โรค การป้องกันและการรักษาโรค

สิ่งที่เป็นภัยต่อนกเขาชวา
                ผู้ที่เลี้ยงนกเขาชวาพึงต้องรู้ไว้ด้วยว่าในโลกนี้มีอะไรที่เป็นภัยต่อนกเขาบ้างเมื่อรู้แล้วจะได้ระมัดระวัง
จัดการให้นกเขาของตนอยู่ห่างจากสิ่งที่เป็นภัยให้มากที่สุด
                สิ่งที่เป็นภัยต่อนกเขาได้แก่สัตว์บางชนิด  อาทิเช่น  แมว  หมา  งู  แมลงป่อง  ตะขาบ  ยุง  มดดำมดแดง
  เหยี่ยวนกเขา  หนู  ค้างคาว  นกเค้าแมว  แมลงสาบ  และสิ่งอื่น ๆ  ภายในบริเวณบ้านหรือในบ้าน
                สิ่งอื่น ๆ  ภายในบ้าน  ได้แก่  สีสันของบ้านที่มีสีบาดตาหรือสีแก่ ๆ  สังเกตได้ว่านกจะดิ้นถ้าไม่ชอบ
  แสงจากกระจกเงาที่สะท้อนเข้าตานกเขา  จะทำให้นกเขาตกใจ  เด็กเล็ก ๆ  ที่ชอบถือไม้แกว่งไปมาใกล้ ๆ  กรงนกเขา 
ควันไฟ  และแสงแดดที่ร้อนจัดเกินไป  ละอองฝน  และภัยที่สำคัญที่สุดคือ  การถูกทอดทิ้งหรือถูกลืมโดยเจ้าของ
ไม่เอาใจใส่  เหล่านี้ล้วนเป็นภัยของนกเขาทั้งสิ้น
                เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นภัยของนกเขาก็ควรจะหาทางป้องกัน  โดยวิธี  “กันดีกว่าแก้  อย่ารอให้แย่  จะแก้ไม่ทัน” 
พวกสัตว์ต่าง ๆ  ที่กล่าวมาแล้วว่าเป็นภัยต่อนกเขาก็ควรหาทางกำจัดให้หมด  และอย่าให้เข้าใกล้นกเขา  ส่วนสิ่งอื่นเช่น
  แสง  กระจกเงาความร้อน  ละอองฝน  ก็ควรจัดการอย่าให้เข้าใกล้หรือกล้ำกรายถูกตัวนกเขาได้โดยเฉพาะภัยที่ถูกทอดทิ้ง
  ก็แก้ไขได้ด้วยการเอาใจใส่ให้ดี
                แทบจะกล่าวได้ว่านกเขาชวามีความผูกพันเกี่ยวข้องกับชาวภาคใต้ค่อนข้างมาก  โดยเฉพาะทาง 
๕  จังหวัดชายแดนภาคใต้  คือที่จังหวัดปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  สตูล  และสงขลา  จะเห็นว่าชาวภาคใต้เกือบทุกครัวเรือน
ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบทมักจะมีเสารอกนกเขาชวา  กรงผสมนกเขาชวา  และกรงเลี้ยงนกเขาชวา  อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไว้ในบ้านหรือบริเวณบ้านเสมอที่เห็นมากที่สุดก็คือ  กรงเลี้ยงนกเขาชวาที่แขวนตามชายคาบ้านเกือบทุกครัวเรือน
และถ้าบ้านใดมีบริเวณรอบ ๆ  บ้านก็จะมีเสารอกนกเขาชวา  และกรงผสมนกเขาชวาอยู่ภายในบริเวณบ้านด้วยเสมอ
                นกเขาชวาราคาแพง ๆ  ของประเทศไทย  มักจะอยู่แถวทางจังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งบรรดาเศรษฐีนักเล่นนกเขาจากภาคกลางและนักเล่นนกเขาชวาจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซีย
และประเทศอินโดนีเซียนิยมมาหาซื้อนกเขาชวาเสียงดีจากภาคใต้เสมอ  โดยเสนอราคาให้อย่างงามเท่ากับ
ราคาบ้านหลังใหญ่  หรือเท่ากับราคารถยนต์อย่างดีแม้กระนั้นเจ้าของนกเขาชวาบางคนก็ยังไม่ยอมขาย
                แต่ก็มีบางคนเรือบางกลุ่มในบางหมู่บ้านใต้ริเริ่มเลี้ยงนกเขาชวาไว้สำหรับขาย  เลี้ยงจนเป็นอาชีพที่ทำเงินให้คนเลี้ยงและทำเงินเข้าจังหวัดที่เลี้ยงนกเขาชวาปีละหลายสินบ้านบาท 
จนปัจจุยันแทบจะกล่าวได้ว่า  เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าชีวิตคนในสังคมทางภาคใต้ส่วนใหญ่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทาง  ๕  จังหวัดชายแดนภาคใต้นิยมเลี้ยงและเล่นนกเขาชวากัน (มัลลิกา คณานุรักษ์. 2530,100-101)

