มัสยิดกรือเซะ

ที่มา : มัลลิกา คณานุรักษ์. 2530.ไม่ปรากฎเลขหน้า

มัสยิดกรือเซะตั้ง อยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด

ประมาณ 15x30 เมตร  สูง 6.50 เมตร เสาทรงกลมเลียนรูปแบบเสากอธิคของยุโรป ช่วงประตูหน้าต่างมีทั้งแบบ

โค้งแหลม และมีที่คล้ายกับอิฐสมัยทวาราวดีปะปนอยู่บ้าง ที่บริเวณฐานของมัสยิด จากหลักฐานที่ประมวลไว้ใน

เรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างมัสยิดแห่งนี้ มีอยู่หลายกระแส  บางกระแสกล่าวว่า สุลต่านลองยุนุสเป็น ผู้สร้าง เมื่อปี

พ.ศ. 2265  เหตุที่สร้างไม่เสร็จเนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง สุลต่านกับอนุชา และต่อมาเมื่อ

อนุชาได้รับตำแหน่งสุลต่าน ก็ได้ย้ายเมืองปัตตานีไปอยู่ ณ บ้านบูยุด จึงไม่ได้สร้างต่อ 

       อีกกระแสหนึ่ง มาจากตำนานเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว  ซึ่งมีอยู่ว่าพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยม เป็นผู้ควบคุมการก่อ

สร้าง ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ในสมัยรายาบีรู (พ.ศ. 2159-2167) แต่สร้างไม่สำเร็จ  เมื่อสร้างถึงยอด

โดมครั้งใด ก็พังทลายลงมาทุกครั้ง เนื่องจากน้องสาวมาตามพี่ชาย ขอให้กลับเมืองจีน แต่พี่ชายไม่ยอม จึง

อธิษฐานขอให้สร้างมัสยิดกรือเซะไม่สำเร็จ และตนเองได้ผูกคอตายอยู่ใกล้มัสยิดนั้น

 

 

ที่มา : มัลลิกา คณานุรักษ์. 2530.ไม่ปรากฎเลขหน้า

      ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนั้น มีบันทึกไว้ในหลายๆแหล่ง มีเรื่องราวที่เหมือนๆกันแต่อาจมีราย

ละเอียดเล็กๆน้อยๆที่แตกต่างกันไปบ้าง  ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่บันทึกไว้ในหนังสือ “เจ้าแม่ลิ้มกอ

เหนี่ยว ปัตตานี” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิเทพปูชนียสถาน ระบุว่า เจ้าแม่เกิดในตระกูล “ลิ้ม” มีชื่อว่า “กอเหนี่ยว”

 พำนักอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน เป็นน้องสาวของ “ลิ้มเต้าเคียน” หรือ “ลิ้มโต๊ะเคี่ยม”

          เมื่อยังเป็นเด็ก สองพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะแขนงต่างๆ จนแตกฉาน ฝ่ายพี่ชายเมื่อโตขึ้นก็ได้เข้ารับ

ราชการ สร้างผลงานปราบโจรสลัดญี่ปุ่นจนได้รับการแต่งตั้งเป็น “ขุนพลเซ็กกีกวง” คุมกองทัพเรือ แต่ต่อมาเขา

ถูกใส่ร้ายว่าสบคบกับโจรสลัด จนทางการออกประกาศจับ จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของทหารหลวง หนีออกทะเลไปยัง

เกาะไต้หวัน

         ลิ้มโต๊ะเคี่ยม เห็นว่าทัพหลวงยังคงติดตามโจมตี ประกอบกับถูกโจรสลัดรังควาญอยู่ตลอด จึงเดินทางต่อ

ไปทางเกาะลูซอน (ฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน) แล้วเข้าไปยังเวียดนาม แต่บางตำนานเล่าว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเข้าไปอาศัย

อยู่ในกรุงศรีอยุธยา และภายหลังจึงได้ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองปัตตานี ที่ปัตตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ได้ภรรยาเป็

นชาวปัตตานีและเข้ารีตเป็นมุสลิมตามภรรยา    

       ฝ่าย ลิ้มกอเหนี่ยว ผู้เป็นน้องสาว เมื่อเห็นว่าพี่ชายขาดการติดต่อ ไม่ได้ส่งข่าวคราวเป็นเวลานาน จนมารด

าซึ่งอยู่ในวัยชราล้มป่วยเป็นประจำ ด้วยความกตัญญูจึงอาสาออกเดินทางไปตามพี่ชายให้กลับมาเยี่ยมบ้าน

        ในวันเดินทาง ลิ้มกอเหนี่ยวได้เข้าไปร่ำลามารดา และลั่นสัจจวาจาไว้ว่า “หากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับมาหา

มารดาแล้วไซร้ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป”

