กล่าวกันว่าเรื่องของประเพณีการแต่งงานนั้น นอกจากพิธีการแต่งงานแบบไทยที่มีความงดงาม และคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว ยังมีประเพณีการแต่งงานแบบจีนที่เป็นพิธีการแต่งงานที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไทย และมีความหมายอันงดงามซ่อนอยู่ในทุกรายละเอียดอย่างน่าสนใจใคร่รู้ไม่น้อยเช่นกัน
          ความงดงามในขั้นตอนพิธีการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพิธีการแต่งงานแบบจีนนั้น เริ่มจากการจัดเครื่องขันหมาก และสิ่งของที่ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องจัดเตรียมให้ครบครัน เพื่อการเข้าพิธีวิวาห์แบบจีนที่สมบูรณ์แบบ
    
             
  เอี้ยม 1 คู่                                                                 ซาลาเปาใหญ่
ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543,(1)


 สิ่งที่เจ้าบ่าวต้องเตรียม
          นอกจากสินสอดทองหมั้นที่รู้กันดีอยู่แล้ว เจ้าบ่าวในพิธีจีนจะต้องเตรียมเครื่องขันหมาก ซึ่งจะเป็นอะไรนั้น โดยทั่วไปนิยมดังนี้...

1.        ส้มเช้งผลเขียวๆ ติดตัวอักษรจีน "ซังฮี่" แปลว่า คู่ยินดี ไว้ทุกผล จัดเป็นเลขคู่จะ 44 ผลหรือ 84 ผล หรือร้อยกว่าผลก็ได้
2.      ชุดหมูสด เช่น ขาหมู ตับหมู กระเพาะหมูสดๆ หรือฝ่ายเจ้าบ่าวอาจนำเงินใส่ของ หน้าซองเขียนว่า ใช้ซื้อขาหมู ซื้อกระเพาะหมู แทนก็ได้ ชุดหมู เท่าที่พบจะมีประมาณ 3 ถาด
     ถาดที่1: เป็นชุดหัวหมูพร้อม4 เท้าและหาง โดยเล็บเท้าต้องตัดเรียบร้อยติดตัวหนังสือซังฮี่
     ถาดที่2: เป็นถาดขาหมูสดติดตัวซังฮี่เช่นเดียวกัน
     ถาดที่3: เป็น" โต้วเตี้ยบะ" เท่านั้น คือเป็นเนื้อหมูตรงส่วนท้องของแม่หมู เพื่ออวยพรให้เจ้าสาวได้เป็นแม่คน แม่ทีอุ้มท้องเพื่อให้กำเนิด        บุตรแก่ฝ่ายชาย
และมีธรรมเนียมว่าทางฝ่ายหญิง ก็ต้องให้ชุดหมูสดตอบแทนแก่ฝ่ายชาย แต่ชุดหมูของฝ่ายหญิงจะเป็นชุดหัวใจหมูที่ต้องสั่งพ่อค้าเป็นพิเศษกว่าเป็นชุดหัวใจทั้งยวงที่ยังมีปอดและตับติดอยุ่ด้วยกัน เมื่อเสร็จพิธี ชุดหัวใจนี้อาจทำได้เป็น 2 แบบ
     - แบบ1: คือ ฝ่ายหญิงแบ่งชุดหัวใจให้ฝ่ายชายไปครึ่งหนึ่ง
     - แบบ2: คือ เอาชุดหัวใจนี้ไปประกอบอาหารให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวรับประทานร่วมกัน เพื่อเป็นเคล็ดอวยพรให้หญิงชายมีจิตใจร่วมกันเป็นใจหนึ่งใจเดียวกัน
3.      แต่ของสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือขนมขันหมากหรือขนมแต่งงาน ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้กำหนดทั้งชนิดและจำนวน การกำหนดชนิดเป็นขนมสี จะใช้ 4 สีเรียกว่า "ซี้เส็กหม่วยเจี๊ยะ" หรือ 5 สีเรียกว่า "โหงวเส็กทึ้ง" ก็ได้ สำหรับแจกให้กับเหล่าญาติๆ เช่น ขนมเหนียวเคลือบงา ขนมเปี๊ยะ ขนมถั่วตัด ขนมข้าวพองทุบ และขนมโก๋อ่อน