การวาดภาพระบายสีประเภททิวทัศน์
                การระบายสีในภาพทิวทัศน์  มีวิธีการระบายสีที่แตกต่างกับการระบายสีลวดลายจิตรกรรมที่กล่าวมาแล้ว  เฉพาะส่วนภาพทิวทัศน์  จะมีการแสดงแสง-เงา  และลงน้ำหนักของสีให้กลมกลืนกันด้วยการเกลี่ยสี  เพื่อทำให้เกิดน้ำหนักอ่อนแก่  ซึ่งแทนความเป็นแสงและเงา  และเป็นที่น่าสังเกตว่าบรรยากาศภายในภาพทิวทัศน์บนกราบเรือด้านล่างของเรือกอและส่วนใหญ่  จะเป็นบรรยากาศของสีส่วนรวมของภาพเป็นสี่น้ำเงิน  (Tomality of Deep Blue)

                การวาดภาพระบายสีประเภทสัตว์น้ำ
                การระบายสีภาพสัตว์น้ำ  เช่น  กุ้ง  หมึก  ปู  ปลา  ตรงบริเวณกราบเรือด้านล่างใต้สุด  (ตอนหัวเรือ)  จะมีการระบายสีและให้น้ำหนักอ่อนแก่  โดยใช้วิธีไล่สีให้เข้ากัน  เหมือนวิธีการระบายสีภาพทิวทัศน์
              จิตรกรรมประเภทสัตว์น้ำ
                ภาพสัตว์น้ำที่นิยมวาด  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสวยงามและอาจจะเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรือกอและลำนั้นทำการประมงเพื่อจับสัตว์น้ำประเภทนั้น  ที่ปรากฏบนเรือกอและ  ได้แก่  ปู  ปลา  กุ้ง  หมึก
             ภาพสัตว์น้ำในจินตนาการจากประเพณี
                ประเพณีของชาวไทยมุสลิม  ในจังหวัดปัตตานีที่แสดงการคารวะ  แสดงความจงรักภักดีแด่ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ  เช่นการถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนารถ  เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในภาคใต้  คือ  ประเพณีการแห่นก

แสดงภาพปลาตรงภายในเรือกอและ ที่มา : วุฒิ วัฒนสิน.2542,44

        

แสดงภาพมังกรสกุณี     ที่มา :  วุฒิ วัฒ
แสดงภาพมังกร สัตว์ในจินตนาการของจีน   ที่มา: วุฒิ วัฒนสิน.2542,51
 
                             ภาพนกกระเรียนที่ปรากฎบนเรือกอและ                                                                          ภาพนกยูงที่ปรากฎบนเรือกอและ
                                                                                                 ที่มา
:  วุฒิ วัฒนสิน.2542,51

                ภาพสัตว์ในจินตนาการจากศาสนา
                ในศาสนาอิสลาม  ชาวไทยมุสลิมถือว่า  นกอัลโบรัก  เป็นนกแห่งสวรรค์  ลักษณะของนกชนิดนี้เป็นนกจินตนาการว่ามีหน้าตาคล้ายเทพธิดา  ศีรษะคลุมด้วยผ้าแพรแบบชาวอาหรับ  มีปีกคล้ายนกยูงตัวเป็นม้า  มีสี่เท้า  หางเหมือนหางนกยูง  การวาดรูปนกอัลโบรักจะไม่เกี่ยวกับการสร้างรูปเคารพบูชา  แต่เป็นนกที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  เพราะนกอัลโบรักชาวปัตตานีเรียกว่า  “นกบอเราะฮ์”  เป็นนกที่พระอัลเลาะห์ประทานแก่รอซูล  ให้เป็นพาหนะเดินทางเข้าเฝ้าพระองค์  ณ  สวรรค์ชั้นปีที่  7  ชื่อ  Dar  -  ul  -  karar  ในศาสนาอิสลาม  รอซูลที่สำคัญมี  25  องค์  องค์สุดท้ายคือพระนางอูฮัมหมัด  ผู้รับคัมภีร์อัลกุรอ่าน  จากพระอัลเลาะห์มาประกาศให้มนุษย์ทราบและถือปฏิบัติ
               

