๒. ด้านการส่งเสริมการสืบทอดศิลปกรรมไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมสนับสนุนการสืบ
ทอดศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้านสถาปัตยกรรม
 ประติมากรรม  จิตรกรรม  และนาฏศิลป์
    ด้านสถาปัตยกรรม  เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์  หรือสร้างศาสนา
แทนของเดิมหรือสร้างขึ้นมาใหม่  จะพระราชทานแนวทางพระราชดำริ
ให้รักษารูปแบบที่แสดงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยเอาไว้
หรือออกแบบให้กลมกลืนกับของเดิม  และคำนึงถึงประโยชน์
การใช้สอยด้วย  ดังเช่น  การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามหลวงต่าง ๆ
 หรือการสร้างวัดพระราม  ๙  กาญจนาภิเษก
   ด้านประติมากรรม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ  ให้สร้าง  พระพุทธรูปหลายองค์ที่มีลักษณะแนวไทยประเพณี
  เช่น  พระพุทธรูปปางประทานพร  ภปร.  พระพุทธนวราชบพิตร
               

  ที่มา :สายไหม จบกลศึก. 2551,6

ด้านจิตรกรรม  จะเห็นได้จากจิตรกรรมฝาผนัง  ณ  พระพุทธรัตนสถาน  ซึ่งตั้งอยู่ที่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางของพระบรมราชวังโดยโปรดเกล้าฯ  ให้กรมศิลปากรคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้เมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๐๔  เพื่ออนุรักษ์ไว้และติดตั้งใหม่ในที่ ๆ  เหมาะสมนอกจากนี้  เมื่อทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องพระมหาชนกแล้วเสร็จ  ก็ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้จิตรกรหลายคนช่วยกันวาดภาพประกอบโดยมีลักษณะเป็นภาพแนวไทยประเพณี

   

ด้านนาฏศิลป์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในด้าน
นาฏศิลป์ไทยตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  ทรงพระกรุณาเสด็จฯ  ไปทอดพระเนตรการแสดง
โขนละครของกรมศิลปากรหลายครั้งหลายหน  มีพระบรมราชวินิจฉัยและพระบรมราโชวาท
เกี่ยวกับการแสดงแทบทุกครั้งที่มีการแสดงถวายในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
 ณ  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  และเมื่อกรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างโรงละครแห่งชาติ
แล้วเสร็จก็ทรงพระกรุณาเสด็จฯ  ไปทรงเปิดโรงละครแห่งชาติ  เมื่อวันที่  ๒๓  ธันวาคม
 พ.ศ.  ๒๕๐๘  ทั้งยังทรงส่งเสริมให้พระราชโอรสและพระราชธิดาฝึกหัดโขนละคร
ขณะทรงศึกษา  ณ  โรงเรียนจิตรลดา
                พระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมสนับสนุนการสืบทอดนาฏศิลป์ที่สำคัญยิ่ง
อีกประการหนึ่ง  คือ  โปรดเกล้าฯ  ให้มีพิธีครอบครูโขนละคร  และพิธีต่อรำเพลงหน้าพาทย์
องค์พระพิราพ  ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสืบทอดศิลปะการแสดงของไทย

                           
   
PREVIOUS        NEXT