นอกจากนี้บางบ้านอาจขอให้มีน้ำตาลทราย, ซาลาเปาไส้หวาน, และคุกกี้กระป๋องด้วยโดยจำนวนของขนมแต่งงานและคุกกี้กระป๋อง ฝ่ายหญิงมักกำหนดจำนวน โดยนับจากจำนวนของญาติมิตรที่จะเชิญ มีคำเรียกการให้ขนมแต่งงานแก่ญาติมิตรว่า "สั่งเปี้ย" สั่ง หรือ ซั้ง แปลว่า ให้ เปี้ย แปลว่า ขนม ในที่นี้หมายถึงขนมหมั้นหรือขนมแต่งงาน เดี๋ยวนี้มักจะใส่คุกกี้กระป๋องเพิ่มมาด้วย ถ้าคนในบ้านหรือลูก ๆ หลาน ๆ ชอบรับประทาน การเตรียม "ขนมขันหมาก" ซึ่งเป็นขนมและผลไม้ต่างๆมามอบให้ครอบครัวเจ้าสาวก่อนวันงานจะต้องติดกระดาษแดงเป็นตัวอักษรภาษาจีนที่แปลเป็นไทยว่า "ความสุขยกกำลังสอง"
4.      ซองเงิน 4 ซอง ที่พ่อแม่ของเจ้าบ่าวจะต้องให้กับพ่อแม่ของเจ้าสาว เพื่อเป็นค่าตัวทำผม แต่งหน้า ซองที่ 1 เป็นค่าน้ำนม ซองที่ 2 เป็นค่าเสื้อผ้า ซองที่ 3 เป็นคำทำผม แต่งหน้า และซองที่ 4 เป็นทุนตั้งตัว
5.      สินสอดทองหมั้น (เพ้งกิม) เพ้ง คือ เงินสินสอด แล้วแต่ฝ่ายหญิงจะเรียกร้อง แต่ถ้าเจ้าสาวยังมีอากง อาม่าหรือปู่ย่าอยู่ ฝ่ายชายต้องจัดเงินอั้งเปาอีกก้อนหนึ่งให้เป็นพิเศษ ด้วยพร้อมชุดหมู 1 ชุดอีกต่างหาก โดยพ่อแม่เจ้าสาวจะเป็นผู้รับขึ้นมา กิม คือ ทอง แล้วแต่ฝ่ายหญิงจะเรียกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าจะพิถีพิถันก็อาจขอเป็น "สี่เอี่ยกิม" แปลว่าทอง 4 อย่าง เพราะเลข 4 เป็นเลขดีของคนจีน ทอง 4 อย่าง เช่น กำไลทอง สร้อยคอทองคำ ตุ้มหูทอง เข็มขัดทอง ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความปรานีของพ่อแม่เจ้าสาวว่าจะคืนให้คู่บ่าวสาวเอาไว้ใช้เริ่มต้นชีวิตคู่หรือไม่ 
6.      กล้วย ต้องยกมาทั้งเครือเขียว ๆ ถ้าได้จำนวนหวีเป็นเลขคู่ยิ่งดี แล้วนับจำนวนให้ลงเลขคู่ ถ้าได้ลูกแฝดด้วยก็จะดีมาก เวลาใช้ให้เอากระดาษแดงพันก้านเครือและติดตัวหนังสือ "ซังฮี่" บนเครือกล้วย และทาสีแดงบนลูกกล้วยทุกใบ และฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้เอากลับ เมื่อพิธีสู่ขอเสร็จแล้ว กล้วยเป็นผลไม้ที่มี 2 นัยมงคล นอกจากจะมีความหมายให้มีลูกหลานสืบสกุลแล้ว ยังหมายถึง “ดึงสิ่งดี ๆ ให้มาเป็นของเรา ซัง แปลว่า คู่ ฮี่ แปลว่า ยินดี ซังฮี่ จึงแปลว่า ความยินดีของหญิงชายคู่หนึ่ง ซึ่งก็คือคู่บ่าวสาวนั่นเอง” กล้วยนี้บางครั้งฝ่ายเจ้าสาวจะเป็นผู้เตรียมมามอบให้

7.      อ้อย : อ้อย 1 คู่ ยกมาทั้งต้น เพื่ออวยพรให้ชีวิตคู่หวานชื่น แต่บางบ้านไม่เอา เพราะเป็นความหวานที่กินยากต้องทั้งปอกทั้งแทะ
8.       ของเซ่นไหว้ที่บ้านเจ้าสาว ฝ่ายชายต้องเตรียมของไหว้ 2 ชุด - ชุด1: สำหรับไหว้เจ้าที่ และ ชุด2: สำหรับไหว้บรรพบุรุษ การจัดเตรียมของไหว้ที่ครบถ้วน จะต้องมีทั้งของคาว ขนมไหว้ ผลไม้ไหว้ เหล้า อาหาร 10 อย่าง ธูปเทียนดอกไม้ และมีของไหว้พิเศษ คือเส้นหมี่ เพื่ออวยพรให้ชีวิตคู่ยืนยาว โดยฝ่ายชายอาจจะให้ซองมาและให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดให้เนื่องจากแต่ละบ้านจะจัดของไหว้ ไม่เหมือนกัน

