่นิยมใช้กริช
เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายเจ้าบ่าว  และในคืนส่งตัวเจ้าสาวเจ้าบ่าวจะมอบกริชนั้นแก่เจ้าสาวพอเป็นพิธี  ทำนองว่า  ได้ฝากความเป็นความตายไว้กับเจ้าสาว  แล้วเจ้าสาวก็ส่งคืน  อันหมายถึงมอบชีวิตตนฝากไว้กับสามี

           
              การใช้กริชในพิธีเข้าสุหนัตของชาวมุสลิม                                      การใช้กริชในพิธีแต่งงาน

 ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,95

การแต่งงานโดยใช้กริชแทนเจ้าบ่าวในโลกมลายูอีกกรณีหนึ่ง  “กรณีเช่นนี้จะเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงเมื่อแต่งงาน
กับสตรีที่ฐานะต่ำกว่า  โดยจะไม่ปรากฏนักในหมู่ชนสามัญที่แต่งงานกันครั้งแรก  ชนชั้นหัวหน้าในท้องที่นั้นอาจบังคับให้ลูกสาวของคนสามัญเข้าบ้านตนซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นที่ขุ่นเคืองเสียจนหัวหน้าที่
ี่จะบังคับเอาผู้หญิงมักจะสั่งให้เจ้าสาวผู้นั้นแต่งงานกับกริชแทน”

                ในกรณีนี้ขุนศิลปะกิจพิสัณห์ได้เล่าไว้  เมื่อปี  2504  ว่าเป็นขนบประเพณีที่ชนชั้นสูงในมณฑลปัตตานีเคยถือ
ปฎิบัติด้วย  เพื่อสงวนศักดิ์แห่งชั้นวรรณะของตนและเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากชวา-มลายู  ปัจจุบันไม่มีขนบประเพณี
ีดังกล่าวนี้ในภาคใต้
                ในสุมาตรามีธรรมเนียมให้ใช้กริชเป็นค่าสินสอดได้  ในกรณีนี้จะต้องเป็นกริชที่งดงามประณีต  มีฝักและ
เครื่องแต่งเป็นทองหรือเงิน  คนสามัญโดยทั่วไปจะระวังไม่อวดกริชที่ประดับเครื่องมากมายนัก  ซึ่งจะเกินฐานะของตนไป

<<< PREVIOUS    >>>