โรงพิธี
โรงพิธี สร้างแบบดั้งเดิม ขนาด 9 x 11 ศอก มี 6 เสา ไม่ยกพื้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน เสาตอนหน้าและตอนหลัง
มีตอนละ 3 เสา ส่วนตอนกลางมี 2 เสา ไม่มีเสากลาง หน้าโรงหันไปทางทิศเหนือหรือใต้ เรียกว่า “ลอยหวัน”
(ลอยตามตะวัน) ไม่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะเป็นการ “ขวางหัน” (ขวางตะวัน)
ตามความเชื่อของโนราว่าเป็นอัปมงคล หลังคาทำเป็นรูปหน้าจั่ว มุงจาก ตรงกลางจั่วครอบด้วยกระแชง้าไม่มีกระแชง
ก็ใช้ใบเตยแทนการที่ต้องครอบกระแชงบนหลังคาจั่วนัยว่าเพื่อระลึกถึง
นางนวลทองสำลีตอนถูกลอยแพไปในทะเลก็ได้อาศัยกระแชงเป็นเครื่องมุงแพ ชาวบ้านบางแห่งยังเชื่อว่าโรงพิธีจะม
ีผีนางโอกะแชงรักษาเสาโรงทั้ง 6 ต้น และรักษากระแชงมุงหลังคาโรงทั้งด้านซ้ายขวาเรียกว่า “นางโอกะแชงสองตอน”
ด้านหลังของโรงพิธีทำเป็นเพิงพักของคณะโนรา ด้านขวาหรือด้านซ้ายของโรงทำเป็นศาลสูงระดับสายตาสำหรับเป็นที่วาง
เครื่องบูชา เรียกว่า “ศาล” หรือ “พาไล” พื้นโรงปูด้วย “สาดคล้า” (เสื่อสานด้วยคล้า) แล้วปูทับด้วยเสื่อกระจูด
วางหมอนปูผ้าขาวทับ เรียกว่า “สาดหมอน” บนหมอนวางไม้แตระและไม้กระดาน หรือเทียนติดเชิง เรียกว่า “เทียนครู”
หรือ “เทียนกาศครู” โรงพิธีอาจจะตกแต่งด้วยผ้า กระดาษสี ธงชายและสิ่งของอื่น ๆ อีกก็ได้
อุปกรณ์ในการประกอบพิธีที่สำคัญได้แก่ผ้าเพดานบนศาลหรือพาไล ผ้าเพดานใหญ่ในโรงพิธี ที่วางเทริดเสื่อหมอน
เครื่องเชี่ยนพิธี หม้อน้ำมนตร์ ไม้หวาย มีดหมอ บายศรีเล็กหรือบายศรีปากชาม บายศรีใหญ่หรือบายศรีท้องโรง
ดอกไม้ ธูปเทียน หอกแทงจระเข้ หยวกกล้วยทำรูปจระเข้ ใบชิงหรือกระแชง ขันลงหิน หน้าพรานชายหญิง เทริด
ย่าม ธนู เชือกคล้องหงส์ เครื่องแต่งตัวโนรา หญ้าคา หญ้าครุน ใบเฉียงพร้า ใบหมากผู้ เงินเหรียญ รวงข้าว
มีดโกน หินลับมีด พระขรรค์ หนังสือ หนังหมี สำหรับที่วางหม้อน้ำมนตร์อาจจะทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นตะกร้า
ทรงสูงเรียกว่า “ตรอม” |