สีน้ำมันที่ใช้ในการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ โดยทั่วไปจะใช้สี 9 สี ประกอบด้วย
สีกลุ่มที่ 1 ได้แก่ สีขาว (White)
สีดำ (Black)
สีกลุ่มที่ 2 เป็นสีแท้ (Hue) ได้แก่ สีเขียว (Green)
สีแดง (Scarlet)
สีเหลือง (Yellow)
สีน้ำเงิน (Blue)
สีกลุ่มที่ 3 เป็นสีแท้ในกลุ่มที่ 2 ผสมกับสีขาว (Tint) ได้แก่
สีเขียวอ่อน (Pale Green)
สีชมพู (Pink)
สีเหลืองอ่อน (Pale Yellow)
สีฟ้า (Sky Blue)
ขั้นตอนการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ
หลังจากที่ขั้นตอนในการต่อเรือกอและสำเร็จแล้ว การอุดรอยรั่วของลำเรือ ขัดแต่งผิวเนื้อไม้ให้เรียบ
สวยงาม ขั้นตอนต่อไปคือการวาดตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ
และมีความหมายมากต่อการสร้างเอกลักษณ์ของเรือกอและเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความสามารถความชำนาญและประณีต
ละเอียดอ่อนในเชิงจิตรกรรมที่สั่งสมประสบการณ์มาจากบรรพบุรุษ โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการรองพื้นสี
2. ขั้นร่างภาพ
3. ขั้นระบายสีลวดลายจิตรกรรม
1. ขั้นการรองพื้นสี
ขั้นการรองพื้นสีสำหรับเรือกอและ ถือว่าเป็นการออกแบบสี (Color Design) ในขั้นตอนแรกแนวความคิด
ในการออกแบบสีซึ่งเป็นความชอบ ความต้องการที่ทำสืบต่อกันมาจนเป็นวัฒนธรรมทางการออกแบบสีบนเรือกอและ
พอสรุปได้ว่าช่างเขียนจะเน้นการใช้สีที่ตัดกนอย่างรุนแรง (High Contrast) ทั้งนี้เพราะมีความต้องการสีบนลำเรือกอและ
ดูฉูดฉาด สะดุดตา ขั้นตอนในการรองพื้นสีบนเรือกอและ จะปฏิบัติเป็นลำดับ ดังนี้
กราบเรือด้านบน
สีที่ใช้เป็นสีพื้นบนกราบเรือด้านบน จะเป็นแถบสียาวตลอดรอบลำเรือ จะเป็นแถบสีใหญ่ประมาณ 2 แถบ
และแถบสีเล็กประมาณ 7 แถบ และสีที่ใช้สลับกัน ส่วนมากจะเป็นสีที่ตัดกัน และส่วนจะใช้สีแท้ (Hue) ซึ่งเป็นส
ีในกลุ่มที่ 2
กราบเรือด้านล่าง
สี่ที่ใช้เป็นสีพื้นบนกราบเรือด้านล่าง จะเป็นสี่ที่เจ้าของเรือเป็นผู้กำหนด ว่าต้องการสีอะไร นอกจากบริเวณนี้แล้ว
เจ้าของเรือจะให้เป็นเสรีภาพในการเลือกใช้สีของช่างเขียน ส่วนมากนิยมสีแท้ (Hue) สีในกลุ่มที่ 2 อันได้แก่ สีเขียว
สีแดง น้ำเงิน แต่ไม่นิยมใช้สีเหลือง
ท้ายเรือ
จะใช้แถบสีและสีพื้นเหมือนกับส่วยกราบเรือด้านบนและด้านล่าง
ภายในลำเรือ
สีรองพื้นภายในลำเรือนิยมใช้สีฟ้า (Sky Blue) เป็นส่วนมาก รองลงมาคือสีเขียว แต่ไม่นิยมใช้สีแดงเลย ผู้วิจัยคิดว่าอาจจะเป็นเพราะสีแดงภายในลำเรือจะให้ความรู้สึกร้อนและไม่เป็นสุขเพราะส่วนใหญ่ชาวประมงใช้เรือกอและ
ออกทะเลในเวลากลางวันที่ร้อนระอุอยู่แล้ว
ใบหัวเรือ (ดาวะปางอ)
การใช้สีรองพื้นบนใบหัวเรือจะใช้สีแท้ (Hue) ซึ่งเป็นสีในกลุ่มที่ 2 อันได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน
โดยคำนึงว่าต้องเข้ากันได้กับสีของลำเรือด้วย