                ภาพสัตว์หิมพานต์ของไทย
                สืบเนื่องจากลักษณะของศิลปะอิสลามจะต้องหลีกเลี่ยงการเกี่ยวพันกับรูปร่างของมนุษย์  เพราะเกรงว่าจะเป็นการเลียนแบบพระผู้เป็นเจ้า  (พระเจ้าเป็นผู้ทรงสร้างมนุษย์  “พระองค์คือผู้ทรงจัดรูปร่างของสูเจ้าอยู่ในครรภ์ของมารดาไว้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์”  อัล-กุรอ่าน  3 : 5)
                ดังนั้นสัตว์หิมพานต์ที่มีลักษณะผสมผสานของสัตว์ชนิดต่าง ๆ  จนบางครั้งดูเป็นสัตว์ประหลาดไม่มีตัวตนที่เป็นจริงในโลกนี้  จึงถูกช่างตกแต่งลวดลายจิตรกรรมนำมาใช้ตกแต่งลวดลายบนเรือกอและอย่างมากมาย  เหตุเพราะความสวยงามและไม่ขัดกับข้อความเชื่อทางศาสนาอิสลาม  สัตว์หิมพานต์ที่นำมาตกแต่งบนเรือ  ได้แก  ตระกูลสิงห์  หนุมาน  ตระกูลนาค  และเงือก  เป็นต้น

                ภาพหนุมาน
                เกี่ยวกับหนุมาน  อนันต์  วัฒนานิกร  ให้สัมภาษณ์  วุฒิ  วัฒนสิน  ผู้สัมภาษณ์  ณ  บ้านเลขที่  65  ถ.เจริญประดิษฐ์  อ.เมือง  จ.ปัตตานี  ความว่า  “ภาพหนุมานที่ปรากฏเป็นลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ  ได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องราวในวรรณคดีของอินโดนีเซีย  และจากตำราวาดภาพสัตว์ในวรรณคดีไทยที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป

                ภาพนาค
                นาคหรือพญานาคเป็นสัตว์ในจินตนาการ  ที่ปรากฏในวัฒนธรรมของชาวไทยภาคใต้ทั้งที่เป็นความเชื่อและประเพณีต่าง ๆ  มากมาย  ส่วนใหญ่นาคจะเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค  เป็นสิ่งชำระล้างช่วยให้เกิดความสะอาดสดชื่น  รวมทั้งที่สมมุติเอาสายน้ำแทนกระแสธรรมอันชำระมลทิน  นอกจากนี้ยังใช้นาคหรือพญานาคเป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องสัญจร  นำข้ามมหาสมุทรตลอดจนนำชีวิตไปสู่ฝั่งแห่งความเจริญ  สัญลักษณ์เหล่านี้จะปรากฏรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ  ล้วนสืบต่อกันมาช้านาน  จนกลายเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้าน
                นาคเป็นสัตว์ในจินตนาการที่นำมาใช้เพื่อตกแต่งยานพาหนะเฉพาะในประเพณีการชักพระของชาวภาคใต้  ทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่าประเพณีดังกล่าว  ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ช่างตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและเห็นแล้วประทับใจ  จึงนำเอาภาพนาคมาตกแต่งบนเรือกอและอีกทางหนึ่งด้วย  แต่ไม่ได้มีความเชื่อหรือเพื่อการเคารพบูชาแต่ประการใด  และนาคที่นำมาตกแต่งได้แก่  พญานาค  นาคปักษิณ  เหรา  และ  มัจฉานาคา  เป็นต้น
                ภาพเงือก
                ลักษณะของเงือกส่วนใหญ่  จะมีท่อนบนเป็นคน  ท่อนล่างเป็นปลา

ภาพหนุมาน บนกราบเรือด้านล่าง                                  ภาพนางเงือกบนส่วนของบางาในเรือกอและ
ที่มา :  วุฒิ วัฒนสิน.2542,48,50
<<< PREVIOUS     NEXT >>>