 
 สิ่งที่เจ้าสาวต้องเตรียม
      สำหรับเจ้าสาวในการเตรียมของเพื่ออกเรือนจะมีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ซึ่งจะต้องเป็นสีแดง หรือสีชมพูเท่านั้นเริ่มจาก

1.        เอี๊ยมแต่งงานซึ่งเป็นเอี๊ยมสีแดง เพื่อให้รู้ว่าเป็นเมียเอกนะ เจ้าสาวบางรายที่มีฐานะดีๆ สายคล้องคอเอี๊ยมก็จะเป็นสร้อยทอง ถ้ารวยจริงก็ใช้ทองจริงนิยมเป็นทองหนัก 4 บาท เพราะถือเคล็ดเลข 4 เป็นเลขดี ตรงอกเสื้อเอี๊ยมมี ปักลายอักษรซังฮี่ หรือคู่ยินดีและปักตัวหนังสือ 4 คำ "แป๊ะนี้ไห่เล่า" แปลว่า อยู่กินกันจนถึงร้อยปี พร้อมด้วยลวดลายมังกรและหงส์ ซึ่งลายนี้มีชื่อเรียกว่า "เล้งหงกิ๊กเซี้ยง" ให้ความหมายว่า ถึงเวลาแห่งความสุขและความรุ่งเรืองที่กำลังมาหา ขอให้คู่สมรสได้พบแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิตใหม่ คือชีวิตคู่ของการอยู่ร่วมกันบนเอี๊ยมมีกระเป๋าให้ใส่ " โหงวเจ๊งจี้ หรือ โหงวอิ๊กอี้" หรือเมล็ดธัญพืช 5 ชนิด มีความหมายว่าเจริญงอกงาม คือ ข้าวเปลือกข้าวสาร ถั่วเขียว สาคู ถั่วดำห่อใส่กระดาษแดงอวยพรให้สามีภรรยา และลูกของตระกูลได้งอกงามรุ่งเรืองพร้อมทั้งใส่เหรียญทองลายมัง กร เรียกว่า เหรียญกิมเล้ง เพื่ออวยพรให้ร่ำรวย บางบ้านอาจมีใส่เงินทอง เพิ่มเข้าไปด้วย
2.      ต้นชุงเฉ้าหรือต้นเมียหลวง 2 ต้น ไว้สำหรับนำไปปลูกที่บ้านเจ้าบ่าว หน้าตาคล้ายต้นกุยช่าย คนจีนถือเป็นต้นไม้มงคลหมายถึงเกียรติ
3.      ปากกระเป๋าเอี๊ยมให้เสียบ "ปิ่นทองยู่อี่" ไว้ให้หมายความว่า ทุกเรื่องให้สมปรารถนา ในวันส่งตัวฝ่ายชายต้องเอาปิ่นยู่อี่มาคืน เพื่อให้เจ้าสาวได้ติดผมตอนส่งตัว เสียบไว้ให้ปลายโผล่พ้นขอบกระเป๋าขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเชือกแดงสำหรับผูกเอี๊ยม มีตัวหนังสือ "ซังอี้"  แปลว่าคู่ยินดี มีแผ่นหัวใจสีแดงสำหรับติดเรื่องประดับทอง เครื่องประดับเพชร ซึ่งจะมีมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าสาว 
4.      กะละมังลายนกคู่ สีแดง 2 ใบ ถังน้ำสีแดง 2 ใบ กระป๋องน้ำสีแดง 2 ใบ กระโถน 1 ใบ ข้าวของเครื่องใช้
5.      กาตอเฉียะ (ไม้วัดและกรรไกรตัดผ้า) กระจก ด้าย เข็ม ถาดสีแดง เพื่อให้รู้ว่าเจ้าสาวเป็นคนเย็บปักถักร้อยเก่ง
6.      ของที่ต้องจัดเป็นจำนวนคู่ อย่างตะเกียบ ชุดน้ำชา พัดแดง สำหรับเจ้าสาวถือตอนส่งตัว
7.      ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม 1 ผืน หมอนปักรูปหงส์มังกร 1 ชุด ซึ่งจะมี 4 ใบหรือ 5 ใบก็ได้ ประกอบไปด้วยหมอนข้าง 1 คู่ หมอนหนุน 1 คู่ หมอนหนุนใบยาว 1 ใบ ซึ่งหมอนใบยาวนี้จะมีหรือไม่ก็ได้
8.       ถ้าเจ้าสาวฐานะดี พ่อแม่อาจจะจัดเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้ด้วย เช่น ทีวีจอยักษ์ ตู้เย็น จักรเย็บผ้า ฯ
9.       หวีอีก 4 เล่มที่เป็นเคล็ดมงคลตามภาษาจีนเขียนว่า "ซี้ซี้อู่หอชิว" หมายถึงทุกๆ เวลาจะได้มีทรัพย์
10.    กระเป๋าเดินทาง
11.      เซฟใส่เครื่องประดับ
12.    ไข่สีแดง 1 ถาด จัดเป็นเลขคู่ บางบ้านเตรียม 24 ลูก เพื่ออวยพรเป็นนัยว่าเจ้าสาวจะไปให้กำเนิดลูกหลานมาก ๆ หรือเผือก บางบ้านไม่นิยมไข่ ก็จัดเป็นเผือก คนจีนเรียก "โอวเท้า " หมายถึงความสมบูรณ์ นิยมจัดเป็นเลขคู่
13.    โอวเต่ากิ๊ว คือ ขนมถั่วดำคลุกน้ำตาล มีแซมข้าวพองสีแดงทำเป็นลูกกลมๆ ที่ร้านขนมบอกว่า นิยมใช้ 14 ลูก หรือ 7 คู่ หรือ 17 คู่ หรือ 34 ลูก
14.    ส้มเช้ง ติดตัวซังฮี่ 1 ถาดใหญ่ มีจำนวนส้มเป็นเลขคู่ บางบ้านมีจัดส้มสีทองปนไป 4 ลูกด้วย
15.    ลำไยแห้งและใบทับทิมสำหรับตกแต่งเครื่องขันหมากที่มอบให้ฝ ่ายชายนำกลับลำไยแห้งสื่อความหมายถึงความหอมหวาน ส่วนใบทับทิม เตรียมไว้มาก ๆ แล้วนำมาแบ่งใส่ประดับในของทุกถาดที่ฝ่ายชายจะต้องยกกลับ ใบทับทิม เป็นใบไม้มงคลเป็นเคล็ดว่าให้มีโชค
16.    เม็ดสาคู เอาไว้โรยในของต่างๆ เป็นเคล็ดอวยพร สาคูเม็ดกลม ๆ คู่บ่าวสาวกลมเกลียวกัน

