ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการประโคมกาหลอ
          ในบรรดาการละเล่นและมหรสพต่าง ๆ ของชาวภาคใต้  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้น
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า  กาหลอมีความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ หยุมหยิมมากกว่าการละเล่นอื่นไดทั้งสิ้น  ความเชื่อที่หยุมหยิมกลายเป็นธรรมเนียมที่กาหลอต้องปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเคร่งครัด  ทำให้เป็นทางหนึ่ง
ที่ช่วยให้กาหลอสูญหายไปอย่างรวดเร็ว  ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ของกาหลอมีดังนี้

ที่มา : กาหลอ http://www.sarakadee.com/feature/2003/08/images/kalo_01.jpg

  ๑.  ความเชื่อที่เกี่ยวกับปี่ของกาหลอ   ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้จำแนกได้ดังนี้
                     ๑.๑  เชื่อว่ามีครูหมอปี่  ความเชื่อเรื่องนี้  “แรง”  มาก  ที่บ้านของหัวหน้าวงกาหลอทุกคน
  จะต้องมีหิ้งไว้เหนือหัวนอนสำหรับตั้งปี่พักอาศัย  ถ้าไม่ปฏิบัติจะถูกครูหมอ  “ทำ”  ให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ  นานา
                     ๑.๒  การตั้งปี่บนหิ้ง  จะต้องถอดคันปี่แยงลงในฮ้อปี่ซึ่งคว่ำปากอยู่  ถ้าไม่ทำเช่นนี้ครูหมอป
ี่จะทำให้ผู้เล่นต้องปวดศีรษะ  หรือลูกเมีย  ญาติพี่น้องซึ่งพักอยู่ด้วยกันจะต้องมีอันเป็นไป  เช่า  ป่วย  เจ็บ 
หรือเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ
                     ๑.๓  ทุกครั้งที่นำปี่ขึ้นตั้งบนหิ้งหรือหยิบลงไปนำศพจะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตคือใช้หมาก  ๓  คำ 
เทียน  ๑  เล่ม  ขึ้นตั้งทำพิธีบูชาครู
                     ๑.๔  เชื่อว่าครูหมอปี่จะเป่าปี่อยู่เสมอ  ถ้าเมื่อใดที่ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงได้ยินเสียงปี่  (ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเป่า)  ก็เป็นที่เชื่อแน่ว่าจะต้องมีคนตายและกาหลอจะต้องไปนำศพในที่ใดที่หนึ่งภายในไม่ช้า
                    ๑.๕  เมื่อนำปี่ขึ้นตั้งบนหิ้งแล้ว  จะนำมาปี่ลงมาเป่าเล่นโดยไม่มีพิธีรีตองหรือเป่าเล่นสนุก ๆ  ไม่ได้
  ถ้าจะนำลงมาเป่าหรือลองเป่า  จะต้องเป็นการตระเตรียมตัวเพื่อที่จะใช้เป่าในงานซึ่งกำลังจะไปประโคมเท่านั้น
                     ๑.๖  เมื่อนำปี่ลงจากหิ้ง  ผู้ชายเท่านั้นที่จะได้รับการอนุญาตให้จับต้องปี่ได้  ส่วนผู้หญิงห้ามจับต้องป
ี่อย่างเด็ดขาด  ถ้าจับต้องจะมีอาการเสียดท้อง  ปวดศีรษะ  ชักหรือป่วยไข้
                     ๑.๗  เมื่อครูหมอปี่กระทำแก่ผู้ใด  ผู้เป่าปี่จะต้องทำพิธีขอขมาลาโทษ  คือจะต้องกล่าวถ้อยคำว่า             
                              “พรรคพวกสภากหลอครูหมอปี่    อย่าถูกต้องทับทอเด็ด
