ที่มา : นกเขาชวา    http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%80%

นกเขาชวา
นกเขาชนิดพันธุ์นี้เป็นนกเขาที่มีขนาดเล็กมากที่สุดเป็นนกที่มีเสียงขันไพเราะเป็น ที่ชื่นชอบของคนทั่วไป นอกจากนี้ยังเชื่อถือกันว่าเป็นนกที่นำโชคลาภมาให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วย


ชื่อวงศ์

Columbidae

ชื่ออื่น

นกเขาเล็ก นกเขาแขก

ชื่อสามัญ

Zebra Dove or Barrec ground Dove or Javanese striated Ground Dove

ชื่อวิทยาศาสตร

Geopelia striata striara (Linnaeus)

ถิ่นกำเนิด
พบมีอาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย (ชวา) มาเลเซีย ในไทยนั้นพบมากทางภาคใต้เมื่อ 70ปีก่อนซึ่งปัจจุบันถูกนำมาเลี้ยงในประเทศและแพร่พันธุ์ได้ดีไปทุกภาคจนกลายเป็นนกประจำถิ่น พบได้ในทุ่งโล่ง และป่าละเมาะ และมีพบในฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
รูปร่างลักษณะ
ตัวเล็กกว่านกเขาไฟ ตัวเล็กกว่านกเขาชนิดอื่น ๆ ขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ จึงเรียกนกเขา "ม้าลาย"ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว
อุปนิสัย
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะชายทุ่งและบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่ บางทีก็เห็นอยู่เดี่ยวแต่ไม่ ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักขันบ่อย ๆ ในยามเช้าและยามเย็น เป็นนกที่เชื่องคนง่าย
ลักษณะที่ดี

  • ปากงอเหมือนขอช้าง
  • มีสร้อยรอบคอ,ขนที่คอสีหมึกดำ
  • อกนูน
  • ขนสีดำมีสีขาวแซมที่ปีกหรือขนขาวทั้งตัว
  • หน้าผากขาว
  • ขนขาวรอบขอบตา,ขอบตากว้าง
  • ขนหางยาวยื่นออกเป็นเส้นเดียว
  • เท้าสีขาวเขียว ฝ่าเท้าดำ

http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/article/knowledge/1tp.gif

นกเขาใหญ่
นกเขาชนิดพันธุ์นี้เป็นนกเขาที่มีลำตัวใหญ่ คนไทยเรานิยมเลี้ยงกันมาแต่โบราณกาล ซึ่งผู้นิยมการเลี้ยงนกเขาชนิดนี้ต่างก็มีความรู้สึกว่านกเขาใหญ่เป็นนกเขาที่น่ารักและน่าเลี้ยงมาก เพราะคุณสมบัติของนกเขาใหญ่ชันดี นับว่ามีลีลาการขันต่างกว่านกชนิดอื่น ใครได้ฟังจะไม่รู้จักเบื่อ


ชื่ออื่น

นกเขาหลวง, นกเขาหม้อ

ชื่อวงศ์

Columbidae

ชื่อสามัญ

Spotted-necked Dove or Spotted Dove

ชื่อวิทยาศาสตร์

Streptopelia chinensis Tigrina

ถิ่นกำเนิด
พบว่ามีอยู่ในประเทศอินเดีย จีน ไทย และประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ปัจจุบันมีการนำมาแพร่พันธุ์จนกลายเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยตามทุ่งโล่ง ป่าละเมาะ และป่าทึบ
รูปร่างลักษณะ
ขนาดตัวประมาณ25 เซนติเมตร ทั้งนกเขาตัวผู้และตัวเมียต่างก็มีลักษณะคล้ายกันคือ ขนปกคลุมตัวสีน้ำตาล ด้านหลังสีเข้มกว่าด้านท้อง หัวสีเทา ด้านข้างของคอและท้ายทอยมีแถบสีดำกว้าง ภายในแถบดำมีจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวกระจาย ตรงปลายปาก ม่านตาสีชมพูอ่อน ๆ แกมเหลืองจาง ๆ ปาก สีดำ แข็งและนิ้วเท้าสีค่อนข้างแดง เวลาบินเห็นขอบท้ายของขนหางสีขาว
อุปนิสัย
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งชายทุ่งนา เรือกสวนและบริเวณที่มีการเพาะปลูก ปกติตามทุ่งนาที่ราบต่ำชอบอยู่ก้นเป็นคู่ บางตัวก็อยู่เดี่ยวจะขันคูในเวลาเช้าและเย็น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะเข้าอยู่รวมกัน หากินเป็นฝูงใหญ่ และในการทำรังของมันจะมักจะใช้กิ่งไม้เรียงซ้อนกัน รังมีลักษณะบอบบางมาก วางไข่ 2 ฟอง นกเขาชนิดนี้ถ้าฝึกจนเชื่องจะเป็นนกที่ฉลาดรู้จัดจำเจ้าของ ช่างประจบ
ลักษณะที่ดี

  • หัวโต ปากสั้น,ปลายจงอยปากงอเหมือนขอช้าง ขอบตากว้างชัด,ดวงตาสุกแดงเป็นสองชั้น สะพายท้ายตางอและดำ คอยาว และมีสร้อยรอบคอ,คอต่อหลังตั้งเป็นหนอก ( คอหนอก ) หรือสันหลังแหลม ไหล่ผาย,อกตั้ง ไม่แคบ กุกหรือหลิ่วต้น หัวปีกแหลมและชิดปิดบัง,ปลายปีกไขว้ ท้ายตก ขนสันหลังหนา,ขนยาว รากขนดำลึก น้ำหมึกมาก แข้งมีสีแดงผักปลัง เท้าใหญ่ เล็บดำ เล็บก้อยยาว

http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/article/knowledge/1tp.gif

นกเขาไฟ


ชื่อวงศ์

Columbidae

ชื่อสามัญ

Red turtle dove

ชื่อวิทยาศาสตร

Streptopelia tranquebarica

รูปร่างลักษณะ
ตัวเล็กกว่านกเขาใหญ่ ขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลปนเทา มีทางสีดำพาดขวางตรงท้ายทอย เพศผู้มีหัวสีเทาและมีต้นปีกเป็นสีน้ำตาลแดงมาก เวลาบินเห็นขอบท้ายของขนหางสีขาว เป็นนกประจำถิ่น
แหล่งที่พบ
ปัจจุบันพบที่บริเวณตามทุ่งโล่ง ทุ่งนาและป่าละเมาะ

http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/article/knowledge/1tp.gif

นกเขาเขียว


ชื่อวงศ์

Columbidae

ชื่อสามัญ

Emeral dove

ชื่อวิทยาศาสตร

Chalcophaps indica

รูปร่างลักษณะ
ขนาดตัวเท่ากับนกเขาไฟ ขนปกคลุมตัวด้านหลังสีเทา ตะโพกสีเขียวและมีแถบสีขาว 2 แถบ ปีกสีเขียว ด้านท้องสีน้ำตาลแดง เพศผู้มีหน้าผากและคิ้วขาว เพศเมียมีหัวสีน้ำตาลมีคิ้วขาว
แหล่งที่พบ
ปัจจุบันพบที่บริเวณในป่าทึบ ปกติพบตามลำพังตัวเดียวตามที่ร่มทึบและชื้น ส่วนมากจะบินในระดับต่ำกว่าเรือนยอดของต้นไม้
(เรื่องของนกเขา http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/)

ภาพประกอบ( นกเขาชวา นกเขาใหญ่ นกเขาเขียว ) ที่มา : เรื่องของนกเขา http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/
 
PREVIOUS         NEXT