 


         
        
ส้มเช้ง ติดซังฮี้ และแหวนหมั้น 2 วง                     ใบทับทิมและเซี่ยงเช่า-ยู่อี่ ไว้ปักผมเจ้าสาว                          เต็กเซีย กิ๋มทึ้ง ขาหมู ชี่เช็กทึ้ง
ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543,(2)

สิ่งที่ต้องปฏิบัติใน "วันยกขันหมาก"
          เมื่อถึงวันยกขันหมาก เจ้าบ่าวจะยกขันหมากมาที่บ้านเจ้าสาว มอบสินสอดทองหมั้น และเครื่องขันหมากที่เตรียมมาให้ ฝ่ายเจ้าสาวต้องเก็บขนมแต่งไว้ครึ่งหนึ่ง และส่งอีกครึ่งหนึ่งคืนให้ฝ่ายเจ้าบ่าว พร้อมส้มเช้งที่ติดตัวอักษร "ซังอี่" จัดเป็นจำนวนผลคู่ กับเอี๊ยมแดงที่มีปิ่นทองเสียบอยู่ ในเช้าวันที่เจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำปิ่นทองมามอบให้เจ้าสาวใช้ติดผมก่อนออกจากบ้าน นอกจากส้มเช้งแล้วฝ่ายเจ้าสาวจะให้กล้วยทั้งเครือกับฝ่ายเจ้าบ่าวเพิ่มไป ด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่าจะได้มีลูกหลานว่านเครือสืบสกุล
          เนื่องจากเครื่องขันหมากสำหรับหมั้นและสำหรับแต่งนิยมจัดหมือนกัน ดังนั้นในวันยกขันหมากอาจจะจัดให้มีพิธีหมั้นด้วยก็ได้ โดยมีธรรมเนียมว่าวันหมั้นฝ่ายหญิงเป็นผู้รับภาระเรื่องการเลี้ยงหมั้น แล้ววันเลี้ยงวันแต่งงานเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย ซึ่งข้อกำหนดนี้ปรับเปลี่ยนได้ตามฐานะของทั้งสองฝ่าย หลังจากพิธีหมั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องนำของที่เจ้าสาวมอบให้ทั้งหมดยกเว้น กล้วย 1 เครือ นำมาวางไว้ที่หัวเตียงในห้องหอ และต้องนอนในห้องหอจนกว่าจะถึงวันแต่งงาน และไปรับเจ้าสาวมาอยู่ด้วยกัน

                                             
 
 
 
<<< PREVIOUS      NEXT >>>