                                ขอให้หบหาย  ผิดพลั้งหลังหน้าขอขมาลาโทษ”
                     ๑.๘  เชื่อกันว่าหากเจ้าบ้านเจ้าเรือนไม่อยู่  ครูหมอปี่จะเฝ้าบ้านได้  คือ  ชาวบ้านอื่น ๆ จะเห็น
เหมือนกับว่ามีคนอยู่ที่บ้าน  เช่น  เห็นเป็นคนเฒ่าคนแก่ชายหญิงนั่งยนหมากและมีควันไฟที่บ้านเหมือนกับ
กำลังหุงข้าว  ถ้าใครขึ้นมานั่งพักหรือนอนบนเรือนโดยไม่บอกกล่าว  มักจะให้โทษเช่นทำให้ปวดหัว  ปวดท้อง
  หรือดึงเท้า  เหยียบอก  เป็นต้น
                     ๑.๙  ผู้เป่าปี่กาหลอจะต้องปฏิบัติตัวตามธรรมเนียมนิยมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาให้ถูกต้อง  คือ
                                - ไม่พูดเท็จ
                                - ไม่ประพฤติผิดลูกเมียของผู้อื่น
                                - ถ้านั่งเรือลอดใต้สะพาน  จะต้องใช้มือกุมหัว
                                - ห้ามเข้าใต้ถุนบ้านซึ่งมีเสาเรือนเพียง  ๔  เสา  และใต้ถุนบ้านซึ่งมีคนเกิดใหม่ ๆ      อย่างเด็ดขาด  เพราะจะทำให้คาถาเสื่อมหาย
                                
-  นั่งร่วมเสื่อกับผู้หญิงไม่ได้
                                -  อาหารที่มีผู้รับประทานแล้ว  จะรับประทานไม่ได้  แต่รับประทานอาหารที่พระฉัน 
   แล้วได้  สำหรับอาหารที่บ้าน  ลูกเมียจะต้องตักแยกเก็บไว้ก่อนเสมอ
                                - เมื่อกาหลอไปประโคม  ณ ที่ใด  และคนเป่าปี่จะรับประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใดระหว่าง
   เป่าปี่  จะต้องนำปี่ทับลงบนปากถ้วยให้ครูหมอปี่กินเสียก่อน  ถ้าไม่ถือปฏิบัติจะ   มีโทษรุนแรง
                               - สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่รองตั้งปี่  เช่น  เสื่อ  หมอน  ผ้าขาว  ผู้หญิงจะจับต้องไม่ได้อย่างเด็ดขาด
- ก่อนเป่าปี่จะต้องเซ่นครูหมอปี่ทุกครั้ง
                ๒.  ความเชื่อที่เกี่ยวกับกลองทน  (กลองโทน)  ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับกลองทนไม่มากเหมือนกับปี่ 
แต่ก็จะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน คือ
                     ๒.๑  นำกลองทนลอดราวผ้า  ลอดใต้ถุนบ้าน  หรือปล่อยให้ผู้อื่นข้ามไม่ได้ถ้าไม่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
จะมีโทษ  หรือความวิบัติต่าง ๆ เกิดขึ้นแก่ผู้เล่น
                     ๒.๒  เมื่อรับประทานอาหารจะต้องเซ่นให้กลองกินเช่นเดียวกับครูหมอปี่เสียก่อนทุกครั้ง
                     ๒.๓  คนทั่วไปจับต้องกลองทนได้  แต่จะนำไปตีเล่นสนุก ๆ  ไม่ได้
                     ๒.๔  ผู้ตีกลองทนจะต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับคนเป่าปี่กาหลอ
                ๓.  ความเชื่อที่เกี่ยวกับฆ้อง  ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับฆ้องที่ใช้ประโคมของกาหลอมีข้อปฏิบัติไม่มากมายนัก 
