ตำนานวันตรุษจีน

          ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย

          ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก

          เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน
ต่อมา วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า "ตรุษจีน"
(ประวัติความเป็นมา และตำนานวันตรุษจีน http://www.zabzaa.com/event/chinesenewyear.htm)


ตรุษจีนในภูเก็ต
ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน จะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 7 วัน คือ

  • วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์
    • ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก
      • ภาคเช้า เจ้าบ้านเตรียมผลไม้ 3 -7 อย่าง เพื่อสักการะเทพเจ้าทั้งสามแห่งโดยเฉพาะหน้าเตาไฟในครัวเรือนจ้าวฮุ่นกง
  • วันไหว้บรรพชน
    • คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่
      • ทีก้อง หรือ หยกอ๋องซ่งเต และเทพเจ้าทั้งบ้าน บ้านของคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต จะมีป้ายและที่ปักธูปเทียนอยู่ทางซ้ายมือของหน้าบ้าน
      • เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ เทพเจ้าประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงห้องโถ่งของหน้าบ้าน เป็นเทพเจ้าประจำบ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
      • บรรพชน จ้อกง จ้อม่า จ้อกงโป๋ บรพพบุรุษที่ล่วงลับ
      • จ้าวอ๋อง หรือ จ้าวฮุ่นก้อง คือเ เทพเจ้าครัวหรือ เทพเจ้าเตาไฟ
      • โฮ่วเหี่ยวเต่ คือ ไหว้บรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติ
      • หมึงสิน คือ ไหว้เทพเจ้าประจำประตูบ้าน หรือ ทวารบาล บ้าน
    • ช่วงเวลาจะเซ่นไหว้ มี 3 เวลาคือ
      • เวลาเช้า ประมาณ 7 - 8 นาฬิกา ไหว้ทีก้อง เทพเจ้าบ้าน และจ้าวฮุ่นก้อง
      • เวลา ประมาณ 11 นาฬิกา ถึง ก่อนเทียงวัน ไหว้บรรพบุรุษ จ้อกง จ้อม่า และบรรพชน
      • เวลา ประมาณ 15 -16 นาฬิกา ไหว้โฮ่งเฮี่ยวเต่ บรรดาผีไม่มีญาติ
    • เครื่องเซ่นไหว้ตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน
      • เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้
        • ทีก้อง
          • หมูต้ม 1 ชิ้น
          • หมี่เหลืองดิบ
          • ปูต้ม
          • กุ้งต้ม
          • หมึกแห้ง
          • สุราขาวจีน
          • เทียนก้องกิม(กระดาษทองฮกเกี้ยนแผ่นใหญ่)
        • เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ ประจำตระกูล
          • หัวหมู 1 หัว
          • หมี่เหลืองดิบ
          • ปูต้ม
          • กุ้งต้ม
          • หมึกแห้ง
          • สุราขาวจีน
          • ไก่ต้มมีหัว
        • เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง
          • หมี่เหลืองดิบ
          • ปูต้ม
          • กุ้งต้ม
          • หมึกแห้ง
          • สุราขาวจีน
            • อาหารที่ไหว้เสร็จจากช่วงเช้าทุกชนิดนำไปประกอบอาหารเพื่อนไหว้ในช่วง บ่าย และเย็นต่อไป
      • เวลาบ่ายไหว้ จ้อกง จ้อม่า บรรพชน
        • ผลไม้ 3 - 7 ชนิด
        • ขนมหวาน
          • ตี่โก้ย (ขนมเข่ง )
          • ฮวดโก้ย (ขนมถ้วยฟู)
          • อั้งกู้โก้ย (ขนมเต่า)
          • บีโก้ (ข้าวเหนียวดำกวน)
          • แป๊ะทงโก๊
          • ก่าวเตี่ยนโก้ย (ขนมชั้น)
        • อาหารคาว
          • ผัดบังกวน (ผัดมันแกว)
          • โอต้าว (หอยทอดฮกเกี้ยน หารับประทานได้ที่ภูเก็ต)
          • ผัดบีฮุยะ (ข้าวเหนียวผัดกับเลือดหมูและกุ้ยช่าย)
          • ปลาทดมีหัวมีหาง 1 ตัว
          • ต้าวอิ่วบ๊ะ (หมูผัดซีอิ๋ว)
          • ทึ่งบะกู๊ดเกี่ยมฉ่าย (ต้มจืดผักกาดดองซี่โคร่งหมู)
          • แกงเผ็ดไก้ใส่มันฝรั่ง
          • ผัดผัก ประกอบด้วย ซวนน่า กะหล่ำปลี ก่าเป๊ก
          • โปเปี๊ยะสด
          • โลบะ พร้อมน้ำจิ้ม
          • ซำเซ่ง;หง่อเซ่ง (เนื้อสัตว์ 3-5 ชนิด)
          • ข้าวสวย 5 ถ้วย พร้อมตะเกียบ
          • เต๋ (น้ำชา) 5 จอก
          • จุ๊ย (น้ำเปล่า) 1 แก้ว
          • สุราขาว 5 จอก
      • เวลาเย็นไหว้ โฮ่วเฮี่ยวเต่
          • องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)
          • แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)
          • สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)
          • ของไหว้จากช่วงเช้าแล้วแต่เจ้าบ้านจะนำไปทำเป็นอะไร
  • ไหว้วันขึ้นปีใหม่
    • วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเช้าเรียกว่า ป้ายเฉ่งเต๋ ด้วยการนำผลไม่มาไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน
  • วันรับเสด็จจ้าวฮุ่นก้องเทพเจ้าเตาไฟ
    • ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่
      • ผลไม้
      • เต่เหลี่ยว (จันอับ ของฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วจะมีเครื่องประกอบไม่เหมือนกัน)
      • โอต้าว (เพื่อเป็นกาวติดเงินติดทองที่จ้าวฮุ่นก้องนำมาให้จากสวรรค์)
      • น้ำชา
      • กระดาษไหว้เจ้า
  • วันป้ายจ่ายสินเอี้ย หรือ วันไหว้เทพเจ้าไฉสิ่งเอี้ย
    • วันที่ 5 ค่ำ เดือน 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จจากสวรรค์ตามฤกษ์ยามของแต่ละปี เพื่อลงมาประทานโชคลาภ
  • วันป้ายทีก้องแซ ไหว้เทวดา วันปรสูติหยกอ๋องซ่งเต้
    • วันไหว้เทวดา ซึ่งเป็นวันที่สืบเนื่องต่อจากวันตรุษจีนเพียง 8 วัน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เก้าโหง็ย-โช่ยเก้า ถี่ก้งแซ้ซ่ง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเกิดของ หยกอ๋องซ่งเต้ เทพผู้เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ที่ชาวจีนให้ความเคารพบูชาซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ กัน โดยในวันไหว้เทวดาของชาวจีนจะนิยมถือปฏิบัติกันในวันขึ้น 9 ค่ำ และสิ่งที่ขาดมิได้ในวันนั้น คือเครื่องเซ่นไหว้ที่นำมาประกอบในพิธีบูชาเทวดา หยกอ๋องซ่งเต้
      ( ตรุษจีน http://th.wikipedia.org/wiki/ )
 
<<< PREVIOUS      NEXT >>>