ที่มา : จิตรา ก่อนันทเกียรติ. 2540,68

การไหว้ขนมจ้าง
                ขนมจ้าง  คือ  บ๊ะจ่าง  หรือ  บ๊ะจั่ง  ตามสำเนียงพูดของคนจีน
                เทศกาลการไหว้ขนมจ้าง  ตามทัศนะของชาวจีน  นับว่าเป็นเทศกาลแสดงกตัญญูต่อบรรพบุรุษ  เป็นเรื่องราวมีจารึกไว้ในพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์จีน
                เดิมทีเดียวเป็นเทศกาลวันไหว้ขุนนางผู้ซื่อสัตย์ของจีน  ผู้มีชื่อว่า  ฉู่หยวน  บางตำราว่า  คุกง้วน  ตามสำเนียงภาษาจีนแต่ละท้องถิ่น
                ดังนั้น  เทศกาลไหว้  บ๊ะจ่าง  หรือ  ขนมจ้าง  นี้  ชาวจีนเรียกว่าเทศกาล  ตวนอู่เจี่ย  นับว่าเป็นวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ลูกหลานของชาวจีน  ได้ระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษผู้เคยเป็นขุนนางผู้มีความซื่อสัตย์ของจีน
                เทศกาลนี้จะตรงกับวันที่  5  เดือน  5  ตามการนับจันทรคติแบบจีน  แต่ถ้าเทียบจันทรคติแบบไทย  จะตรงกับเดือน  7  คือในเดือนมิถุนายน
                ฉู่หยวน  หรือ  คุกง้วน  มีความรู้พิเศษหลายประการ  ทั้งเป็นปราชญ์และนักประพันธ์ผู้มีจิตใจรักชาติ
                เขาเป็นขุนนางผู้มีความจงรักภักดีและซื่อสัตย์  พยายามที่จะต่อสู้กับการฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัฐฉู่  แต่เพราะความซื่อนี่เองจึงทำให้เขาถูกลอบทำร้าย  และถูกใส่ความอยู่เสมอ  เขาเสมือนเป็นคนดีที่บ้านเมืองฉี่เขาไม่ต้องการ
                ทำให้เขาเกิดความน้อยใจ  และรู้สึกอัปยศอดสู  ในที่สุดเขาถูกกลั่นแกล้ง  จนเจ้าเมืองฉู่เนรเทศออกจากรัฐ  เป็นเวลาเนิ่นนานกว่า  20  ปี
                ฉู่หยวนหรือคุกง้วนพบว่าการที่บ้านเมืองประสบความพินาศมีเหตุเกิดมาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง  ถ้าจะเรียกตามภาษาปัจจุบันนี้คนไทยเข้าใจคำนี้ได้ดีว่า  การคอรับชั่น  (Corruption)    คือการไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่  การแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบมีทั้งการฉ้อราษฎร์บังหลวง  และเบียดบังของหลวงไปพร้อม ๆ  กัน
                ในสมัยที่ฉู่หยวนเป็นขุนนางอยู่นั้น  เหล่าขุนนางด้วยกันพากันทำทุจริตเป็นทีม  แต่เขาคอยจัดขวางกีดกัน  จึงถูกกลั่นแกล้งและถูกใส่ความ
                ด้วยความหูเบาของเจ้าเมืองฉู่เขาจึงต้องถูกเนรเทศด้วยความอดสูและตรอมใจในที่สุด  เขาจึงไปประโดดน้ำตาย
          แม่น้ำที่เขายอมกระโดดน้ำตายชื่อว่า  หมี่ลั่ว  หรือ  ไหม่โหลย  อยู่ในเขตมณฑลยูนาน

โหงวแซ
(ของคาว 5 อย่าง)
ผลไม้ 5อย่าง
ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543, (14 )

เรือนับร้อยหาศพไม่พบ
          ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า  มีเรือมังกรนับ  100  ลำ  ได้ออกค้นหาร่างของฉู่หยวน  แถมมีผู้คนตีฆ้องเพื่อจะให้มังกรกลัวน้ำ  และคืนร่างของเขาให้กับชาวเรือผู้เสาะหา  แต่ก็เสียเวลาเปล่า  ไม่มีผู้ใดพบศพของเขาเลย  จนกระทั่งบัดน
แสดงความกตัญญู
          ด้วยความดีมีใจสัตย์ซื่อของฉี่หยวน  ชาวบ้านที่รักและนับถือเขาจนเมื่อถึงวันที่  5  เดือน  5  (ตรงกับเดือน  7  ของไทย)  ทุก ๆ  ปีชาวจีนจะประกอบพิธีเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างหรือขนมจ้าง  ลงแม่น้ำลำคลอง  เพื่อเป็นการอุทิศแก่ฝูงปลาและสัตว์น้ำ  เพื่อมิให้ปลาและสัตว์น้ำไปเกาะกินซากศพของเขา
ยึดเป็นประเพณี
                เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของฉี่หยวน  ต่อ ๆ  มาชาวจีนจึงได้ยึดถือเอาวันนี้เป็นประเพณีเทศกาลวันไหว้บ๊ะจ่าง  สืบทอดตลอดมา  เพื่อสืบเจตนาบุญคุณของบรรพบุรุษผู้วายชนม์ไปแล้ว
                อนึ่ง  ขนมจ้าง  หรือ  บ๊ะจ่าง  จะมีชาวจีนทำกินทำไหว้กันทั้งเชื้อสายแต้จิ๋ว  กวางตุ้ง  หรือแคระ  ฯลฯ  เรียกชื่อเหมือนกัน  แต่กรรมวิธีการทำการปรุงต่างกันไปตามรสนิยม
                แต่สูตรสำคัญได้แก่  ข้าวเหนียว  ถั่วลิสง  กุ้งแห้ง  ไข่เค็ม  และชิ้นหมู  จะปรุงรสทั้งหวานและเค็ม  บางเจ้าอาจจะเพิ่มเห็ดหูหนูกับเป่าฮื้อในไส้ด้วย
                กรรมวิธีจะต้องห่อด้วยใบไผ่จากเมืองจีน  แต่ที่ทำกันในเมืองไทยจะใช้ใบอ้อยหรือใบมะพร้าวตามแต่จะหาได้
                การห่อก็จะห่อแบบพันและรัดโดยรอบ  เป็นลักษณะลูกกลม ๆ  เหลี่ยม ๆ  แล้วมัดด้วยตอกให้แน่น  เผื่อกันแตกเวลานึ่ง

 
<<< Previous    Next >>>