ตำนานเทศกาลไหว้พระจันทร์
ความศรัทธาเก่าแก

  ความจริง ชาวจีนมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระจันทร์มาแต่โบราณกาล ยิ่งกว่าพระอาทิตย์ การนับปฏิบทินก็นับโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ดังที่เรียกว่า จันทรคติ
            การเพาะปลูก และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ชาวจีนโบราณจะอาศัยดูจากดวงจันทร์ เพื่อให้เหมาะสมในการทำนาทำไร่ ซึ่งต้องอาศัยเป็นหลัก รวมความว่า ชาวจีนแต่โบราณให้ความสำคัญทางด้านจิตใจต่อดวงจันทร์มาก ในเรื่อง

  1. การทำนา-ไร่                                                 
  2. การเพาะปลูกพืชต่าง ๆ
  3. การเจริญเติบโตของพืช
  4. การเพาะชำพืช และ
  5. การดูปริมาณน้ำขึ้น-น้ำลง

ดังนั้น จึงมองเห็นว่า ดวงจันทร์มีคุณต่อมนุษยชาติมาก ทั้งมีแสงสว่างร่มเย็น สบายตา น่าสดชื่นรื่นรมย์เป็นอย่างมาก อากาศกำลังดี ไม่ร้อนไม่หนาว
                       
อีกตำนานหนึ่ง
            มีอีกตำนานหนึ่งที่มีเรื่องราวเล่าสืบต่อกันมา คือวันเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ เป็นวันแห่งการปลดแอกชาติจีน ให้พ้นจากการปกครองของ พวกตาด (Tartar) คือ พวกเผ่ามงโกล จากมงโกเลีย
            เนื่องจากสมัยหนึ่ง เข้าสู่ยุคที่ชนเผ่ามงโกลเรื่องอำนาจบุกรุกเข้ามายึดครองแผ่นดินจีนได้
            พวกมงโกลได้ก่อกรรมทำเข็ญต่อคนจีนอย่างมาก โดยวางกฎอำนาจไว้ว่า คนจีน 3 ครอบครัว จะต้องเลี้ยงดูคนมงโกล 1 คน ให้อยู่ดีกินดีทุกอย่าง
            อาวุธที่เป็นของมีคมขนาดใหญ ขนาดกลาง เช่นมีด ขวาน ตลอดจนของมีคมจะถูกยึดหมด แต่ละครอบครัวให้ใช้ได้แค่มีดบางเล็ก ๆ สำหรับหั่นผักต้มแกงและผัดเท่านั้น
            ถ้าบ้านเรือนใกล้เคียงกัน มีดบาง 1 เล่ม อนุญาตให้ใช้ร่วมกันได้ 3 ครอบครัว ใครฝ่าฝืนกฎมีโทษถึงตาย

 เกิดความคิดปฏิวัติ
            ชาวจีนผู้ถูกกดขี่รังแก โดยเฉพาะฝ่ายชาย จึงคิดปลดแอกกู้ชาติขึ้นขณะที่มีเวลาออกไปทำไร่ทำนา
            เมื่อรวมตัวกันได้จำนวนพอสมควร จึงมีแนวความคิดให้มีวันไหว้พระจันทร์เกิดขึ้น ความจริงพิธีนี้ก็ได้เกิดมีมานานแล้ว
            ผู้คนชาวจีนหัวรุนแรง ต่างรู้สึกว่าวันไว้พระจันทร์เป็นวันดี คืนดี เป็นวันสดชื่นเบิกบาน และเป็นฤดูมีดอกกุ้ยฮวาบานส่งกลิ่นหอมไปทั่ว

 เหตุการณ์กู้ชาติ
            มีนิทานเล่ากันว่า ในปลายราชวงศ์ซ่ง ต้นรัชกาลหยวน (ราวปี พ.ศ. 1771-1857) พวกตาด (Tartar) บรรพบุรุษของชาวมงโกเลียไ ด้บุกรุกเข้ามายังภาคกลางของจีน มีกำลังและแสนยานุภาพมากก่อกรรมทำเข็ญต่อคนจีนอย่างแสนสาหัส
            นับแต่นั้นหลาย ๆ ปีต่อมา ก่อนจะถึงเทศกาลวันไหวัพระจันทร์หัวหน้าคนจีนผู้อาวุโสท่านหนึ่งได้คิดแผนการยอดเยี่ยม แนะนำให้หญิงจีนทำขนมเย่วปิ่ง คือขนมไหว้พระจันทร์นั่นเอง
            แต่แนะนำให้ทำเป็นขนมรูปกลม ๆ และแผ่นโต ๆ ส่งไปให้เพื่อนบ้านชาวจีนบ้านละกล่อง พร้อมกำชับว่า ต้องแบ่งขนมนี้ให้สมาชิกในบ้านกินกันทุก ๆ คน โดยแนะว่าใครได้กินแล้ว จะพ้นจากภัยพิบัติที่จะเกิดในวันที่ 15 เดือน 8 นี้
            ชาวจีนต่างรู้เรื่องการปลดแอกนี้น้อยมาก เพียงแต่รู้ว่าถ้าได้กินขนมดังกล่าวแล้ว จะพ้นจากภัยพิบัติ ขจัดความเลวร้ายได้ เมื่อมีการส่งขนมไปให้ จึงพากันแบ่งกันกินจนทั่วหน้า แต่เมื่อตัดขนมออกนั้น จึงพบมีกระดาษซ่อนอยู่แถบหนึ่ง มีตัวอักษรจีนใจความว่า  “ตีสามคืนนี้ (วันไหว้ฯ) จงพากันฆ่าพวกตา       

ชายฉกรรจ์ลุกฮือ
            ด้วยหนังสือน้อยแผ่นนี้ ชายฉกรรจ์ทั้งหลาย ทุกครอบครัว จึงพยายามสะสมตระเตรียมอาวุธเท่าที่จะหาได้
            พอรอคอยจนถึงเวลานัดหมาย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเคาะบอกเวลา 3 ยามดังขึ้น ชายฉกรรจ์เหล่านั้นจึงพากันวิ่งกรูเข้าไปยังค่ายของพวกตาด
            เนื่องจากมิได้ระมัดระวังตัวมาก่อน และไม่รู้ระแคะระคายแม้แต่น้อย พวกตาดจึงถูกฆ่าตายหมดชั่วอึดใจเดียว

 

ฉลองชัยชนะ
            เมื่อฆ่าพวกตาดผู้เป็นข้าศึกศัตรูตายจนหมดสิ้นแล้วชาวบ้านจึงจัดโต๊ะกินเลี้ยงสุราอาหารกันใหญ่โต
            หลังจากนั้นทุก ๆ ปี เมื่อถึงวันที่ 15 เดือน 8 (ของจีน) ชาวบ้านคนจีน แม้คนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย ก็จะทำ (ซื้อ) ขนมรูปลักษณะกลม ๆ  ข้างในยัดไส้มากินฉลองกัน อย่างที่มีการจัดหาขนมเปี๊ยะยัดไส้มาเซ่นไหว้พระจันทร์สืบมาทุก ๆ วันนี้
        ทั้งนี้ นับเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีจิตใจกล้าหาญทำการปฏิวัติปลดแอกชาติจีนจากเงื้อมศัตรูได้เด็ดขาด คงให้มีเทศกาลไหว้พระจันทร์สืบมาตราบเท่าทุกวันปัจจุบันนี้ (ประเพณีธรรมเนียมจีน.2543,45-48) 
 

.    ******************         

 
PREVIOUS