ผสมพันธุ์นกเขาชวาต้องอาศัยเทคนิคชั้นสูง

 


นายดุสิต  เฑียรกาญจน์  นักธุรกิจใน อ.จะนะกล่าวว่าการเลี้ยงนกเขาชวา
เริ่มจากการเลี้ยงนกเขาชวาที่ไปจับมาจากป่าก่อน  วิธีการจับนกเขาชวาป่า 
ก็จะมีนกต่อและกรงต่อนก  เมื่ออุปกรณ์ต่อนกพร้อมก็จะไปยังสถานที่นกป่า
อาศัยอยู่หลังจากนั้นก็ฟังเสียงนกขันเมื่อนกป่าตัวไหนขันดีอยากจะได้มาเลี้ยง
  ก็นำกรงต่อพร้อมนกล่อที่เตรียมไว้ เข้าไปล่อให้นกป่าลงมาตี 
ี  เมื่อนกป่าลงมาตีกรงต่อก็จะทำงานตามกลไกลที่วางไว้  ก็จะได้นกมาเลี้ยง
    นกเขาชวาเมื่อก่อนสายพันธุ์จะดีนกจะแข็งแรง  คุณภาพเสียงจะสูง  เสียงจะมีพลังกังวานไกลนกขันแต่ละครั้งจะได้ยินไปไกลแต่เดียวนี้คุณภาพลดลง
นกเขาชวาขันแต่ละครั้งพลังเสียงลดลง
    สาเหตุผมคิดว่านกได้ออกกำลังกายน้อยลงซึ่งจะแตกต่างจากเมื่อก่อนที่นก
ได้อยู่ตามธรรมชาติ
    พัฒนาการของการเลี้ยงนกเขาชวาของอำเภอจะนะมีการเลี้ยงกันมาเป็นร้อยปีแล้ว
โดยเริ่มจากการจับนกจากป่ามาเลี้ยงก่อนในช่วงแรก  เมื่อมาถึงประมาณ
ปี ๒๕๐๐ พ่อของผมคือครูปิยะ  (ตอนนี้อายุ  ๗๔  ปี)  ได้ผสมนกเขาชวาได้เป็นครั้งแรก 
โดยพ่อของผมได้นำนกตัวผู้กับนกตัวเมียขังรวมกรงเดียวกัน  ปรากฏว่าเกิดลูกขึ้นมา
โดยไม่ได้มีความตั้งใจที่ผสมให้ได้ลูกแต่อย่างใด  การที่นำนกเขาชวาตัวเมียเข้าไปขังรวม
กับนกเขาชวาตัวผู้เพื่อต้องการล่อให้ตัวผู้ได้ขันเท่านั้นเอง

หัวกรงนกเขาทำด้วยงาช้าง(สีขาว) ขอเกี่ยวบนหัวกรงทำด้วยทองเหลือง(ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นรูปตัวมังกร)
ที่มา : มัลลิกา คณานุรักษ์. 2527,ไม่ปรากฎเลขหน้า

     หลังจากพ่อได้ค้นพบการผสมนกเขาชวาได้โดยไม่ได้ตั้งใจ  ก็ได้ไปเล่าให้เพื่อน ๆ  ฟัง  ที่ร้านกาแฟ 
ก็ได้มีเพื่อนพ่อคนหนึ่งชื่อ  นายปิ่น  ได้ฟังตามที่พ่อเล่าให้ฟังแล้วก็สนใจ  หลังจากนั้นก็ได้กลับไปจัดทำกรง
ผสมนกเขาชวาเลยและทำสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
     เทคนิคการผสมนกเขาชวาจะมีหลากหลายมากไม่มีสูตรที่ตายตัว  แต่ละคนที่ผสมนกจะมีสูตรของตัวเอง  ถือเป็นความลับอย่างหนึ่งที่จะไม่ค่อยจะมีการเปิดเผยกัน  จะมีการถ่ายทอดกันแต่เฉพาะในเครือญาติเท่านั้น
     ขั้นตอนการผสมนกเขาชวาเริ่มจากการคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ต้องการแล้วนำมาขังรวมกันในกรง  ที่ใช้สำหรับผสมซึ่งเป็นกรงที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะมีความกว้างประมาณ  ๑  เมตรสูงประมาณ  ๑.๕  เมตร
     ระยะเวลาของการผสมเริ่มนับจากวันที่นกไข่  ๑๕  วันไข่จะฟักออกมาเป็นตัว  นกเขาชวาจะไข่ครั้งละ  ๒  ใบ
  นกเขาชวาที่อยู่ตามธรรมชาติจะไข่ปีละ  ๒  ครั้งถ้าสามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ก็จะได้ลูกนก  ๔  ตัว  
  

