การแสดง - โรงพิธีของกาหลอ
กาหลอจะต้องมีโรงแสดงโดยเฉพาะ และต้องสร้างตามแบบที่เชื่อถือกัน หากสร้างผิดแบบกาหลอจะไม่ยอมแสดง
การปลูกสร้างโรงกาหลอ ต้องให้ประตูที่เข้าสู่โรงอยู่ทางทิศใต้ มีเสาจำนวนหกเสา มีเสาดั้ง เสาสี่เสานั้นแต่ละข้าง
ให้ใช้ขื่อได้ แต่ส่วนกลางไม่ให้ใช้ขื่อ หลังคามุงด้วยจากหรือแชง ส่วนพื้นจะยกสูงไม่ได้ ใช้ไม้ทำเป็นหมอนทอด
บนพื้น แล้วหาไม้กระดานมาปูเรียบเป็นพื้น ส่วนแปทูบ้านเจ้าภาพจะตรงกับแปทูโรงกาหลอไม่ได้
เมื่อคณะกาหลอมาถึงไปถึงจะตรวจโรงพิธี หากเรียบร้อยดีก็จะเข้าไปภายในโรงพิธี หากตรวจแล้วพบข้อผิดพลาด
แม้เพียงนิดเดียว ก็จะต้องให้เจ้าภาพแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน คณะกาหลอจึงจะเข้าไป การเดินเข้าโรงพิธี จะให้นายปี่ซึ่งถือว่าเป็นนายโรงเดินนำหน้าพาคณะเข้าไป นายปี่จะเดินไปที่ห้องของตัว ส่วนผู้ตีฆ้องและนายโทน
จะหยุดอยู่แค่ห้องของตัว จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือล่วงล้ำเข้าไปในห้องนายปี่ไม่ได้ คือ นายปี่อยู่ห้องหนึ่ง ส่วนนายโทนและผู้ที่ตีฆ้องอยู่รวมกันอีกห้องหนึ่ง เมื่อเข้าไปในโรงพิธีแล้ว หากยังไม่ถึงเวลา ( เลยเที่ยงวัน )
จะออกไปไหนมาไหนไม่ได้ ( บางคณะก็ไม่เคร่งครัดนัก ) แต่มีข้อห้ามว่า นอกจากหมากพลูและบุหรี่แล้ว ห้ามมิให้บริโภคสิ่งใดภายนอกโรงพิธีเป็นเด็ดขาด หากจะบริโภคต้องนำเข้าไปบริโภคภายในโรงพิธี และห้าม
ยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงในทางชู้สาว
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก่อนลงมือแสดง เจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมจัด " ที่สิบสอง "
หมายถึงอาหารหวานคาว ได้แก่ ข้าว แกง เหล้า น้ำ ขนม ฯ ล ฯ จัดใส่ถ้วยใบเล็ก ๆ วางไว้ในภาชนะ ( ถาด )
ให้ครบ 12 อย่าง เหมือนการจัดสำรับกับข้าวของไทยสมัยก่อน และที่ถ้วยทุกใบจะมีเทียนไขเล่มเล็ก ๆปักอยู่
อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า " เครื่องราชย์ " มีเงิน 12 บาท หมาก 9 คำ ด้ายริ้ว 3 ริ้ว ข้าวสาร เทียนไข 1 เล่ม ทุกอย่าง
ใส่รวมกันใน " สอบหมาก " ( ลักษณะคล้ายกระสอบ แต่มีขนาดเล็ก เป็นภาชนะ ใส่หมากพลูของคนเฒ่าคนแก่
ทางปักษ์ใต้เมื่อสมัยก่อน ) เมื่อนายโรงได้ที่สิบสอง และเครื่องราชย์มาแล้วก็จะทำพิธีบวงสรวงครูบาอาจารย์ รำลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วลงมือแสดง เริ่มต้นด้วยเพลงไหว้ครู คือเพลงสร้อยทองและเพลงอื่นๆ ( การแสดงและโรงพิธี http://personal.swu.ac.th/students/fa471010027/WEB%20PANG/MENU.html )
แม้ว่าการรับช่วงสืบต่อของกาหลอจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากก็ตาม แต่ขนบประเพณีต่าง ๆ ซึ่งผู้เล่นกาหลอยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานั้น มิได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านในปัจจุบัน