ส่วนใหญ่แล้วมีความเชื่อเหมือนกลองทน  คือ
                     ๓.๑  นำลอดราวผ้า  ลอดใต้ถุนเรือน  หรือปล่อยให้ผู้อื่นข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาด
                     ๓.๒  เมื่อเก็บฆ้องจะต้องแขวนไว้ในระดับเดียวกับกลองทน  แต่ต้องอยู่ในระดับต่ำกว่าปี่
                     ๓.๓  เมื่อรับประทานอาหารจะต้องเซ่นให้ฆ้องเช่นเดียวกับกลองทนและปี่
                     ๓.๔  ผู้ตีฆ้องจะต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับคนเป่าปี่กาหลอ
                ๔.  ความเชื่อที่เกี่ยวกับความประพฤติของภรรยาผู้เล่นกาหลอ   โดยเฉพาะผู้เป่าปี่กาหลอมีความเชื่อบางประการที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติและปฏิบัติตัวของภรรยา  ดังนี้
                ระหว่างที่กาหลอไปประโคมที่ใด ๆ  ถ้าหากภรรยาซึ่งอยู่ที่บ้านประพฤตินอกใจสามีจะทำให้เกิดเหตุร้าย
บางประการ  คือ
                                - ผู้เล่นกาหลอ  จะประสบอุบัติเหตุ  หรือป่วยไข้
                                - จะเกิดเหตุร้ายแก่ภรรยาผู้ประพฤตินอกใจ
                                - ครูหมอกาหลอจะทำให้ผุ้เป่าปี่ตัวสั่น  วิ่งอย่างขาดสติ  และจะบอกว่าภรรยาอยู่ทาง
   บ้านประพฤตินอกใจ
                ๕.  ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ   และเสนียดจัญไรต่าง ๆ  กาหลอมีความเชื่อเรื่องนี้สูงมาก  จะเห็นได้จาก
การบริกรรมคาถากันเรือน  กันตัว  กันโรงพิธี  และการเป่าปี่เป็นคาถาป้องกันภูตผีปีศาจ  และภยันตรายทั้งปวง 
เพลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นคาถาป้องกัน  เช่น  เพลงไม้พัน  เพลงเหยี่ยวเล่นลม  เพลงสุริยน  และเพลงสัมสาม  เป็นต้น
                ๖.  ความเชื่อเรื่องเพลงแม่บท  ๑๒  เพลง   เชื่อว่าเพลงแม่บททั้ง  ๑๒  เพลง  เป็นเพลงขลังและศักดิ์สิทธิ์
กว่าเพลงประกอบอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเพลงทั้ง  ๑๒  เพลงมีส่วนช่วยนำดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่สุคติ
                ๗.  ความเชื่อเกี่ยวกับการประโคมดนตรีกาหลอ   การประโคมดนตรีกาหลอจะประโคมเล่นเพื่อความ
สนุกสนาน  ขาดพิธีรีตองไม่ได้  เพราะถือว่าเป็นการเรียกร้องให้มีผู้ตายขึ้นไปบ้านนั่นเอง  และจะไม่มีผู้ใดยินยอม
ให้กาหลอบรรเลงในบริเวณบ้านอย่างเด็ดขาด  เพราะถือว่าจะนำผีและความชั่วร้ายเข้ามาในบ้าน  การประโคม
ดนตรีกาหลอทุกครั้งจึงต้องประโคมในงานศพเท่านั้น
                ๘.  ความเชื่อเกี่ยวกับการฝึกหัดเป่าปี่กาหลอ   การฝึกหัดเป่าปี่กาหลอมีความเชื่อว่าผู้ฝึกหัดจะต้อง
มาแสดงความประสงค์ด้วยตัวเองว่าจะฝึกหัดเมื่อกาหลอ
รับเข้าเป็นลูกศิษย์แล้วจะต้องติดตามผู้เล่นกาหลอไปยังที่ต่าง ๆ ซึ่งกาหลอไปประโคมทุกครั้ง  เมื่ออยู่ที่บ้าน
