ประเภทของการลากพระ |
1. ลากพระน้ำ การลากพระทางน้ำหรือทางเรือ เรียก “เรือพระ” คือ เอาเรือหลายลำมาเทียบเรียงขนานผูกติดกันเป็นแพขนาดใหญ่ ประดับตกแต่งอย่างประสาทมณฑปอย่างวิจิตร แห่แหนมีเครื่องดนตรีประโคมไฟตามแม่น้ำลำคลองทะเลสาป เพลงลากพระ (น้ำ) |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.2537,28 |
2. ลากพระบก การลากพระทางบก เรียก “รถพระ” คือ การอัญเชิญพระพุทธรูป ซึ่งประดับคล้ายหัวเรือท้ายเรือ รูปพญานาคและหางนาคอย่างสวยงาม ลากพระบกมีวิธีการลากเหมือนกับลากพระน้ำ จะต่างกันตรงที่เส้นทางการเดินเรือเท่านั้น การลากพระน้ำจะสนุกกว่าการลากพระบก เพลงลากพระบก (คนร้องนำ) อีสาระพา (ลูกคู่รับ) เฮโล เฮโล อีสาระพา (ลูกคู่รับ) เฮโล เฮโล (คนร้องนำ) อะไรกลมกลม (ลูกคู่รับ) หัวนมสาวสาว สาวสาวไม่มา (ลูกคู่รับ) ลากพระไม่ไป (คนร้องนำ) อะไรยาวยาว(ลูกคู่รับ) กล้วยไล (หัวโต)กล้วยไล สาวสาวพุงใหญ่ (ลูกคู่รับ) ช่วยกันผลัก |
ที่มา : ใต้หรอยมีลุย.2547,28 |
เพลงลากพระ เพลงลากพระร้องเป็นกลอนสด ลางครั้งอาจจะมีลักษณะสองง่ามสามแง่ เนื่องจากเพื่อความสนุกสนาน คนลากพระจึงกินเหล้าเข้าไปบ้าง เป็นพวกวัยรุ่นบ้าง ต้องการเย้าแหย่สังคมแวดล้อม สะท้อนปัญหาเรื่องราวของชาวบ้าน จึงใช้ปฏิภาณไหวพริบว่าไปเพื่อคลายร้อนคลายเหนื่อย คนดู คนฟังก็พลอยชอบใจยิ้มตามไปด้วย เช่นร้องว่า ลากพระไม่ไป สาวพุงใหญ่ (ท้อง) เกิดลูกลอยคลอง มีเรื่องมาจากว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2502 ก่อนถึงงานลากพระชาวบ้านใน ต. นา จ. นครศรีธรรมราช นำลูกแรกคลอดไปลอยทิ้งในคลองป่าเหล้าตอนกลางคืน รุ่งเช้าชาวบ้านไปพบศพทารก เกิดโจทย์ขานกันเป็นข่าวใหญ่ว่าเป็นลูกของใครกันแน่ บ้างก็วิจารณ์ว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ หรือฝ่ายชายไม่รับเลี้ยงดู แม่เลยเอาลูกมาทิ้งในคลอง ดังนั้นเมื่อถึงวันลากพระชาวบ้านจึงนำมาร้องเป็นเพลงลากพระ หรือ ลากพระไม่ไป ถ่านไฟแทงหยวก มีที่มาเช่นเดียวกัน เรื่องจริงมีว่า วัฒนธรรมจังหวัดคนหนึ่งที่ จ. นครศรีธรรมราช เป็นคนภาคกลางผิวดำ ได้มาแต่งงานกับลูกสาวจีนผิวขาว ที่ประตูชัยใต้ เหตุการณ์ผ่านมาไม่นานชาวบ้านมีปฏิภาณดี เมื่อลากพระผ่านประตูชัยใต้จึงร้องเพลงสัพยอก ตามปกติเมื่อลากพระไปถึงไหน พบเหตุการณ์อะไร มีความรู้เรื่องเก่าใหม่อย่างไร ก็จะร้องด้นให้เข้ากับเรื่องราวบรรยากาศได้เสมอ เพลงลากพระจึงสนุกสนานและทุกคนสามารถเป็นต้นเสียงด้นเพลงร้องนำได้ตลอดเวลา เช่นร้องว่า ลากพระขึ้นควน ศรีนวลแพล็ดๆ ก็มาจากเรื่องจริงแต่ครั้งโบราณ คือมีผู้หญิงคนหนึ่ง อยู่บ้านแถว ต. ในเมือง ใกล้วัดพระบรมธาตุ จ. นครศรีธรรมราช ได้เป็นผู้สร้างพระลาก (พระพุทธรูปยืน ) ถวายไว้ที่วัดหน้าพระบรมธาตุ ผู้คิดแต่งคำร้องเพลงลากพระจึงนำมาร้องสรรเสริญ แต่ต่อมาภายหลังมีผู้นำมาร้องแปลงใหม่ จนกลายเป็นคำไม่สุภาพไป เป็นต้น ประเพณีลากพระนี้ ลางแห่งทำปีละ 2 ครั้ง คือครั้งหลังมีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 (วันที่ 15 เมษายน) หลังวันว่าง หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย มีถือปฏิบัติกันอยู่ที่ จ. พัทลุง และปัตตานี วันขึ้นปีใหม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าแต่งชุดใหม่กันทุกคน ดังนั้นก่อนสงกรานต์จะต้องเตรียมทอผ้าไว้ตัดเย็บชุดใหม่ เป็นประเพณีมาแต่โบราณ (ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์์.2548,223-224้) |