ประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น

การลอยกระทงของชาวเหนือ(ยี่เป็ง)
            การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่าของเรา

 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับ

คติของชาวพม่า
การลอยกระทงของชาวอีสาน(ไหลเรือไฟ)
            การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการ

นำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตาม

ลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา นอกจากนี้ยังมีประเพณีลอยกระทงในประเทศต่างๆ เช่นที่เขมร จีน อินเดีย

 โดยมีคติความเชื่อและประวัติความเป็นมาตรงกันบ้างแตกต่างกันไปบ้าง

เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟจังหวัดสุโขทัย

            งานลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่จัดขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยเป็นงานระดับประเทศ เรียกว่า เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟ

 มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศไปร่วมสนุกสนานกันเป็นประจำมากทุกปี

พิธีจองเปรียงเทศกาลลอยกระทงของสุโขทัยในสมัยโบราณ

            ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้กล่าวถึงพิธีจองเปรียงไว้ดังนี้

พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่ง

โคมชักโคมแขวนโคมลอยทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่าง แต่บรรดา

ข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูปสัณฐานต่างๆ ประกวดกัน

มาชักมาแขวนเป็นระเบียบเรียบราบตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชอุทิศสักการพระมหาเกศธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ฝ่ายพระสนมกำนัลก็ทำโคมลอยร้อยด้วยบุปผชาต

ิเป็นรูปต่างๆ ประกวดกันถวายให้ทรงอุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยังนัมมทานทีแลข้าน้อย(นางนพมาศ) 

ก็กระทำโคมลอยคิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง

          ครั้นเวลาพลบค่ำ สมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จลงพระที่นั่งชลพิมานพร้อมด้วยอัครชายา พระบรมวงศ์และ

พระสนมกำนัลนางท้าวชาวชะแม่ทั้งปวง พราหมณ์ก็ถวายเสียงสังข์อันเป็นมงคล ชาวพนักงานก็ชักสายโคมชัย

โคมประเทียบบริวารขึ้นพร้อมกัน เพื่อจะให้ทรงพระราชอุทิศสักการบุชาพระจุฬามณี ฝ่ายนางท้าวชาวชะแม่ก็ลอย

โคมพระราชเทพี พระวงศานุวงศ์โคมพระสนมกำนัล ก็เป็นลำดับกันลงมา ถวายให้ทอดพระเนตรและทรงพระราชอุทิศ 
          ครั้นถึงโคมรูปดอกกระมุทของข้าน้อย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตร พลางทางตรัสชมว่าโคมลอย

อย่างนี้วามประหลาด ยังหาเคยมีไม่ เป็นโคมของผู้ใดคิดกระทำ ท้าวศรีราชศักดิโสภาก็กราบบังคมทูลว่าโคมของ

นพมาศธิดาพระศรีมโหสถ.....  ครั้นสมเด็จพระร่วงเจ้าทรงสดับ ก็ดำรัสว่าข้าน้อยนี้มีปัญญาฉลาดสมกับที่เกิดใน

ตระกูลนักปราชญ์..... จึงมีพระราชบริหารบำหยัดสาปสรรว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ

 ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีจองเปรียงแล้วก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทอุทิศ 

สักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) ก็ปรากฏมา

จนเท่าทุกวันนี้.......

 

การลอยกระทงในปัจจุบัน
       การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12

 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทง

สวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมา

ต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพ

สมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

      

บทส่งท้าย

          ประเพณีการลอยกระทง น่าจะเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์

ธัญญาหารเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ จึงมีการลอยกระทงไปตามกระแสน้ำ เพื่อขอบคุณพระแม่คงคาหรือ

เทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้งเป็นการแสดงความคารวะขออภัยที่ได้ลงอาบ หรือปล่อยสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจ

หรือไม่ก็ตาม รวมทั้งเป็นการบูชาเทพเจ้าตลอดจนรอยพระพุทธบาท พระเจดีย์จุฬามณีฯลฯ ตามคติความเชื่อ

          หลังจากทำพิธีลอยกระทงแล้ว ก็จัดให้มีการละเล่นรื่นเริงสนุกสนาน เช่น 

การละเล่นพื้นเมือง การเล่นเพลงเรือ รำวงฯลฯ อันเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
          ความมุ่งหมายของการลอยกระทงมีอยู่หลายประการ เช่น การขอขมาต่อพระแม่คงคาการบูชารอบพระพุทธบาท

 การลอยเคราะห์โรคภัยและทุกข์โศกให้ไหลไปกับสายน้ำ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้จะจัดขึ้นในเดือน 12 โดยนับวัน

ตามจันทรคติ หรือราวเดือนพฤศจิกายน

 PREVIOUS