  นกก็เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บเหมือนกัน ถ้าขาดการสังเกต การเอาใจใส่ ไม่ได้รับการช่วยเหลือเท่าที่ควรทั้งเมื่อเริ่มมีการเจ็บป่วยก็แก้ไขได้ยาก นกเป็นสัตว์ปีกทีมีขนาดตัวเล็กนิดเดียว
ฉีดยาก็อันตราย กินยาก็ยาก จับก็ตื่น ถ้าป่วยมากแล้วมักช่วยเหลือไม่ทัน เข้าทำนองเลี้ยงที่ไรตายหมดทุกที
ในที่สุดเกิดความเบื่อหน่ายจะเลี้ยงนก ซึ่งความจริงไม่ใช่ความบกพร่องของนกแต่เป็นความบกพร่องของผู้เลี้ยงเอง
       ในการป้องกันโรคให้นกนั้นข้อแนะนำกว้างๆ สำหรับผู้เลี้ยงนกคือ พยายามปฏิบัติการเลี้ยงดูให้ดี แท้จริงแล้ว
หากนกได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีพอสมควรทั้งในเรื่องน้ำ อาหาร และความสะอาดของพื้นกรง นกก็จะอยู่ได้อย่างปกติสุข
ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน การใช้เวลาว่างเพียงวันละ 3 – 4 นาที เพื่อตรวจสุขภาพและส่วนประกอบอย่างอื่น เช่น
พื้นกรงหรือที่ใส่อาหาร ย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากหรือสิ้นเปลืองเวลาอะไรมากนัก จะทำให้นกมีสุขภาพ
สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยให้นกไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย เป็นการป้องกันโรคขั้นพื้นฐานทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงนกมิใช่เป็นของง่ายนัก ทั้งนี้เพราะเราเอามันมาเลี้ยงในกรงซึ่งผิดธรรมชาติที่แท้จริงของนก
เป็นอันมาก ฉะนั้น แม้เราจะรอบคอบและถือหลักภาษิตว่า
“ป้องกันดีกว่าแก้”เสมอก็จริงต่นกที่เราเลี้ยงด้วยประการฉะนี้เราควรรู้เรื่องการป้องกันและรักษาโรคนกที่เราเลี้ยงไว ้
บ้างพอสมควร อย่าปฏิบัติตามมติที่ว่า “ตายก็ฝังยังก็เลี้ยง” เลย
 เมื่อปรากฏว่านกมีอาการคอตก เซื่องซึม ยืนโงนเงนไปมา ไม่ร่าเริง กระโดดโลดเต็นเหมือนตัวอื่นๆ ขนนกไม่เรียบ
หรือท้องร่วง หรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่น เมื่อผู้เลี้ยงได้เห็นอากัปกิริยาเช่นนี้ต้องเรียบแก้ไขให้ทันก่อนที่จะสายเกินไป
       วิธีการแก้ไขนกป่วยนี้ทำได้โดยผู้เลี้ยงรีบแยกนกที่ป่วยนี้นออกมาต่างหาก แยกออกมาเพียงลำพังในกรงพยาบาล อย่าให้ลมโกรกหรือร้อนอบอ้าวหรือเย็นชื้นจนเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับนกป่วยควรอยู่ในระหว่าง
23 – 30 องศาเซลเซียส และควรคงที่ เพราะอหุณหภูมิระดับนี้จะทำให้นกรู้สึกกระหายน้ำและต้องการน้ำมากขึ้น
เป็นโอกาสดีที่จะให้นกกินยาได้ ผู้เลี้ยงต้องเอายาแอนตี้ไบโอติคที่รักษาโรคนั้นๆ มาผสมละลายกับน้ำ
โดยปริมาณที่เหมาะสม
โดยเรื่องนี้ผู้เลี้ยงต้องสอบถามจากร้านจำหน่ายยา หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องยา ป้องกันการแพ้ยาอันจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันนี้วิวัฒนาการเกี่ยวกับยารักษาโรคนกได้ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก มียาประเภทปฏิชีวนะ ยาประเภทซัลฟา
และยาประเภทพิวราโซลิโดน สำหรับใช้รักษาโรคของนกได้อย่างกว่างขวางและได้ผลดีน่าพอใจ ถ้าเข้าใจใช้หรือ
ใช้ให้ตรงกับโรคนั้นๆ และหลังจากที่ได้ให้ยาแก่นกแล้ว ปล่อยให้นกได้อยู่ในกรงเพียงตัวเดียว อย่าพึ่งนำนกที่ป่วย
ไปรวมเข้ากลุ่ม เพราะจะทำให้เป็นโรคติดต่อถึงกันได้

