พิธีลงเล 
เป็นพิธีบูชาเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครอง
ดูแลปกปักษ์รักษาชีวิตผู้คนในชุมชน  อันได้แก่  เท้าอัฐโลกบาล
 (เทวดาประจำทิศทั้งแปด)  นามว่า  พระอินทร์  ประจำทิศตะวันออก 
พระอัคนี  ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้  พระยมประจำทิศใต้ 
พระนิรฤติประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้  พระวรุณ  ประจำ
ทิศตะวันตก  พระวายุ  ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  พระกุเวร
 (เวสสุวรรณ)  ประจำทิศเหนือ  พระอิศวร  (อีศาน)  ประจำทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนโอปาติกะ  อันได้แก่  เทวดา 
พรหม  ภูตผี  เปรต  อสูรกาย  และมนุษย์ตนกัลป์  รวมถึงเจ้าที่
เจ้าทางและผีที่คนในชุมชนเคารพ  เช่น  พ่อแก่โต๊ะเมือง 
โต๊ะหมอเสน  โต๊ะหมอน้อย  โต๊ะชายเพียร  แม่โต๊ะนาง 
เป็นต้น  ในพิธีนี้ให้น้ำหนักกับการกล่าวถึงการบูชาเท้า
เวสสุวรรณ (พระกุเวร)  อาจจะเนื่องมาจากพื้นฐานความเชื่อ
ของชุมชนบ้านเมืองเราเชื่อว่าเท้าเวสสุวรรณ  เป็นเทพผู้ขับล่า
ปีศาจ  เสนียดจัญไรคุณไสยต่าง ๆ อีกทั้งเป็นผู้บันดาลโชคลาภ
และความร่ำรวย

 

 

 
 
 
ที่มา : ประเพณีลงเล.  http://www.m-culture.in.th/

พิธีลงเลจะจัดขึ้นในวันขึ้น  ๑๕  ค่ำเดือน  ๘  ซึ่งตรงกับวันจันทร์หรือวันพฤหัสบดี
เท่านั้น  สองวันนี้ถือเป็นฤกษ์ยามสำหรับการประกอบพิธีลงเล  หากตรงกับวันอื่น ๆ 
ก็จะจัดขึ้นไม่ได้และในปีใดมีเดือน  ๘  สองหน  ต้องจัดในวันขึ้น  ๑๕  ค่ำเดือน  ๘  หลัง 
ซึ่งคนรุ่นปัจจุบันเองก็ไม่ทราบนัยว่าเพราะเหตุใดจึงกำหนดเป็นวันและเวลานี้  เพียงแต่เป็น
การปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ  กันมาของชุมชน  อาจเป็นไปได้ว่าในวันและเวลานี้คือวันฟ้าเปิด
เชื่อมโยงมิติภพภูมิซึ่งคนโบราณได้กำหนดไว้ก็เป็นได้  ทุกวันนี้พบการทำพิธีลงเล
อยู่ในสามชุมชนของอำเภอไม้แก่น  ได้แก่  บ้านสารวัน  ตำบลไทรทอง  บ้านใหญ่ 
ตำบลไม้แก่น  และบ้านดินเสมอ  ตำบลตะโละไกรทอง  เท่านั้น

Home       Main
Next