ประเพณีทิ้งกระจาด
             เป็นประเพณีเชื้อสายจีนที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
วัตถุประสงค์ของประเพณีนี้ คือ
ประการที่ 1 เป็นการสร้างบุญกุศลด้วยการให้ทานถือศีลร่วมกันของประชาชนทั้งไทยและจีนปีละ 1 ครั้ง
ประการที่ 2 เพือร่วมกันอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้มีพระคุณและเจ้ากรรมนายเวรที่ล่วงลับไปแล้ว
ประการที่ 3 เพืออุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณเร่ร่อน สัมภเวสีจะได้ไปสู่สุขคติ
ประการที่ 4 เพือเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
             
         ในงานประเพณีทางมูลนิธิจะรับบริจาคสิ่งของจากผู้ที่มีจิตเมตตาแล้วนำมาแจกจ่ายแก่ประชาชนผู้ยากจน
ส่วนมากจะเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคสิ่งของเครื่องใช้นี้
ผู้ประสงค์จะรับบริจาคต้องไปรับแจกบัตรจากทางมูลนิธิก่อน เมื่อถึงประเพณีทิ้งกระจาด
จึงนำบัตรนี้มาขอรับวัตถุสิ่งขอ
          

ประเพณีการทิ้งกระจาด มีบันทึกในพระสูตร สมัยครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จประทับที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ พร้อมด้วยพระภิกษุสดับพระสัทธรรมเทศนา
เวลานั้นพระอานนท์ เข้าไปนั่งสมาธิ อยู่ในที่สงัดแต่ผู้เดียว ครั้นเวลาดึกสงัด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทัศนาอสูรกาย ร่างกายซูบผอมและมีเพลิงพลุ่งออกมาจากปาก ลำคอเท่ารูเข็ม ผมบนศีรษะรุงรัง
มีเขี้ยวงอกออกจากปากน่าสพึงกลัวยิ่งนัก
อสูรกายยืนประนมมือบอกพระอานนท์ว่า ยังอีก 3 ราตรีท่านก็จะถึงแก่มรณภาพ แล้วต้องมาอยู่ใน
หมู่อสุรกายดังเช่นข้าพเจ้านี้เมื่อพระอานนท์ได้ฟังอสุรกายบอกดังนั้น บังเกิดความหวาดเสียว
กลัวต่อมรณภัย เพราะยังเป็นปุถุชนอยู่ ท่านจึงถามอสุรกายนั้นว่าจะทำประการใดจึงจะพ้นจากความตาย
และพ้นทุกข์ อสุรกายตอบว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าอยากให้พ้นกองทุกข์ ให้กระทำพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และบริจาคทานให้แก่ยาจกเข็ญใจที่อดอยากและแผ่กุศลไปให้แก่พวกอสุรกายทั้งหลาย ท่านก็จัก
ได้มีอายุยืนยาวนาน  ส่วนอสุรกายก็จักได้พึ่งผลกุศลที่ท่านอุทิศให้ ก็อาจพ้นจากกองทุกข์ถึงสุคติได้
เมื่อพระอานนท์ได้ฟังอสุรกายกล่าวดังนั้น จึงได้นำความมากราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามคำที่อสุรกายกล่าวนั้น และขอให้ทรงช่วย