เมื่อได้แก้ไขนกป่วยเรียบร้อยแล้ว ผู้เลี้ยงจะต้องคิดทบทวนหาสาเหตุที่นกป่วย เช่น อาจเป็นเพราะคอนเกาะไม่สะอาด
มีเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อพวกพาราสิตมาเกาะอยู่ได้ ทางที่ดีควรเปลี่ยนคอนอาทิตย์ละอัน หรือถ้าเป็นช่วงผสมพันธุ์ควร
จะเปลี่ยน 2 อันต่ออาทิตย์ หรืออาจจะเป็นเพราะอาหาร น้ำ ตลอดจนกรงไม่สะอาดก็เป็นได้ วิธีแก้ไขทำได้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อฉีดบริเวณพื้นกรงหรือบริเวณตามที่สงสัยว่าจะมีชื้อโรคซุกซ่อนอยู่ แต่ก่อนที่จะฉีดยาฆ่าเชื้อ
ให้ย้ายนกออกจากกรงก่อน หลังฉีดยาฆ่าเชื้อโรคแล้วทิ้งไว้นานจนแน่ใจว่ายานั้นหมดฤทธิ์แล้วจึงนำนกเข้ากรงดังเดิม

                    
     

สำหรับโรคพยาธิต่างๆ มีอยู่หลายชนิด ในโรคระบาดติดต่อร้ายแรงบางโรคซึ่งรักษาไม่ได้ เช่น โรคฝีดาษ โรคนิวคาสเซิล
โรคหลอดลมอักเสบ ก็พอมีวัคซินป้องกันโรค โดยควรติดต่อกับสัตวแพทย์ให้เป็นผู้แนะนำหรือจัดทำให้ จะได้รับผลดีและ
ปลอดภัยกว่า ส่วนการป้องกันโรคบางโรค เช่น โรคท้องร่วง ท้องเสีย โรคหวัด โรคขนร่วง โรคพยาธิต่าง ๆ การให้กินยานั้น
พอมีทางทำได้เหมือนกัน เพราะมียาดี ๆ  หลายขนานด้วย หากแต่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังขนาดของยาที่ให้
โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
 


PREVIOUS    NEXT