ที่มา : ตำนานแห่งนางกินรี http://www.scene4.com/archivesqv6/mar-2006/

 

    มโนห์รา : ศิลปะการเล่นชั้นสูง 
 ศิลปะการละเล่นอีกอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ซึ่งมีมาแต่โบราณ  และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายคือ  “มโนห์รา”  หรือที่ชาวปักษ์ใต้
 นิยมพูดตัดคำให้สั้นลงว่า  “โนรา”  มโนห์ราหรือโนราเป็นการเล่น  ที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้  ไม่ว่างานเทศกาลนักขัตฤกษ์หรือ
 งานมงคลใด ๆ  มักจะมีมโนห์รามาแสดงด้วยเสมอ  มโนห์ราเป็นการแสดงทำนองเดียวกับละครชาตรีที่เล่นกันแพร่หลาย
 ในภาคกลาง  กล่าวคือมีการร่ายรำ  มีบทร้อง  บทเจรจา   และการแสดงเป็นเรื่องยาวการฟ้อนรำของไทยประเภทละครที่มีมา
 แต่เดิมนั้นมีสามอย่างคือ ละครชาตรีหรือมโนห์รา  ละครนอก  และละคนใน บรรดาละครนั้งสามอย่างนี้ ถือกันว่าละครชาตรี
 เป็นแบบฉบับดั้งเดิมของละครไทย  และอาจจะเป็นต้นตำรับ  ของละครนอกละครในด้วย  ส่วนละครพูดกับละครร้องเป็น
 ของที่เพิ่งมีขึ้นมาทีหลัง  คือเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ  จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ชวน  เพชรแก้ว. 2523,37)

   ประวัติความเป็นมา
                มีท่านผู้รู้บางท่านกล่าวว่า  มโนห์ราน่าจะเป็นวัฒนธรรมของอินเดียมาแต่เดิมแพร่หลายเข้าสู่ชวาและมลายู  แล้วจึงเข้าสู่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเพราะถ้าสังเกตท่ารำของมโนห์ราโดยเฉพาะท่ารำในตอนไหว้ครู  จะแลเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีท่าทางและการใช้กะชัง  และเนรมิตศาลาให้นางอาศัย  เมื่อครบถ้วนเทศมาสนางก็ประสูติกุมาร  เทพยดาได้มาชุบพี่เลี้ยงและนางนมให้เพื่อบำรุงรักษาพระกุมาร
                วันหนึ่งพระกุมารพร้อมด้วยนางนมและนางพี่เลี้ยงไปเที่ยวป่าพบสระน้ำ  ที่สระนั้นมีนางกินรี  ๕00  คนมารำเล่นอยู่  พระกุมารกับนางนมคือนางศรีมาลาก็จำเอาท่าของนางกินรีนั้นมาได้  ครั้นอายุ  ๙  ปีเทพยดาก็ลงมาประทานนามว่าเทพสิงหร  แล้วเอาก้อนศิลาก้อนหนึ่งชุบให้เป็นพรานบุญ  อยู่มาวันหนึ่งพระเทพสิงหรและพรานบุญได้ชวนกันไปเที่ยวป่าและได้นอนหลับใต้ต้นรัง  เทพยดาลงมาเข้าฝันบอกท่ารำ  พระเทพสิงหรและพรานบุญต่างก็จำได้แม่นยำทั้ง  ๑๒  ท่า  คือ
                                ท่าแม่ลาย                                                               ท่าบัวตูม
                                ท่าเขาควาย  ราหูจับจันทร์                                       ท่าบัวบาน
                                ท่ากินนร                                                               ท่าบัวคลี่
                                ท่าจับระบำ                                                            ท่าบัวแย้ม
                                ท่าลงฉาก  หงส์ลีลา                                               ท่าแมงมุมชักใย
                                ท่าฉากน้อย  ช้างประสานงา                                   ท่าผาลา
          ท่ารำทั้ง  ๑๒  ท่าที่กล่าวแล้ว  เป็นท่าแบบฉบับของมโนห์รามาจนทุกวันนี้  ต่อจากนั้นเทพยดาก็เนรมิตทับให้สองใบชื่อว่า  น้ำตาตก  และ  นกเขาขัน  และกลองหนึ่งใบชื่อว่าเภรีสุวรรณโลก  จากนั้นได้ลบสัมผัสกายองค์เทพยดามาชุบเป็นขุนศรัทธา  เพื่อเป็นครูมโนห์ราไว้แทนเทพยดาองค์นั้น
                พระเทพสิงหรกับพรานบุญตื่นขึ้นเห็นขุนศรัทธา  ทับ  และกลองก็มีความชื่นชมยินดีและยกย่องให้ขุนศรัทธาเป็นครู  แล้วพากันกลับไปยังศาลาที่อาศัย  เทพยดาได้เนรมิตเรือให้อีก  ๑  ลำ  นางนวลสำลีก็พาพระเทพสิงหรและสมัครพรรคพวกลงเรือลำนั้นไปขึ้นฝั่งที่เมืองอยุธยา  พระเทพสิงหรได้เที่ยวรำไปทั่วทุกหมู่บ้าน  จนเป็นที่เลื่องลือของชาวเมืองว่ารำได้สวยมาก  ท้าวทศวงศ์จึงรับสั่งให้ไปรำหน้าพระที่นั่ง  ท้าวทศวงศ์ทอดพระเนตรเห็นนางนวลสำลีก็ทรงจำได้  ตรัสเรียกเข้ามาไต่ถาม  นางได้เล่าความแต่หนหลังถวาย  ก็ทรงโปรดปรานมากพระราชทานเครื่องตันให้พระเทพสิงหรและยกขุนศรัทธาเป็นครูมโนห์ราอย่างเป็นทางการ (๓)
(๓)  สุนันทา  โสรัจจ์  โขน  ละคร  ฟ้อนรำ  หน้า  ๑๘๐-๑๘๑.
                 
มโนราห์กฤตชัย สินธุ์สาย แสดงในงานไหว้ครูโนรา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2-5 ก.ค.2556
 
<<< Previous >>> Next