ที่มา : ใต้...หรอย มีลุย. 2547,49
พิธีกรรม
พิธีรับเทวดา (รับเทียมดา) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้านหลายอำเภอในจังหวัดปัตตานี เช่น ยะหริ่ง ยะรัง
หนองจิก ปะนาเระ มักกระทำกันในเดือน ๖ โดยมีแนวคิดว่า เมื่อสิ้นเดือน ๕ เริ่มเดือน ๖ ก่อนจะเริ่มทำนาในปีต่อไป ต้องมีการบวงสรวงเทวดาเป็นการขอพรจากเทพเจ้า ให้อำนวยความอุดมสมบูรณ์ในการทำนาในปีนั้น
พิธีกรรมเริ่มในตอนเช้าชาวบ้านจะทำขนมจีน (เหยียบขนมจีน) รวมกันเป็นจุด ๆ เสร็จช่วงบ่ายโมง ก็ให้ลูกหลานนำไป
ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ส่วนคนหนุ่มและผู้เฒ่าที่เป็นผู้ชาย ก็จะเลือกสถานที่ที่จะสร้างศาลเพียงตา สถานที่ไม่แน่นอน
จะกำหนดล่วงหน้าเป็นปี ๆ ไป แต่จะอยู่ในจุดที่เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน หรือสถานที่สำคัญประกอบด้วย
ไม้เสาต้นเล็ก ๆ ๑๖ ต้น ตรงกลางเสายกเป็นมุข ๔ ด้าน คล้ายวิมาน ส่วนประกอบทั้งหมดทำด้วยกาบกล้วย
(ทั้งพื้นและหลังคา)
พอตกค่ำ หนุ่มสาวเฒ่าแก่และเด็ก ๆ จะมาพร้อมกัน เอาขนมจีน ข้าวปลาอาหาร น้ำ ใส่หม้อเพื่อเป็นน้ำมนต์มาตั้งไว้บนศาล ที่พื้นดินก็จะวางของสังเวยด้วย ส่วนหม้อน้ำมนต์จะไม่มีที่พื้นดิน จะวางบนศาลที่เดียวเท่านั้น
พอทุกคนในหมู่บ้านพร้อมกันแล้ว ผู้อาวุโสในพิธีก็จะกล่าวชุมนุมเทวดาและกล่าวสรรเสริญพร้อมทั้งขอพรจากเทพยดาทั้งหลายมาช่วยดลบันดาลให้
้เกิดความสงบสุขในหมู่บ้าน ในการทำไร่ไถนาให้ได้ผลดี มีฝนตกชุกตลอดกาล จากนั้นก็จะให้ทุกคนตั้งจิตอธิษฐานเอาเองว่าจะขอพรอะไรจากเทวดาบ้าง ก็เป็นการเสร็จพิธีในตอนกลางคืน
รุ่งเช้าก็จะมีการถวายอาหารพระภิกษุสงฆ์ ใกล้กับบริเวณที่ตั้งศาลเพียงตา ทำบุญตักบาตรเป็นอันเสร็จพิธีรับเทวดา
ที่มา : ใต้...หรอย มีลุย. 2547,49
  เอกสารอ้างอิง
  ใต้ หรอย มีลุย : บอกเล่าเรื่องราวความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้.  2547. 
  กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 
  รับเทวดา    http://www.prapayneethai.com/th/belief/south/view.asp?id=0743  (เข้าถึง 11 ธันวาคม 2551)
  ศศิประภา จันทรโชตะ. ประเพณีรับเทียมดา ของชาวบ้านหมู่ที่ 5 ต. ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
   http://www.songkhlaculture.com/B3.htm   (เข้าถึง 15 ธันวาคม 2551)
  ศิราณี. สถาบันทักษิณฯ จับมือ ส. การท่องเที่ยวจัดประเพณีรับ "เทียมดา"   http://www.gimyong.com/webboard/index.php?topic=5629.0  (เข้าถึง 15 ธันวาคม 2551)
 
PREVIOUS