2.ลักษณะของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น |
|
2.1 ฉันทลักษณ์ |
ฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือมีลักษณะร่วมกับเพลงลักษณะเดียวกันในกลุ่มชนเผ่าไทยซึ่งอาจนับได้ว่า
เป็นลักษณะสากลก็ได้กล่าวคือบทเพลงเหล่านั้นจะไม่มีการกำหนดความยาวที่แน่นอน ความยาวของบทเพลงขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่พรรณนา
โดยปกติเพลงเหล่านั้นจะแบ่งเป็นวรรคเพื่อให้สะดวกต่อการขับขานและโดยทั่วไปมักจะมีความยาววรรคละ 4คำ ที่น่าสังเกตก็คือในการส่งสัมผัสนั้น
มักเป็นการสัมผัสเสียงสระหรือเสียงวรรณยุกต์และไม่เคร่งครัดที่จะต้องส่งสัมผัสกันด้วยเสียงตัวสะกดหรือตัวสะกด
|
2.2 ทำนอง
|
ท่วงทำนองในการขับขานเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นนี้ อาจจัดเป็นสองประการใหญ่ๆ คือ
ก. ทำนองอื่อ เป็นทำนองที่มาจากเสียงซึ่งเปล่งเสียงหึ่งออกทางจมูกให้มีเสียงสูงต่ำตามต้องการใช้เปล่งประกอบการขับเพลงนิยมใช
้ กับเพลงกล่อมเด็กและทำนองอื่อนี้อาจจะแยกได้เป็นสองแบบ คือการอื่อแบบง่ายตามที่ชาวบ้านทั่วไปพอจะขับไดhและการอื่อแบบที่ใช้
ทำนองธรรมวัตรหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะตนในการขับทำนองเทศนาแบบล้านนาประกอบ
ข. ทำนองร่ำ (ฮ่ำ) คือทำนองที่ขับขานบทเพลงตามจังหวะโดยเอื้อนเสียงทอดยาวที่พยางค์สุดท้ายของวรรคและเปล่งเสียงขึ้นลงตาม
ระดับสูงต่ำของเสียงวรรณยุกต์
ค. ทำนองร่วมสมัย คือจะมีการขับเพลงตามสมัยนิยมซึ่งในยุคก่อนอาจขับจ๊อยหรือซอแบบต่างๆซึ่งเป็นที่นิยมกันในขณะนั้นและยุคปัจจุบัน
อาจขับเพลงซึ่งเป็นที่นิยมกันอยู่เป็นเพลงกล่อมเด็กก็ได้ |
2.3 จุดมุ่งหมาย |
เพลงกล่อมเด็กมีจุดประสงค์คือ
ก. เพื่อให้เด็กได้รับรู้ถึงความรักของผู้กล่อมอันสัมผัสได้จากกระแสเสียงที่ฟังดูอ่อนโยนและนุ่มนวล
ข. เพื่อให้เด็กหลับด้วยการประโลมให้เพลินใจ
ค. เพื่อให้เด็กหลับด้วยการขู่ให้หวาดกลัว
|
2.4 ความเปลี่ยนแปลงของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น |
เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องของภาคเหนือซึงเป็นมรดกที่สร้างขึ้นจากวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมาทั้งในแง่คิด
และการแสดงออกเมื่อเผชิญกับวัฒนธรรมวัตถุแบบปัจจุบันแล้วทำให้เพลงเด็กดังกล่าวเสื่อมความนิยมลงทั้งด้านบทบาทการใช้งานและ
ความรู้ที่ถูกต้องต่อทั้งเนื้อเรื่องและทำนองของเพลงเหล่านั้นจนทำให้เกิดความวิตกกันว่าทั้งเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นเหล่านั้นจ
ะสูญหายไปในที่สุด |
อ้างอิง ศูนย์สนเทศภาคเหนือ. 2553. เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น. http://library.cmu.ac.th/ntic/childmusic.php (เข้าถึง 21 เม.ย. 2553)
|
|
|