แข่งเรือยาว ที่มา : http://www.khlong-u-taphao.com/index.php?

ประเพณีเล่นเพลงเรือ  การเล่นเพลงเรือ  ส่วนหนึ่งเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากประเพณีลากพระน้ำ  ดังนั้นลางทีจึงได้เรียกกันว่า  “เพลงเรือพระ”  ซึ่งมักร้องเล่นกันในระหว่างมีงานประเพณีลากพระน้ำ  แต่ลางแห่งก็จัดให้มีการเล่นสนุกกันในโอกาสที่มีงานทอดผ้าป่า  ทอดกฐิน  และงานฉลองรื่นเริงอีกด้วยในฤดูน้ำเดือน  ๑๑  เดือน  ๑๒  ซึ่งเคยมีอยู่ทางเกาะสมุย  บ้านดอน  ไชยา  ท่าชนะ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และทางจังหวัดชุมพรก็มีชื่อเรื่องเพลงเรือมาก  ตลอดจนที่บ้านแหลมโพธิ์  (ต. คูเต่า  อ.หาดใหญ่  หรือ  อ.บางกล่ำปัจจุบัน)  ย่านทะเลสาบสงขลาหลายตำบลก็มีเล่นเพลงเรือเช่นกัน  ปัจจุบันการเล่นเพลงเรือใกล้จะสูญเต็มที
                ตัวอย่างเพลงเรือที่นำมากล่าวถึงต่อไปนี้ได้มาโดยความบังเอิญ  คือ  เมื่อ  ๑๗  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๑๓  ผู้เขียนไปขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดหัวเวียง  อ.ไชยา  จ.สุราษฎร์ธานี  มีชายสติไม่ค่อยดีคนหนึ่งมานั่งร้องอยู่ที่ปากหลุม  เห็นว่าไพเราะน่าสนใจจึงขอจดบันทึกไว้ได้ส่วนหนึ่งดังนี้

                                                                เพลงเรือ
                ชาวชุมพรเคยใช้ร้องเล่นกันอย่างสนุกสนาน  ในหน้าน้ำนองเดือน  ๑๑  เดือน  ๑๒

(ชาย)     เรือเอ๋ยเรือพี่                                          ชื่อศรีไม้เกลือ                                       ข้างโคนทำพาย
                ข้างปลายทำสากเบือ  สะเบือ)           ชื่อศรีไม้เกลือ                                       ทำสากเบือชายเอย
(หญิง)   เรือเอ๋ยเรือพี่                                          ชื่อศรีไม้รัก                                           ข้างโคนทำพาย
                ข้างปลายทำสวัก  (หวัก)                    ชื่อศรีไม้รัก                                           ทำสวักชายเอย
(ชาย)     เรือเอ๋ยเรือพี่                                          ชื่อศรีไม้แก้ว                                         ข้าโคนทำพาย
                ข้างปลายทำแจว                                   ชื่อศรีไม้แก้ว                                         ทำแจวชายเอย
(หญิง)   เรือเอ๋ยเรือน้อง                                     ชื่อศรีไม้เหม็ด  (เสม็ด)                       ข้างโคนทำพาย
                ข้างปลายทำเบ็ด                                   ชื่อศรีไม้เหม็ด                                      ทำเบ็ดชายเอย
(ชาย)     เรือเอ๋ยเรือพี่                                          ชื่อศรีไม้ไผ่                                           ข้างโคนทำพาย
                ข้างปลายทำไก่                                     ชื่อศรีไม้ไผ่                                           ทำไก่หญิงเอย
(หญิง)   เรือเอ๋ยเรือน้อง                                     ชื่อศรีไม้พง                                           ข้างโคนทำพาย
                ข้างปลายทำกรง                                   ชื่อศรีไม้พง                                           ทำกรงชายเอย
(ชาย)     เรือเอ๋ยเรือน้อง                                     ชื่อศรีไม้มุด                                           ข้างโคนทำพาย
                ข้างปลายทำกุฏิ์                                    ชื่อศรีไม้มุด                                           ทำกุฏิ์ชายเอย
( ประทุม ชุ่มเพ็งพันธ์. 2548, 224-225 )

เพลงเรือ  เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา ฯลฯ นิยมเล่นกันในหน้านาประมาณเดือน ๑๑ - ๑๒ อุปกรณ์ในการเล่นเพลงเรือคือ เรือของพ่อเพลงลำหนึ่ง และเรือของแม่เพลงลำหนึ่ง เครื่องดนตรีมีกรับธรรมดาหรือกรับพวง และฉิ่ง ถ้าเล่นกลางคืนจะต้องมีตะเกียงไว้กลางลำเรือ เนื้อร้องทั้งสองฝ่ายมาพบกัน พ่อเพลงก็จะพายเรือเข้าไปเทียบเกาะเรือแม่เพลงไว้ แม่เพลงเริ่มด้วยเพลงปลอบ หรือเพลงเกริ่น บางคณะจะเริ่มด้วยบทไหว้าครูก่อน จากนั้นแม่เพลงก็จะร้องประโต้ตอบเรียกว่า บทประ แล้วต่อด้วยชุดลักหาพาหนี หรือนัดหมายสู่ขอ แล้วต่อด้วยเพลงชุดชิงชู้ และเพลงตีหมากผัว เมื่อเลิกก็จะมีเพลงจาก แสดงความอาลัยอาวรณ์
( เพลงเรือ http://www.student.chula.ac.th/ )

เพลงเรือ
           เพลงพื้นเมืองภาคใต้ ทำนองเป็นกลอนเพลง สำหรับให้จังหวะในการพายเรือ นิยมเล่นกันในฤดูน้ำหลากอย่างเรือภาคกลาง เช่น ในพิธีชักพระ ปัจจุบันห่างหายและหาดูได้ยาก  

 

<<< PREVIOUS     NEXT >>>