การนำเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นไปใช้

การนำเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือไปใช้นั้นเป็นไปอย่างไม่แพร่หลายทั้งนี้อาจมีเด็กตาม
หมู่บ้านบางแห่งที่ร้องเพลงเล่นอยู่บ้างหรืออาจมีแม่เฒ่าบางท่านที่ร้องเพลงกล่อมหลานเท่านั้น หากจะ
มีการนำเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นมาใช้แล้ว อาจดำเนินได้ดังนีุ้
  1)รวบรวมเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นจากแหล่งต่างๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วเผย
แพร่เพลงเหล่านั้นในรูปของเอกสาร
2)ส่งเสริมให้ใช้เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นอย่างกว้างขวาง เช่นอาจจัดทำเทปตลับของ เพลงเหล่านั้นเพื่อใช้ในโรงเรียนอนุบาลหรือทำหนังสือภาพเป็นต้น
3)ร่วมมือกับสื่อมวลชนแขนงต่างๆในการเผยแพร่เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น
4)จัดประกวดเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นทั้งแบบเก่าและที่แต่งขึ้นใหม่ สรุปลักษณะของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือ 1. มีฉันทลักษณ์ที่ไม่ตายตัวความยาวไม่แน่นอนและมีการส่งสัมผัสที่ไม่เคร่งครัด ซึ่งเป็น ไปตามลักษณะของวรรณกรรมมุขปาฐะทั่วไป 2. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยแท้ที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา 3. มีการกร่อยและการเพิ่มของคำและเนื้อหาในเพลง 4. เนื้อหาของเพลงมักกล่าวถึงสภาพแวดล้อมทั้งในธรรมชาติและในสังคมอย่างตรงไปตรงมา โดยมีอารมณ์หลักคือแสดงความรักและห่วงใย มักไม่มีอารมณ์เศร้า เสียใจ โกรธแค้นหรือเพ้อฝัน 5. เนื้อหาของเพลงชัดเจนและตรงไปตรงมาคือ เพลงกล่อมเด็กก็จะมุ่งชักจูงให้เด็กหลับส่วน เพลงร้องเล่น ก็จะกล่าวถึงเรื่องที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่นิยมเรื่องนิยายนิทานหรือชาดก
6. เพลงกล่อมเด็ก สามารถจำแนกตามคำขึ้นต้นของเนื้อร้องได้ 12 แบบส่วนเพลงร้องเล่น อาจจำแนกตามคำขึ้นต้นของเนื้อร้องได้ 4 แบบ
7. บางเพลงเมื่อสืบจากภาษาและเนื้อหาแล้วอาจสันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 80-200 ปี
8. เพลงกล่อมเด็กและเพลงเด็กร้องเล่นนี้ เมื่อดูจากปริมาณแล้วเห็นว่าเป็นเพลงที่ใช้ อื่อ คือ เพลงที่ใช้ขับกล่อมให้เด็กหลับ และเพลงสิกชุ่งชา หรือเพลงที่เด็กใช้ประกอบการเล่นชิงช้า โดยที่มี เพลงเด็กเล่นเพียงไม่กี่เพลง แต่ต่อมาแล้วเห็นว่ามีการใช้เพลงต่างๆ ร่วมสมัยเป็นเพลงเด็กไดด้วย โดยไม่จำกัดทั้งนี้ได้นำเพลงของเด็กมาแสดงไว้เพื่อการศึกษาดังนี้(ชีวจิต 2548,46-47)
Previous  Next