จาปิง บางา และแนแบงเดะ
การใช้สีรองพื้นบน จาปิง บางา และแนแบงเดะ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นสีเดียวกัน เพราะส่วนประดับ
เรือกอและส่วนนี้ติดต่อและทับกันจนดูเป็นชิ้นเดียวกัน สีที่ใช้นิยมใช้สีแท้ Hue) ซึ่งเป็นสีกลุ่มที่ 2 อันได้แก่
สีเขียว สีแดง และสีน้ำเงิน
ซางอ และรอแย
การใช้สีรองพื้นบน ซางอ และรอแย นิยมใช้สีแท้ (Hue) ซึ่งเป็นสีกลุ่มที่ 2 อันได้แก่ สีเขียว สีแดง และสีน้ำเงิน
* ข้อสังเกตในการลงสีรองพื้นในทุกส่วนจะต้องลงทั้งหมด 3 ชั้น
2. ขั้นการร่างภาพ
ขั้นตอนการร่างภาพเป็นขั้นตอนแรกของการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
(2529 : 84) กล่าวไว้ว่า ส่วนใหญ่จิตรกรเป็นช่างพื้นบ้าน ไม่เคยร่ำเรียนมาจากสถาบันศิลปะแห่งใดเลย และที่น่าทึ่งคือ
บางคนวาดลวดลาย โดยไม่ต้องใช้ดินสอร่างแบบ เริ่มต้นให้ปลายพู่กันป้ายสีวาดลวดลายให้พลิ้วไหว.... แสดงให้เห็นว่าช่างเขียนพื้นบ้านเหล่านี้มีความสามารถและความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง แต่ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่าการใช้
ปลายพู่กันป้ายสีวาดลวดลาย โดยไม่ใช้ดินสอร่างก็เป็นการร่างภาพเช่นกัน เพราะการร่างภาพในทางศิลปะ สามารถ
ร่างภาพได้โดยใช้วัสดุอุปกรณ์หลายอย่าง เช่น ดินสอ ชอล์ค และสี แต่วัสดุที่เคยชินใช้ในการร่างภาพ คือ ดินสอ
เท่านั้น ผู้วิจัยสังเกตเห็นการร่างภาพด้วยสีอ่อนบนลำเรือกอและ บางครั้งก็มีการแก้ไข ด้วยการใช้ผ้าเช็ดสีออกก็มี
การร่างภาพบนเรือกอและจะปฏิบัติตามลำดับดังนี้
บนลำเรือกอและ
ใช้พู่กันร่างภาพลวดลายจิตรกรรมด้วนสีอ่อน ตามลำดับดังนี้คือ กราบเรือด้านบน กราบเรือด้านล่าง
บริเวณท้ายเรือ และภายในลำเรือ
บนส่วนประดับของเรือกอและ
ส่วนประกอบของเรือกอและอันได้แก่ ใบหัวเรือ จาปิง บางา แนแบงเดะ ซางอ และรอแย
จะมีวิธีการร่างภาพดังนี้คือ ร่างลวดลายจิตรกรรมที่ต้องการลงบนไม้กระดานด้วนดินสอ หลังจากนั้นจึงใช้สว่านเจาะ
ในบริเวณช่องไม้ แล้วใช้เลื่อยฉลุไฟฟ้า (Jig-Saw) ฉลุให้เป็นลวดลายตามที่เขียนแบบเอาไว้ ขั้นตอนต่อไปคือ
ลงสีรองพื้น แล้วจึงถึงขั้นตอนร่างภาพครั้งที่สอง (ภาพเดิม) ด้วยสีอ่อนเพื่อเตรียมระบายสีในขั้นตอนต่อไป
3. ขั้นระบายสีลวดลายจิตรกรรม
หลังจากที่ร่างภาพลวดลายจิตรกรรมด้วยสีอ่อนสำเร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการให้สีสันหรือการระบายสี
บนลวดลายจิตรกรรมที่เป็นสีอ่อนนั้น วิธีการลงแสง-เงาในลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและจะมีการลงสีในลักษณะ
ไล่น้ำหนักของสี จากอ่อนไปแก่ จะไม่มีการเกลี่ยสีในแต่ละระดับให้กลมกลืนกันแต่จะให้วิธี ลงสีอ่อนก่อน
แล้วปล่อยให้สีแห้ง จึงลงสีเข้มเพื่อเป็นเงาต่อไป (โดยไม่เกลี่ยสีเข้าหากัน) ก็จะเกิดน้ำหนักของสีอ่อนแก่
ได้ตามต้องการ |