โดยทั่วไป จึงยังถือว่ากาหลอเป็นการประโคมที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์อยู่เช่นเดิม สำหรับความคลี่คลายเปลี่ยนแปลง
ที่พอจะมีอยู่บ้างนั้นมีดังนี้
๑. การแต่งกายของผู้เล่นกาหลอ เครื่องแต่งกายของกาหลอแต่เดิมนั้นแม้จะเรียบง่าย แต่ก็เคร่งครัดมากโดยเฉพาะผู้เป็นหัวหน้ากาหลอ (ผู้เป่าปี่) จะต้องนุ่งผ้าโจงกระเบนและสวมเสื้อสีขาวเท่านั้น
จะแต่งกายในลักษณะอื่นไม่ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ การแต่งกายดังที่ว่านี้ไม่มีปรากฏให้เห็นอยู่อีกแล้ว ส่วนใหญ่ผู้เล่นกาหลอจะแต่งกายอย่างสะดวกสบายเปลี่ยนรูปแบบซึ่งปฏิบัติกันมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง
_ ๒. โอกาสในการแสดง แต่เดิมนั้นนอกจากจะประโคมกาหลอเพื่อคุมศพและนำศพแล้ว กาหลอยังใช้ประโคมในงานบวชนาคและงานขึ้นเบญจารดน้ำคนเฒ่าคนแก่อีกด้วยแต่ปัจจุบันนี้การประโคมกาหลอ
มีจำกัดอยู่แค่งานศพเท่านั้น
๓. โรงพิธีของกาหลอ แต่เดิมนั้นการสร้างโรงพิธีเพื่อให้กาหลอเข้าพักและคุมศพจะพิถีพิถันและเคร่งครัดมากในการเลือกสถานที่หรือภูมิ
สำหรับสร้างโรง การกำหนดขนาดของโรงพิธี และการใช้วัสดุปลูกสร้าง แต่ในปัจจุบันนี้สถานที่สร้างก็ดี และวัสดุก็ดีไม่พิถีพิถันและเคร่งครัดดังเช่นแต่ก่อน
๔. เพลงที่กาหลอใช้ประโคม แต่เดิมนั้นเพลงของกาหลอที่ใช้บรรเลงมีเพียง ๑๒ เพลงเท่านั้น แต่ต่อมาผู้เล่นกาหลอได้คิดเพลงเพิ่มขึ้น กาหลอบางคณะมีเพลงสำหรับประโคมถึง ๓๒ เพลง และเพลงบางเพลงมีเนื้อหาค่อนไปทางหยาบคายก็มี (๒๑)
๕. การฝึกหัดลูกศิษย์ แต่เดิมผู้ฝึกหัดกาหลอจะต้องไปฝึกหัดกันที่ขนำกลางทุ่งนา หรือไม่ก็ต้องไปฝึกหัดกันในสวนซึ่งห่างไกลจากหมู่บ้านที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า กลัวเกรงว่ากาหลอจะนำความ
อัปมงคลมาสู่บ้าน แต่ในปัจจุบันนี้การฝึกหัดกาหลอไม่เคร่งครัดดังเช่นแต่ก่อนแล้ว กล่าวคือจะฝึกหัดกันที่ใดก็ได้ไม่จำกัดว่าจะต้องกลางทุ่งนาหรือในสวน และส่วนใหญ่ก็ฝึกกันที่บ้านของคร
ูผู้ฝึกหัดนั่นเอง
๖. เครื่องดนตรีหาหลอ แต่เดิมถือกันว่าเครื่องดนตรีบางชิ้นเช่นปี่ใคร ๆ จะมาจับถือไม่ได้ หรือ
จะลองเป่าเล่นก็ไม่ได้ และโดยเฉพาะผู้หญิงห้ามจับต้องอย่างเด็ดขาด แต่ปัจจุบันนี้ความเชื่อเหล่านี้คลี่คลายไปมาก
กล่าวคือใคร ๆ ก็ของจับหรือถูกปี่กาหลอได้
_________________________
(๒๑) พร้อม ศรีสัมพุทธ ผู้ให้สัมภาษณ์ ชวน เพชรแก้ว ผู้สัมภาษณ์ ณ วัดเสมาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดศรีธรรมราช เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๒.
|