ตัวละคร
   ลิเกป่ามีตัวละครสำคัญเพียง ๓ ตัวคือ
   ๑. แขกแดง
   ๒. ยาหยี
   ๓. เสนา
   คณะลิเกที่แสดงแถบจังหวัดกระบี่จะมีตัวประกอบเพิ่มเติมดังนี้
   ๑. เจ้าเมือง
   ๒. นายด่าน
   ๓. แม่ของยาหยี
  หากเป็นการแสดงชุดอื่น ก็จะเปลี่ยนตัวละครให้สอดคล้องกับเรื่องราวนั้นๆ


แขกแดง ตัวชูโรง ที่มา : การแสดงลิเกป่างานสมโภชศาลหลักเมืองตรัง http://www.trangzone.com/webboard_show.php?ID=4375
ยาหยี   ที่มา : การแสดงลิเกป่า http://av.sac.or.th/Subdetail/seminar/sum_show/Show25.html

         เสนา                 เจ้าเมือง (หรือนายด่าน)
ที่มา : การแสดงลิเกป่า http://av.sac.or.th/Subdetail/seminar/sum_show/Show25.html


   การแต่งกาย
   แขกแดง มักนุ่งกางเกงขายาว ผ้าโสร่งสวมทับเพียงเข่า สวมเสื้อแขนยาวและมีเสื้อนอกทับอีกทีหนึ่ง สวมหมวก   ใส่หนวดหรือแต้มหนวดให้มีเครารุงรัง บางครั้งก็มีสายสร้อยสวมด้วย เสริมจมูกให้โตแบบแขก ส่วนมากมักทำด้วยไม้ทาสีแดง   บางคณะอาจให้นุ่งผ้าขาวโจงกระเบนทิ้งชาย สวมเสื้อแขนยาว ติดหนวดรุงรัง มีประคำคล้องคอ   มีผ้าโพกศีรษะแทนการสวมหมวก การแต่งตัวแขกแดงของลิเกป่ามุ่งเลียนแบบแขกอินเดียเป็นสำคัญ

   ยาหยี แต่งแบบหญิงมุสลิมภาคใต้ หรือแต่งแบบผู้หญิงไทยทั่วไปแถบชายทะเลตะวันตกคือ นุ่งผ้าปาเต๊ะสีต่างๆ   สวมเสื้อแขนยาวมีผ้าคลุมผมที่เรียกว่า “ผ้าฮีญาบ”
  (
การแสดง "ลิเกป่า" คณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ และอ.วาที ทรัพย์สิน. ๒๕๔๙      http://av.sac.or.th/Subdetail/seminar/sum_show/Show25.html)

 

     คลิกชมวีดิทัศน์"ลิเกป่า"   
            
    เอกสารอ้างอิง
   ชวน  เพชรแก้ว. 2523. ชีวิตไทยปักษ์ใต้ ชุดที่ 3. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม.
   ใต้ หรอย มีลุย : บอกเล่าเรื่องราวความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้.  2547. 
   กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 
   ประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์.  2548.  ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ : ว่าด้ยภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ภาษา วัฒนธรรรม
   ประเพณีพื้นบ้าน.
  กรุงเทพฯ : สิวีริยาศาส์น
   ลิเกป่า (ลิเกรำมะนา). 2531. รายการชีพจรลงเท้า
   ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 2549. การแสดงลิเกป่า http://av.sac.or.th/Subdetail/seminar/sum_show/Show25.html    (เข้าถึง 30 ต.ค. 2551)

   

PREVIOUS