เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและค่านิยม
ของคนในท้องถิ่นต่างๆคนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกล่อมเด็กด้วยกันทั้งนั้นสันนิษฐาน
ว่าเพลงกล่อมเด็กมีิวัฒนาการจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนดังนั้นเพลงกล่อมเด็กบาง
เพลงจึงมีลักษณะเนื้อร้องที่เป็นเรื่องเป็นราวเช่น จันทรโครพ ไชยเชษฐ์พระรถเสน เป็นต้น
การที่ต้องมีเพลงกล่อมเด็กก็เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินหลับง่ายและเกิดความอบอุ่นใจ
เพลงร้องเรือไมใช่เพลงเรือแต่เป็นเพลงกล่อมเด็กของชาวปักษ์ใต้ เพื่อให้เด็กนอนหลับ
อย่างสบายเดิมการกล่อมเด็กเป็นเพียงการทำเสียง ฮื่อๆ เอ้อๆ ทำนองช้าๆ ต่อมาได้มีการ
แทรกเนื้อหาเรื่องราวต่างๆลงไป ดังนั้นเพลงกล่อมเด็กจึงมีเนื้อหามากมายขึ้นอยู่กับ
ประสบการณ์ของผู้ร้อง เช่นเนื้อหาบางส่วนอาจเป็นการล้อเลียนเสียดสีสังคม การฝากรัก
ตัดพ้อต่อว่า อบรมสั่งสอน เรื่องราวในนิทาน ตำนานพื้นบ้านที่แพร่หลาย เช่น เรื่อง
มโนราห์หรือพระสุธน รามเกียรติ์ สังข์ทองและนางผมหอม จึงเป็นเหตุให้เพลงร้อง
เรือเกิดประโยชน์เพิ่มเติมโดยเฉพาะให้ความรู้ในด้านต่างๆ แก่ผู้สนใจพร้อมๆ กับความ
บันเทิงใจด้วย อาจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ สันนิษฐานว่า ที่เรียกเพลงกล่อมเด็กว่า
ร้องเรือ น่าจะเป็นเพราะลักษณะของเปลที่ใช้ผูกเป็นรูปคล้าย เรือ คือ เมือเอาปลายผ้า
ทั้ง 2 ข้างรวบด้วยเชือกแขวนห้อยไว้แล้ว เมื่อวาวงเด็กลงกลางเปล จะดูมีท้องลึกส่วน
กลางกว้างและหัวท้ายเรียวเข้าคล้ายเรือทำนองที่ใช้ร้อง มักขึ้นต้นด้วย
“ฮาเอ้อ.........เหอ” ด้วยเสียงยาวและลงท้ายด้วยคำว่า “เหอ”