เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าเกาะยอแต่เดิมใช้กี่มือ หรือที่ชาวบ้าน ในภาคใต้เรียกว่า “ เก ” “ กี่ ”หรือ “ หูก ซึ่งพัฒนามาจากหลักการเบื้องต้นที่ต้องการให้มีการขัดลายกันระหว่างด้ายเส้นยืนกับด้าย เส้นพุ่งเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นผืนผ้าขึ้นได้ เครื่องมือที่ใช้ทอผ้าเกาะยอว่า "กี่กระตุก"โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ 2 ส่วน ดังนี้

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเตรียมด้าย


           1.ดอกหวิง  เป็นอุปกรณ์สำหรับหมุนเพื่อกรอเส้นด้ายสีต่างๆเข้าหลอด
  

 

           2.ไน เป็นอุปกรณ์กรอเส้นด้ายอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นช่องสำหรับใส่แกนม้วนด้าย
ซึ่งผูกโยงกับดอกหวิง ปัจจุบันมีการนำมอเตอร์ไฟฟ้ามาเป็นตัวช่วยหมุน เมื่อมอเตอร์ไฟฟ้า
ทำงาน เส้นด้ายในดอกหวิงจะหมุนด้ายมาเก็บไว้ในแกนม้วนด้าย

 

            3.หลอดด้ายค้น ( ลูกค้น ) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้ายโดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 นิ้ว จำนวน 152 หลอด หลอดค้นทำจากไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันใช้ท่อน้ำพลาสติกแทน

            4.รางค้น เป็นอุปกรณ์สำหรับเรียงหลอดด้ายค้น เพื่อเตรียมไว้สำหรับขั้นตอนการเดินเส้นด้ายต่อไป รางค้นมีลักษณะเป็นแถว 2 ชั้น มีแกนสำหรับใส่หลอดด้ายค้นจำนวน 152 แกนอยู่บนเสาสูงประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 5-8 เมตร จากนั้นทำการค้นด้ายในหลอด เมือค้นเสร็จ ด้ายที่เป็นเส้นทั้งหมดจะอยู่รวมกันในลูกหัด

5. หลักค้น เป็นอุปกรณ์สำหรับพันเส้นด้ายที่ค้นตามจำนวนความยาวที่ต้องการมีลักษณะ
เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 5-8 เมตร ที่หัวหลักค้นมีหลักสูงประมาณ 6 นิ้ว
  จำนวนประมาณ 20 หลักอยู่ทั้งสองด้าน         
                                                                                  

6 ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ
มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน
เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้าย
ที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า ฟืมสมัยโบราณทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปนกหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ
สวยงามมาก
7 ตะขอเกี่ยวด้าย ( เบ็ดเข้าฟืม ) เป็นอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวเส้นด้ายเข้าฟืม ทำด้วยเหล็ก
ยาวประมาณ 8 นิ้ว ส่วนปลายทำเป็นตะขอไว้สำหรับเกี่ยวเส้นด้ายเข้าฟืม ซึ่งเส้นด้ายทุกเส้น
จะต้องใช้ตะขอเกี่ยวด้ายสอดไว้ในฟืมจนเต็มทุกช่อง
8 เครื่องรองตอนเข้าฟืม
           

9 ลูกหัด ( ระหัด ) เป็นอุปกรณ์สำหรับม้วนเก็บเส้นด้ายที่ค้นเสร็จแล้ว มีลักษณะคล้าย
ระหัดวิดน้ำ ซึ่งอยู่ที่ด้านปลายของแกนระหัดทั้งสองด้าน โดยหมุนม้วนเส้นด้ายเก็บไว้เพื่อ
เตรียมใส่่ในเครื่องทอผ้า

10 ไม้นัด เป็นไม้ที่สอดอยู่ในช่องด้ายยืน เพื่อช่วยให้ด้ายไม่พันกัน

11 ไม้ขัดด้าย หรือฟันปลา เป็นอุปกรณ์สำหรับขัดระหัดม้วนผ้าเพื่อไม่ให้ระหัดม้วนผ้า
ขยับเขยื้อนได้ ทำให้เส้นด้ายตึงอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงขั้นตอนการทอผ้าก็จะง่ายขึ้น




12 เครื่องม้วนด้าย ใช้สำหรับม้วนด้ายเข้าหลอดด้ายยืน

 
PREVIOUS      NEXT