ผู้เป่าปี่จะนำผู้มาฝึกหัดเป่ากันที่ขนำกลางทุ่งนา  ไม่เช่นนั้นความอัปมงคลจะมาสู่บ้าน  การฝึกหัดจะต้อง
ฝึกฝนกันจริง ๆ และจะต้องยอมอดทนประพฤติปฏิบัติตัวตามธรรมเนียมนิยมของกาหลอทุกประการ 
บางคนอาจจะฝึกหัดอยู่ถึง  ๒-๓  สุมนา  (๑๔)     จึงเป่าปี่กาหลอได้ก็มี
                ๙.  ความเชื่อเกี่ยวกับการไหว้ครูกาหลอ   กาหลอเป็นการประโคมที่นับได้ว่ามีครู  “แรง” 
ไม่แพ้ครูหนังตะลุงหรือครูโนรา  ผู้ที่เป็นกาหลอจึงต้องทำพิธีไหว้ครูกาหลอทุก ๆ ปี  การไหว้ครูจะกระทำกัน
ในวันข้างขึ้นเดือนสิบเอ็ด  จะเป็นขึ้นกี่ค่ำก็ได้  แต่ต้องตรงกับวันพฤหัสบดี  ซึ่งเป็นวันครูเท่านั้น 
การไหว้ครูกาหลออาจจะเชิญหมอไสยศาสตร์  และเชิญครูกาหลอที่ยังมีชีวิตมาร่วมพิธีด้วย  จะต้องสร้างโรงพิธี 
หรืออาจจะทำพิธีบนบ้านก็ได้แล้วแต่จะสะดวก  ข้าวของที่จะต้องเตรียมในพิธีไหว้ครูไว้ให้พร้อมมีดังนี้
          - เหล้า  ๑  ขวด
                - หมรับ (๑๕)       3  หมรับ  ใส่ขนมพอง  ขนมลา  และขนมบ้า
                - มะพร้าวอ่อน  ๑  ลูก
          - ที่  ๑๒  (อาหารหวานคาว  ๑๒  สิ่งไม่ซ้ำกัน)  ๑  ที่
                - ผ้าขาวขึงเพดานสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ขนาดกว้าง  ยาว  ๒  ฟุต
                - ผ้าขาวปูที่ครู  ๑  ผืน
                - หมากใส่ในผ้าขาวขึงเพดาน  ๙  คำ  และใส่พานตั้งที่ครู  ๙  คำ
                - เทียน  ๓  เล่ม  ปักที่ครู  ๑  เล่ม  ที่ปากปี่  ๑  เล่ม  และที่ราด  ๑  เล่ม
                - ผ้าคู่หญิงคู่ชาย  (ผ้านุ่งผู้ชาย  และผ้านุ่งผู้หญิง)  อย่างละ  ๑  ผืน
               - ไก่ต้ม  ๑  ตัว
         การทำพิธีไว้ครูจะเริ่มทำในเวลาตอนเช้า  หลังจากจัดเครื่องประกอบพิธีต่าง ๆ พร้อมเสร็จแล้ว 
ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มพิธีและกระทำพิธีไปตามลำดับดังนี้
                - ตั้งนโม  ๓  จบ
                - กล่าวบทชุมนุมเทวดา  คือ  บทสัคเค
                - กล่าวบทสรรเสริญคุณ  คือ  บทสัดีน้อย  สัดดีใหญ่
                - เป่าปี่กาหลอ
                - กล่าวบทอัญเชิญครูกาหลอ  โดยกล่าวชื่อครูทุกคน
                - ถวายข้าวและเครื่องเซ่นแก่ครู
                - ครูหมอจะจับลง  (๑๖)      การจับลงอาจจะจับลงคนเดียว  หรือหลายคน  แต่เท่าที่เคยเห็น
                  กันมามักจับลงหลายคน (๑๗)
                - หลังจากจับลงแล้วก็มีการเป่าปี่  ตีทน  การเป่าปี่มักจะเลือกเป่าเพลงที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์ 
                 เพื่อปัดรังควานและเสนียดจัญไรต่าง ๆ ด้วย
               - เมื่อเป่าปี่  ตีทน  ลั่นฆ้อง  จบลง  ก็ถือว่าหมดพิธีแต่เพียงเท่านั้น

______________________
          (๑๔)  สุมนา  หมายถึงฤดูทำนา
          (๑๕)  หมรับ  หมายถึง  สำรับ

PREVIOUS