ขั้นตอนพิธีการแต่งงานของจีน

1. พูดจาสู่ขอ ในสมัยก่อน การแต่งงานจะถูกจัดเตรียมโดยพ่อแม่และการจัดการของแม่สื่อ หนุ่ม สาวไม่ได้แสดงความคิดเห็น

การแต่งงานจะเริ่มโดยการส่งแม่สื่อไปอีกครอบครัวหนึ่ง เพื่อขอแต่งงาน จากนั้นจึงให้ทั้งสองฝ่ายพบกัน เมื่อเห็นว่าเข้ากันได้ จึงเตรียมงานแต่งงาน การแต่งงานจึงขึ้นอยู่กับคำพูดของแม่สื่อ

2. การส่งของหมั้น เจ้าบ่าวจะส่งของหมั้นให้กับครอบครัวเจ้าสาว เพื่อยืนยันการแต่งงาน รวมไปถึงทองและชุดแต่งงานเจ้าสาวด้วยซึ่งเป็นการแสดงถึงการขอบพระคุณพ่อแม่ของเจ้าสาวที่ยกลูกสาวให้

3. การส่งของหมั้น เจ้าสาวและเจ้าบ่าวในอนาคตจะแลกแหวนกันและแบ่งขนมเค้กให้เพื่อนฝูง และในเหล่าเครือญาตเพื่อเป็นการบอกข่าวการแต่งงานด้วย

4. การแลกเปลี่ยนของขวัญ ฝ่ายเจ้าบ่าวจะให้ของขวัญแก่ฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งของขวัญที่ให้จะมี 6 อย่าง ซึ่งจะมีอะไรก็ได้
ดังรายการนี้ ซองแดง เทียนแดง 2 เล่ม เครื่องทองรูปพรรณ 1 ชิ้น หรือมากกว่า ขาหมู ไวน์ ขนมเปี๊ยะ ขนมเค็ก ผลไม้ดอง ลูกอม ไก่ ชุดเจ้าสาว ผลไม้สด เป็นต้น ของขวัญเหล่านี้จะวางในถาดสีแดง และผู้ที่สูงอายุที่สุดในครอบครัวเจ้าบ่าว จะเป็นผู้นำของขวัญมาให้ และตามธรรมเนียมครอบครัวเจ้าสาวจะมอบ ของขวัญเหล่านั้นกลับคืน

5. การตกแต่งผม วันก่อนแต่งงาน เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องอดทนในการตกแต่งผม เพื่องานนี้ในบ้านของตนเอง
ผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งแต่งงานแล้ว และมีลูกหลานมากมายมาแต่งผมเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้ชีวิตสมรสยืนยาว
มีความเป็นผู้ใหญ่และมีลูกหลานสืบสกุลมากมาย

6.การข้ามประตูเงินประตูทอง เจ้าบ่าวจะถูกขวางโดยเพื่อน ๆ ของเจ้าสาว ที่ทางเข้าบ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องมอบเงินในซองแดงใหญ่ให้เพื่อนเพื่อข้ามไป และเพื่อนเจ้าสาวมีสิทธิ์ต่อรองได้

7. การคำนับฟ้าดิน ในสมัยโบราณเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการคำนับสามครั้ง คือ 1.คำนับฟ้าดิน 2.คำนับพ่อแม่
3. คำนับซึ่งกันและกัน เมื่อคำนับเสร็จแล้วจึงถือว่าได้เข้าพิธีแต่งงาน

8. การยกน้ำชา เมื่อเจ้าบ่าวเจ้าสาวคำนับฟ้าดินแล้ว ก็จะต้องไปบ้านเจ้าบ่าว คู่ บ่าวสาวจะนำน้ำชาไปให้แก่ผู้ใหญ
่ที่บ้านเจ้าบ่าว โดยผู้ใหญ่จะดื่มน้ำชาซึ่งหมายถึงการยอมรับเจ้าสาวเข้าเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว คู่บ่าวสาวจะกลับไปบ้านเจ้าสาว เพื่อนำชาไปให้ผู้ใหญ่
บ้านฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งเจ้าบ่าวจะต้องนำหมูย่าง ผัก ผลไม้ ไปให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะรับไว้ครึ่งหนึ่งอีกครึ่งจะแบ่งให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกลับไป

9. งานเลี้ยงแต่งงาน หลังจากเสร็จพิธีแล้ว ฝ่ายเจ้าบ่าวก็จะเป็นเจ้าภาพในงานเลี้ยงฉลองหลังพิธีแต่งงาน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการดื่ม

เหล้ามงคล แขกที่ได้รับเชิญจะเป็นทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาว และแขกของพวกเขาจะให้ซองแดงแก่เขาเพื่ออวยพร

10.การหยอกล้อในห้องส่งตัว หลังจากพิธีสมรสและงานเลี้ยงเพื่อนสนิทและญาติ ๆ ทั้งหลายจะเข้ามาในห้องส่งตัว เพื่อหยอกล้อคู่บ่าวสาวถือเป็นการอวยพรและตามความเชื่อของจีน จะเชื่อว่ามีวิญญาณสุนัขจิ้งจอกและปีศาจอยุ่ในห้องหอจึงต้องอยู่กันหลายคนเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย

