|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๑๖.การพึ่งตนเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนให้ชาวไทยสามารถดำรง ชีวิตด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการพึ่ง
ตนเองทั้งทางด้านจิตใจ ที่ต้องเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม ด้านสังคม
ก็ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ หรือแม้กระทั่งด้าน
เศรษฐกิจที่ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้และสามารถอยู่ได้
ด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า "...ยืนบนขาของตัวเอง
(ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) หมายความว่าสองขาของเรานี่ ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไป
ขอยืมขาของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน..."
|
|
|
|
|
|
ที่มา : หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.2552,26 |
|
|
๑๗. เศรฐกิจพอเพียง
คือยึดความพอดี พอเพียง พอควร เป็นที่ตั้ง อย่าทำอะไรให้ล้นเกินพอดี เศรษฐกิจพอเพียงอธิบายอย่างง่าย
ที่สุด คือ ถ้ากินมากก็จุก ไม่กินหรือกินน้อยก็หิวโหย ทำอะไรให้พอดี แต่ต้องทำอย่างเต็มศักยภาพที่แต่
ละคนมีอยู่ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน ทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน
ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ "...พอเพียงนี้ความ
หมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ
ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่
เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียงหมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข..." |
|
|
๑๘. ทำงานอย่างมีความสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่ด้ช่วยเหลือประชาชน ซึ่ง
เคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า "...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำ
ประโยชน์ให้กับผู้อื่น..." |
|
|
๑๙. ความตั้งใจจริงและมีความเพียร
ทำงานต้องมีความตั้งใจ อย่าทำงานไปวันๆ ตั้งใจทำงานจะทำให้มีแรง มีกำลังใจ และต้องขยันหมั่นเพียร
งานบางอย่างยาก แต่ก็ต้องฟันฝ่าไปให้ได้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อคิดเกี่ยวกับ
ความเพียรใน พระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" ความตอนหนึ่งว่า "...คนเราทำอะไรต้องมีความเพียร
แม้ไม่เห็นฝั่งก็ต้องว่ายน้ำและมีคำตอบอยู่ว่ามีประโยชน์อย่างไร เพราะถ้าหากไม่เพียรที่จะว่ายน้ำเป็นเวลา
๗ วัน ๗ คืน ก็จะไม่พบเทวดา คนอื่นไม่มีความเพียรที่จะว่ายน้ำ ก็จมเป็นอาหารของปลา ของเต่า
เพราะฉะนั้น ความเพียรแม้จะไม่ทราบว่าจะมีถึงฝั่งเมื่อไร ก็ต้องเพียรว่ายน้ำต่อไป..." |
|
|
|
|
|
|
|
MAIN |
|
|
|
|