ท่านจึงมีพระพุทธฏีกาตรัสแก่พระอานนท์ ว่าดูก่อนอานนท์            
อย่าได้มีความเกรงกลัวไปเลย เราตถาคตจะชี้ทางให้  เพื่อบริจาคทานให้แก่หมู่อสุรกายและพวกพราหมณ์
เมื่อพระอานนท์บริจาคทาน แล้วจักพ้นภัย ดังที่กล่าวแล้วนั้น แต่การที่จักบริจาคให้ทั่วถึงอสุรกายนั้นยาก เพราะพวกอสุรกายนั้นสร้างกรรมไว้มาก จึงไม่สามารถบริโภคได้ ต้องตั้งพิธีประชุมอริยเจ้าทั้งหลาย
มาเจริญพระคาถา ด้วยอำนาจพระคาถานี้ อาจให้ทั่วถึงหมู่อสุรกายทั้งหลายได้ ส่วนอานนท์ก็จักได้มีอายุยืน
 เมื่อพระอานนท์ได้สดับพระพุทธพจน์ดังนั้นแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจึง จัดทำเครื่องสักการบูชา
และเครื่องอุปโภคบริโภคพร้อมแล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็ตั้งพิธีสันนิบาตพุทธจักร ณ ที่ควร
จึงกระทำสักการบูชา
พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานในการนี้ เมื่อพระอานนท์ผู้เป็นเจ้าบริจาคทานและอุทิศส่วนกุศลไปให้หมู่อสุรกายครั้งนั้น โดยได้พึ่งอำนาจพระบารมี
อภินิหารแห่งพระรัตนตรัยทั้งสาม และอำนาจพระคาถานั้น จึงบันดาลให้ทั่วถึงหมู่อสุรกายทั้งหลาย
ได้รับผลทานอันนี้แล้วไปสู่สุคติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีพระพุทธฏีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
ดูกรอานนท์ จงรู้เถิดเราตถาคตจะแสดงให้ทราบ เมื่ออดีตกาลล่วงแล้วครั้งนั้น เราตถาคตเกิดในตระกูลพราหมณ์
อยู่ในสำนักพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์องค์นี้เมื่อผู้ใดบริจาคทานแก่หมู่อสุรกายใดๆ แล้ว พระองค์อ่านพระคาถา สวดขึ้นด้วยอำนาจพระคาถานั้นอาจให้ทั่วถึง หมู่สัตว์อสุรกายทั้งหลาย
 เราตถาคตจึงนำมาแสดงแก่อานนท์ในกาลบัดนี้ และอานนท์จึงรู้ซึ่งอสุรกายที่มาบอกแก่อานนท์
ว่ายังอีก 3 ราตรี อานนท์ก็จักถึงแก่มรณะนั้น หาใช้อื่นไกลไม่คือพระโพธิสัตว์ นั้นเอง พระโพธิสัตว์องค์นี้เธอปรารถนาจะโปรดทั้งมนุษย์และอบายสัตว์ทั่วๆไป ด้วยพรหมวิหารคือ
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทั้ง 4 อย่างนี้บริบูรณ์อยู่ในเธอๆ จึงได้แบ่งภาคมาบอกแก่อานนท์
เพื่อจะได้เป็นต้นบริจาคทานต่อๆ ไป
เพราะเหตุนี้ การบริจาคทานทิ้งกระจาดจึงต้องมีรูปยมราช คือพระโพธิสัตว์แบ่งภาคเป็นประธานสำหรับแจกเครื่องไทยทานทิ้งกระจาดปฐมพิธีทิ้งกระจาดนั้น
มีอาสนะตั้งเย็นชั้นสูงกลางต่ำตามสำดับดังนี้ คือการสงค์องค์ที่สถิตอยู่ชั้นสูงนั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ คือองค์พระสักยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเครื่อง องค์ที่สถิตอยู่ ณ ชั้นรองเยื้องขวานั้น
สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ คือ พระวิปัสสีทรงเครื่อง
องค์ที่สถิตอยู่ชั้นรองเบื้องซ้ายนั้นสมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ คือพระสีขีทรงเครื่อง
องค์ที่สถิตอยู่ชั้นรองต่อลงไปเบื้องขวานั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ คือพระเวสสภูทรงเครื่อง องค์ที่สถิตอยู่ชั้นรองต่อลงไปเบื้องซ้ายนั้นสมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ พระกักกุสันธะทรงเครื่อง
องค์ที่สถิตอยู่ ณ ชั้นต่ำเบื้องซ้ายนั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ พระพุทธกัสสทรงเครื่อง
องค์ที่สถิตอยู่ ณ เบื้องต่ำ หันหน้าออกนั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระ คือพระมาลัยเถรเจ้าทรงเครื่อง หน่วงจิตต์ภาวนาพระนามตลอดการพิธีทิ้งกระจาดองค์ที่สถิตอยู่เบื้องต่ำหันหน้าเข้านั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่ พระพุทธเจ้าเปิดโลกทรงเครื่อง หน่วงจิตต์ภาวนาพระนามตลอดการพิธีทิ้งกระจาด
องค์สถิตอยู่ ณ ทิศตะวันออกนั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระทรงเครื่อง
หน่วงจิตต์ภาวนาพระนามตลอดการพิธีทิ้งกระจาด องค์สถิตอยู่ ณ ทิศตะวันตกนั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระทรงเครื่องหน่วงจิตต์ภาวนาพระนามตลอดการพิธีทิ้งกระจาด 
องค์สถิตอยู่ ณ ทิศเหนือนั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระทรงเครื่องหน่วงจิตต์ภาวนาพระนาม
ตลอดการพิธีทิ้งกระจาด องค์สถิตอยู่ ณ ทิศใต้นั้น สมมติสนองพระโอษฐ์ว่าที่พระทรงเครื่องหน่วงจิตต
์ภาวนาพระนามตลอดการพิธีทิ้งกระจาด ส่วนพระอันดับทั้งหลายนั้นสมมติสนองพระโอษฐ์
ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ต้องหันหน้าหน่วงจิตไปทางทิศตะวันตกขวามาแล้ว จึงหันกลับ
ที่ประสานมือคลุมจีวรนั้นเป็นการแสดงว่าได้สำรวม อินทรีย์แล้วสวดสรรเสริญพระบารมีพระพุทธเจ้าทั้งหลาย          

และนี่จึงเป็นเหตุทำให้ก่อกำเนิดเกิดมีพิธีทิ้งกระจาดสืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน
(
วีรพล จ้อยทองมูล. ทิ้งกระจาด    http://www.siamrath.co.th/uifont )

                

                                     การแสดงอุปรากรจีน(งิ้ว) ในงานประเพณีทิ้งกระจาด
เอกสารอ้างอิง

เทศกาลทิ้งกระจาด มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง       http://pohtecktung.org/index.php?option=com_content&view=article&id=130&Itemid=150
( เข้าถึง 30 กันยายน 2553 )
ประเพณีทิ้งกระจาด     http://www.chaiwit.ac.th/dataschool/data/local/local5.html  ( เข้าถึง 30 กันยายน 2553 )
วีรพล จ้อยทองมูล. ทิ้งกระจาด.      http://econnews9.blogspot.com/2009/07/blog-post_20.html  ( เข้าถึง 3 ตุลาคม 2553 )

ศรีมหาโพธิ์. 2543. ประเพณีธรรมเนียมจีน : พิธีแต่งงาน เทศกาลตรุษจีน วันสารทจีน วันเช็งเม้ง เทศกาลกินเจ งานทิ้งกระจาด พิธีงานศพจีน ความเชื่อโชค ลาง. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์น.
เศรษฐ์พงษ์ จงสงวน. ทิ้งกระจาด...ทานให้คนหรือให้ผี   http://buddhayan.sitepackage.net/?p=article&content_id=106
( เข้าถึง3 ตุลาคม 2553)
ส.พลายน้อย. 2542. ประเพณีจีน : รวมขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและความเชื่อของจีน. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.
สันต์ สุวรรณประทีป. ทิ้งกระจาด.   http://www.lib.ru.ac.th/journal/krajard.html   ( เข้าถึง 3 ตุลาคม 2553 )

 

 
<<<   PREVIOUS   >>>