ความหมาย ของพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้
เป็นชื่อที่กำหนดโดยมหาเถรสมาคม
หมายถึง การเฉลิมฉลองของชาวพุทธ ในวาระครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า ชยันตี แปลว่า การเฉลิมฉลองชัยชนะ
คำว่า พุทธะ แปลว่า การรู้ ตื่น และ เบิกบาน
คำว่า พุทธชยันตี แปลว่า การเฉลิมฉลองของชาวพุทธ ในชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีเหนือกิเลสและมารทั้งปวงด้วยพระองค์เองจนบรรลุ เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบานด้วยธรรม
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ขณะพระชนมายุ ๓๕ พรรษา แล้วเมตตาสั่งสอนเผยแผ่จนเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษาแล้วจึงเริ่มนับ พ.ศ. ๑ บัดนี้ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ บวก ๔๕ ปีที่ทรงสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนาหลังตรัสรู้ จึงครบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ เกิดพระพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยครบองค์ทั้งพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์แต่นั้นมาควรที่พุทธศาสนิกชนจะได้น้อมนำแบบอย่างแห่งการตรัสรู้ของ พระองค์ มาปฏิบัติบูชาด้วยการเจริญใน ทาน ศีล สมาธิภาวนา และ ปัญญา ตามแบบอย่างและคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อการเอาชนะกิเลสและมารทั้งปวง ทั้งจากภายในตนเองและที่รบกวนจวงากภายนอกท้ังปวง |
||||||||
คำ “พุทธชยันตี” หรือ “สัมพุทธชยันตี” สันนิษบานว่า เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศศรีลังกาช่วงก่อนพุทธศักราช ๒๕๐๐ โดย ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพม่าที่นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติในขณะนั้น ได้จัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ (2500 th Buddha Jayanti Celebration) หรือกึ่งพุทธกาล ด้วยการเชิญชวนชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ประเทศเนปาล สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก และได้ใช้ชื่อ “พุทธชยันตี” ซึ่งเป็นชื่อเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ |
||||||||
ในปัจจุบัน “พุทธชยันตี” ยังหมายถึงชัยชนะของพระพุทธศาสนาและชาวพุทธ เช่น การได้รับเอกราชและมีสิทธิ์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวพุทธในประเทศศรีลังกาเป็นครั้งแรก และยังใช้คำพุทธชยันตีนี้ ในการฉลองครบกึ่งพุทธกาลอีกด้วย |
||||||||
PREVIOUS NEXT | ||||||||