ก. เพลงกล่อมเด็ก
เพลงกล่อมเด็กที่มักเรียกเพลงอื่อ หรืออื่อชาชา (อ่าน “อื่อ จา จา”) คำว่า “อื่อ” หมาย ถึง
เพลงที่ขับโดยมีการ “อื่อ” คือส่งเสียงหึ่งจากลำคอให้ดังออกมาทางจมูกและมักจะทอดเสียงท้ายว่า
ชา หรือ ชาชา เป็นทำนองต่างๆ ไป เพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวล ซึ่งถือว่าสามารถชวนให้เด็กหลับได้ง่าย
(ชา นอกจากแปลว่าหาบและยังแปลว่ากล่อมหรือขับกล่อมได้อีกด้วย)
ข. เพลงสิกก้องกอ (อ่าน “สิกก้องก๋อ”)
แก่เด็กเพลงสิกก้องกอเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการเล่นกับเด็กโดยเฉพาะเด็กทารก โดยมากฝ่ายพ่อ
จะเป็นผู้ใช้ซึ่งพ่อจะนอนหงายแล้วงอเข้าพับเข้า ให้เด็กนั่งอยู่บนหลังเท้าแล้วกอดเข่าพ่อไว้ ขณะที่
พ่อร้องเพลงสิกก้องกอไปแต่ละวรรคนั้น พ่อจะยกขาขึ้นลงไปเรื่อยๆ จนถึงวรรคสุดท้ายที่ว่า ตะล่ม
พ่มพ่ำ ทั้งพ่อทั้งลูกมักจะล้มลงไปด้วยกัน
ค. เพลงเล่นชิงช้า
เพลงเล่นชิงช้า หรือ เพลงสิกชุ่งชา (อ่าน “สิกจุ้งจา”) เป็นจังหวะตามการไกวชิงช้า เพลงในกลุ่ม
นี้พบว่ามีอยู่ เป็นเพลงที่เด็กหรือใช้กับเด็กในขณะไกวชิงช้า ทั้งนี้เด็กที่โต หลายเพลง เช่น แล้วมัก
จะนั่งบนแป้นชิงช้าแล้วโล้ไป-กลับพร้อมกับขับเพลง
ง. เพลงเด็กร้องเล่น
เพลงในประเภทที่ให้เด็กใช้ร้องเล่นนี้อาจร้องเล่นยามว่าง หรืออาจใช้ร้องประกอบกับการเล่นชิง
ช้าก็ได้
จ. เพลงสำหรับเล่นจ้ำจี้
เพลงสำหรับเล่นจ้ำจี้ เป็นเพลงที่ใช้เพื่อคัดหาผู้มาทำการบางอย่าง เช่น ปิดตาเพื่อเล่นซ่อนหา
เป็นต้น เช่น
1. ปู่พงข้ามท่งข้ามนา ตีกลองปูชา เอาอี่พาออกก่อน
2. ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาชู เอามือออกก่อน
เมื่อเหลือสองคนสุดท้ายแล้ว ก็มักจะร้องว่า “สองฅนพี่น้อง กินเข้ากับเกลือ ฅนใดเหลือ ฅนนั้นได้อุ่ม”
ฉ. เพลงสำหรับร้องยั่ว
เพลงสำหรับร้องยั่วนี้ จะเลือกใช้ตามเหมาะสม เช่น ยั่วคนฟันหลอ เป็นต้น