        ลิ้มกอเหนี่ยว กับญาตินำเรือออกทะเลเป็นเวลาหลายเดือน กระทั่งเข้าเขตเมืองปัตตานี ก็ได้จอดทอดสมอไว้

ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยว เดินเข้าไปในเมืองและพูดคุยกับชาวบ้านจนได้ความว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม พี่ชายยังมีชีวิตอยู่ และ

ได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่ จึงได้เข้าไปหาและชวนพี่ชายให้กลับไปยังบ้านเกิด  แต่ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ไตร่ตรองดูแล้

วเห็นว่าหากกลับไปตอนนี้จะสร้างความลำบากให้แก่ตน เนื่องจากยังติดประกาศจับของทางการ ขณะที่ความเป็น

อยู่ทางนี้ก็มีความสมบูรณ์ดีอยู่ จึงตัดสินใจกล่าวกับน้องสาวว่า

     “ตนหาใช่เนรคุณทอดทิ้งมารดาและน้องสาวไม่แต่เหตุที่ทางการจีนกล่าวโทษว่าสบคบกับโจรสลัด สร้าง

ความอัปยศจนต้องพลัดพรากมาอยู่ที่นี่ตนอยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย  อีกทั้งได้รับปากกับเจ้าเมืองว่าจะก่อ

สร้างมัสยิดให้ (มัสยิดกรือเซะ) จึงไม่สามารถกลับไปในขณะนี้ได้”

      ลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อได้ยินดังนั้น ก็คิดว่าจะหาโอกาสอ้วนวอนพี่ชายให้กลับไปให้จงได้ จึงขอพำนักอยู่ในปัตตานี

ต่อ         ใน ขณะนั้นเจ้าเมืองตานีกำลังก่อสร้างมัสยิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจโดยมอบให้ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม เป็นนาย

ช่างออกแบบและก่อสร้าง ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้อุทิศกายและใจให้กับงานที่ได้รับมอบหมาย ยิ่งทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวเกิด

ความโกรธและน้อยใจในตัวพี่ชาย พยายามอ้อนวอนพี่ชายให้เห็นแก่มารดาก็ไม่สำเร็จ จึงได้สาบแช่งไว้ว่า “แม้พี่

ชายจะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงใดก็ตามแต่ขอให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ” และแอบไปผูกคอตายที่ต้น

มะม่วงหิมพานต์ด้านข้างมัสยิดที่กำลังก่อสร้าง

        ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเมื่อสูญเสียน้องสาวก็เสียใจมาก จึงจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ พร้อมกับสร้าง

ฮวงซุ้ยขึ้นที่ “หมู่บ้านกรือเซะ” แล้ว ทำการก่อสร้างมัสยิดต่อไปจนเกือบเสร็จอยู่ในขั้นก่อสร้างโดมหลังคา วัน

หนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟ้าผ่าลงมายังโดมที่กำลังสร้างจนเสียหายหมดทั้งๆที่ไม่มีวี่แววพายุฝนแต่ อย่างใด

 ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงทำการก่อสร้างโดมหลังคาใหม่ แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีก คือเกิดฟ้าผ่าลงมายังยอดโดม

อีกครั้ง ทำให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมนึกถึงคำสาบแช่งของลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นได้ จึงเกิดความท้อใจเลิกล้มการก่อสร้างมัสยิด

เพราะคิดว่าคำสาบแช่งของน้องสาวมี ความศักดิ์สิทธิ์

           เล่ากันว่า ลิ้มก่อเหนี่ยว ได้สำแดงความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและผู้สัญจรไปมาในแถบ นั้น

เสมอ จนเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นเหตุให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้นำกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่นางใช้ ผูกค

อตายมาแกะสลักเป็นรูปบูชาไว้สักการะและสร้างศาลให้เป็นที่ประดิษฐานรูป บูชา พร้อมกับขนานนามว่า “ศาล

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”

        ปรากฏว่าเมื่อตั้งศาลแล้ว ก็มีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้า

แม่ช่วย บ้างก็กราบไหว้ขอให้ทำมาค้าขายเจริญ  แล้วก็บังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน ทำให้ความ

ศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเลื่องลือไปยังเมืองต่างๆ 

         ต่อมา พระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย ต้นสกุล “คณานุรักษ์”) เห็นว่าศาลเจ้าแม่ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ไม่

สะดวกในการประกอบพิธี จึงทำการบูรณะศาลเจ้าซูก๋ง บนถนนอาเนาะรู ในตัวเมืองปัตตานี และได้อัญเชิญองค์

เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวมาประดิษฐาน ภายหลังมีชื่อว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” (ศาลเทพเจ้าแห่งความเมตตา) หรือที่

ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” มากระทั่งทุกวันนี้

 

 

 

 

 

ที่มา : มัลลิกา คณานุรักษ์. 2530.ไม่ปรากฎเลขหน้า
PREVIOUS     NEXT