ภาพสัตว์ในจินตนาการของจีน
                จิตรกรรมบนเรือกอและประกฎภาพสัตว์ในจินตนาการของจีน  ได้แก่  ภาพมังกร  กิเลน  นกยูง  และนกกะเรียน
                ภาพมังกร
                มังกรเป็นสัตว์ที่ช่างวาดภาพเรือกอและนิยมนำมาประกอบลวดลาย  เพื่อตกแต่งความสวยงามให้กับเรือ  ในอดีตรูปภาพมังกร  ไม่กล่าวถึงนักสำหรับนำมาสร้างจิตรกรรมบนลำเรือจะมีการกล่าวถึงเฉพาะภาพนก  พญานาค  หนุมานเหินหาว  หรือเมขลาล่อแก้ว  เป็นต้น  การวาดภาพมังกรประดับเรือกอและในปัจจุบัน  จากการสัมภาษณ์ช่างเขียนลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในท้องที่จังหวัดปัตตานีว่า  ภาพมังกรได้แบบอย่างมาจากรูปลักษณะของมังกรมาจากชาวจีนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดปัตตานี  และจังหวัดใกล้เคียงที่ประดิษฐ์รูปมังกรประดับไว้ตามบ้านเรือน  ศาลา  ศาลเจ้า  และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ  เพื่อเป็นศิริมงคล  จากที่ช่างวาดภาพลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและได้พบเห็น  จึงได้นำเอารูปแบบลักษณะต่าง ๆ  ของมังกร  มาดัดแปลงแล้วตกแต่งประดับเรือกอและ  ซึ่งถือว่าเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมทางศิลปะระหว่างชาวไทยมุสลิมและชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตาน

        
แสดงภาพมังกร                                แสดงภาพนกยูงที่ปรากฎบนเรือกอและ
    ที่มา : วุฒิ วัฒนสิน. 2542,51

แสดงภาพทิวทัศน์     ที่มา : วุฒิ วัฒนสิน. 2542,38

จิตรกรรมประเภทภาพทิวทัศน์  (Landscape)
              เกี่ยวกับการนำภาพทิวทัศน์มาวาดประดับตกแต่งบนเรือกอและ  บือราเฮง  มะมิง  เป็นผู้ให้สัมภาษณ์  วุฒิ  วัฒนสิน  เป็นผู้สัมภาษณ์  ที่บ้านเลขที่  254/2  หมู่ที่  2  บ้านบน  ตำบลปะเสยะวอ  อำเภอสายบุรี  จังหวัดปัตตานี  เมื่อวันที่  8  มีนาคม  2540  กล่าวว่า  “แต่เดิมนั้นในการวาดลวดลายจิตรกรรมตกแต่งเรือกอและ  จะไม่มีการนำภาพทิวทัศน์มาวาดตรงกราบเรือด้านล่างเหมือนในปัจจุบันจนกระทั่งนายเจ๊ะมูซอ  (ไม่ทราบนามสกุล)  ซึ่งเป็นช่างเขียนรุ่นอาวุโสที่วาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ  ตำบลปะเสยะวอนี้  เป็นคนแรกที่นำภาพทิวทัศน์มาตกแต่งบนเรือกอและเมื่อ  15  ปีที่ผ่านมาโดยได้รับอิทธิพลจากการตกแต่งภาพทิวทัศน์บนรถบรรทุกสิบล้อ  และจากภาพทิวทัศน์ที่พบจากบัตร  ส.ค.ส.  ภาพทิวทัศน์ที่พบบนเรือกอและส่วนมากเป็นภาพทิวทัศน์แบบไทย ๆ  ประกอบด้วย  ภูเขา  ต้นไม้  แม่น้ำ  เรือ  กระท่อม  ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ ฯลฯ  

แสดงภาพนกกาเฆาะซูรอหรือนกการเวก     ที่มา : วุฒิ วัฒนสิน. 2542,42

               

การออกแบบตัวอักษรชื่อเรือ
                เรือกอและแต่ละลำจะถูกกำหนดให้มีชื่อ  เหมือนเรือประมงขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั่วไปเรือกอและที่ออกทำการประมงประมาณ  40,000  กว่าลำ  ได้ถูกกำหนดชื่อโดยเจ้าของจะตั้งให้มีความหมายที่เป็นสิริมงคลต่ออาชีพ  แสดงความเป็นเจ้าของ  หรือชื่อเรือที่เกี่ยวทะเลหรือสัตว์น้ำ  (จะไม่ปรากฏชื่อเรือที่เป็นสัตว์บนบก  เพราะอาจจะเหมือนกับความเชื่อชาวประมงที่ว่า  เมื่อลงเรือกอและเพื่อออกทำการประมง  ห้ามเอ่ยถึงชื่อสัตว์บก  เพราะเชื่อว่าจะทำให้ไม่สามารถจับสัตว์น้ำได้ในวันนั้น)  เมื่อตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ  จะมีการออกแบบตัวอักษร  และเขียนชื่อของเรือไว้ตรงกราบเรือด้านล่าง  ใกล้ ๆ  กับภาพทิวทัศน์ทั้ง  2  ข้างและตรงบางานิยมเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษ
 
                                                  การออกแบบชื่อเรือ"ประกายเพชร"                                    การออกแบบชื่อเรือ "ไซดีบิลลา"
                                                                                                         ที่มา : วุฒิ วัฒนสิน. 2542,53
   เอกสารอ้างอิง
มัลลิกา คณานุรักษ์. 2544. รวมเรื่องน่ารู้ : ภาคใต้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
เรือกอและ ราชินีแห่งแหลมมาลาย  http://www.klongdigital.com/webboard3/30496.htm
เรือกอและ   http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1604.0
ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0678

วุฒิ วัฒนสิน. 2542. ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในจังหวัดปัตตานี. ปัตตานี : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วุฒิ วัฒนสิน. 2540. เรือกอและ : ศึกษาลวดลายจิตรกรรม. ปัตตานี : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
<<< PREVIOUS >>>