    ปัจจุบันนี้การผสมพันธุ์นกเขาชวาสามารถผสมได้เดือนละ  ๓  คู่โดยการใช้วิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยโดยหลังจากนกเขาชวาไข่แต่ละครั้งจะให้นกได้กินวิตามินบำรุง
่      การฟักไข่แม่นกก็ไม่ต้องฟักไข่เองจะมี  “มือปืนรับจ้าง”  ฟักแทน
นกที่ใช้เป็นมือปืนรับจ้างมีอยู่สองชนิดด้วยกันคือนกโดมอน  กับนกเขาเทศ
      วิธีการใช้มือปืนรับจ้าง  ต้องเริ่มเวลาผสมระหว่างนกเขาชวาที่ต้องการ
กับมือปืนรับจ้างให้ตรงกันเมื่อนกเขาชวาที่ต้องการผสมไข่ออกมา
ก็จะนำไข่ไปให้นกมือปืนฟักแทน
      การใช้นกมือปืนฟักไข่แทนเพราะไม่ต้องการเสียเวลาให้แม่นกฝักไข่
่สามารถที่จะวางไข่ได้อีก  การใช้นกมือปืนเมื่อก่อนใช้ขั้นตอนเดียว
มาปัจจุบันนี้มีการใช้กันสองขั้นตอน  ขั้นตอนแรกจะให้นกโดมอนฟักไข่ 
เมื่อได้ลูกนกจะให้นกเขาเทศป้อนอาหาร  ที่นิยมใช้นกเขาเทศป้อนอาหาร
เพราะนกเขาเทศตัวโตป้อนอาหารได้ดีกว่านกโดมอนที่ตัวเล็ก
      การฝักไข่นกเขาชวาปัจจุบันนี้พัฒนามาถึงเจ้าของฟาร์มไม่ต้องฝักไข่เองแล้ว  คนที่มาซื้อนกจะนำไข่ที่มีเชื้อไปฟักเอง เมื่อแม่นกไข่ออกมาคนที่สั่งจองไว้
จะมารับไข่ไปทันที
     สาเหตุที่พัฒนามาถึงขั้นนี้อันดับแรกมีคนต้องการเลี้ยงนกกันมาก 
ไม่สามารถทนรอได้นานกว่าจะฟักออกมาเป็นตัวนก  หรืออาจจะกลัวว่าคนอื่น
มาซื้อตัดหน้าเสียก่อน  ตอนนี้ซื้อขายไข่กันคู่ละ  ๒  แสนขายให้ไม่ทัน 
คิวยาวมากไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วจะหานกมาเลี้ยงได้  แม้แต่ในฟาร์มมีนกอยู่ก็อาจจะ
ไม่ได้นกมาเลี้ยงก็ได้ถ้าเจ้าของไม่พอใจจะขายให้ แม้ว่าจะให้ราคาสูงก็ตาม
--------------------------------------------------------

 

ลูกตุ้มแก้วสีต่างๆ สำหรับใช้ห้อยที่ชายผ้าคลุมกรงนกทั้งสี่ชาย         ที่มา : มัลลิกา คณานุรักษ์. 2527,ไม่ปรากฎเลขหน้า
 
PREVIOUS     NEXT