11. การถอดผ้าคลุมหน้า ในสมัยโบราณ เจ้าสาวจะคลุมหน้าด้วยผ้าสีแดงออกจากบ้าน จนเสร็จพิธี เจ้าบ่าวถึงจะเปิดผ้าคลุมหน้าได้

ส่วนเจ้าบ่าวจะใช้ไม้ตาชั่งหรือพัดในการเปิดหน้าออก

12. การดื่มเหล้าแต่งงาน หลังจากส่งตัวเข้าหอ คู่บ่าวสาวจะสลับกันดื่มเหล้าแต่งงาน โดยจะดื่มของตนเพียงครึ่งแก้วแล้วจะสลับ

กันดื่มอีกครั้งหนึ่ง

13.การผูกปมผม เป็นพิธีที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์ซ่งและถึง หลังจากคู่บ่าวสาวดื่มเหล้ากัน พวกเขาจะตัดปมผูกออกและนำมาผูกกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการรวมเป็นหัวใจเดียวกัน

14. การกลับไปเยี่ยมบ้านเจ้าสาว หลังจากแต่งงานแล้วสามวัน เจ็ดวัน หรือเก้าวัน ลูกเขยก็จะกลับไปเยี่ยมบ้านฝ่ายหญิงด้วยกัน
( พิธีแต่งงานแบบประเพณีจีน   www.lalitaflorist.com )
การเชิญแขก
                เมื่อกำหนดวันแต่งงานแน่นอนแล้ว  ก่อนวันนั้นการเชื้อเชิญแขกเหรื่อ  ถ้าเป็นคนจีนเขาจะเชิญแขกที่เป็นญาติพี่น้องกันก่อนแล้วเชิญแขกที่เคยมักคุ้นสนิทสนมกัน  ข้าวของที่นำไปเชิญจะมี
                1. การ์ด  หรือ  บัตรเชิญ  พิมพ์ด้วยกระดาษสีแดง  ซึ่งถือว่าเป็นสีเกิดสิริมงคลมีอักษรตัวโต ๆ  ระบุว่า  “มงคล”  เพื่อให้อยู่เป็นคู่ผัวตัวเมียให้ยั่งยืนยาวนาน
                2.  ขนมคู่  กับ  บัตรเชิญ  จะมีขนาดถั่วตัด  ขนมไพ่  ขนมข้าวพอง  และขนมเปี้ยะ ฯลฯ  ขนมเหล่านี้จะมีปะปนไปด้วยถั่วลิสง  งาดำ  งาขาว  ซึ่งชาวจีนถือว่ามีเมล็ดมาก  ปลูกขึ้นง่าย  อวยพรให้คู่สมรสมีลูกเต็มบ้านหลบานเต็มเมือง
                เพราะชาวจีนไม่กลัวในเรื่องมีลูกมาก ๆ  จุได้ช่วยกันทำมาหากิน  แต่คนไทยมักชอบมีลูกน้อย ๆ  หากมีลูกมากเกรงว่าจะยากจน  เพราะหาเลี้ยงไม่ไหว

                                ขันหมาก
                เมื่อถึงวันแต่งจะดูตามฤกษ์งามยามดี  ที่โหรหรือซินแสกำหนดให้  ทั้งคนไทยและคนจีนถือโชคลางพอ ๆ  กัน
                บรรดาขันหมากมักจะจัดเป็นพานบ้าง  ถาดบ้าง  ที่สำคัญของมีค่าให้ผู้ใหญ่  ส่วนพานอื่น ๆ  จะใช้สาว ๆ  ถือ  เช่นถาดหรือพานใส่ผลหมากรายไม้  ได้แก่กล้วย  อ้อย  ขนมแห้ง  และผลไม้อื่น ๆ  ตามฤดูกาล  รวมทั้งหมากพลู  ถ้าเป็นธรรมเนียมไทย
                ส่วนขันหมากคนจีนมักนิยมใส่ผลส้มเช้ง  โดยจะมีอักษรจีนซังฮี้บนผลส้มทุก ๆ  ลูก  แต่ต้องจัดให้เป็นชุด  และให้ลงเป็นจำนวนเลขคู่อยู่เสมอ ๆ  เพราะพิธีสมรสเป็นการใช้ชีวิตคู่จึงต้องจัดเป็นคู่
                สำหรับถาดหรือขนมของพิธีชาวจีน  นิยมใช้ขนมมีสี  4  สีบ้าง  5  สีบ้าง  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นขนมถั่วตัด  ขนมเหนียวเคลือบงาขาว  งาดำ  และขนมข้าวพองเป็นพื้น  หรือขนมปัง-คุกกี้  กล้วยทั้งเครือ  เฉพาะเครือที่กำลังแก่มีสีเกือบสุกหรือเก็บไว้วันสองวันกินได้เลย เป็นการถือเคล็ดว่าประสงค์ให้คู่สมรสมีลูกหลานว่านเครือ  ไว้สืบสกุลมาก ๆ  ดุจเครือกล้วยนั้น

 

 

         

                                      กิมทึ้ง 2 ห่อ ของวันหมั้น และแต่งงาน                                                                         แตกเสี่ย 1 หาบ

ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543,(3)

         
                          
        ชุนเช้า 2 ต้น                                                           กล้วยทั้งเครือ                                             ใบทับทิมและยู่อี
ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543,(1)
 
<<< PREVIOUS      NEXT >>>