๓. ด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงปลูกฝังพระโอรสและพระธิดา
ให้ทรงตระหนักในความสำคัญของภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติ
มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาส
ราชนครินทร์  ทรงเล่าถึงเรื่องการใช้ภาษาไทยในการสนทนา
ภายในครอบครัวว่า
     “เมื่อตอนไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ใหม่ ๆ  เราจะภาษาไทยกัน
 เมื่อพูดภาษาฝรั่งเศสได้กล่องแล้ว  พี่น้องทั้งสามคนจะพูด
ภาษาฝรั่งเศสด้วยกัน  แต่จะพูดภาษาไทยกับแม่เสมอไป” 
ด้วยเหตุนี้  แม้ว่าจะประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เป็นเวลาหลายปีแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงใช้
ภาษาไทยได้ดี  ทั้งยังทรงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริม
ภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติเป็นอย่างดี  ดังพระราชดำรัส
ที่พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ ว่า
“...เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองมาแต่โบราณ  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้...”      
“...ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว...”

                  ที่มา : รื่นฤทัย สัจจพันธ์. 2553,4
                        
     "การรู้ภาษาและอ่านเขียนได้นี้เป็นประโยชน์มาก ประการหนึ่ง ทำให้มีความสะดวก
ในการติดต่อ เช่น ติดต่อการงานกับทางราชการ หรือติดต่อประสานกับผู้ที่มาปฏิบัติงาน
พัฒนาต่างๆ ซึ่งถ้าติดต่อพูดจากันได้ไม่ติดขัด ก็จะมีความเข้าอกเข้าใจกัน
 และสามารถร่วมมือกันทำงานสร้างความสุขความเจริญให้เกิดขึ้นได้ อีกประการหนึ่ง
 การอ่านเขียนหนังสือได้จะช่วยให้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่างๆ
 ได้มากมาย และความรู้ความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในทางสร้างสรรค์
ให้เกิด ประโยชน์ตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภาษายังเป็นปัจจัยสำคัญ
อย่างยิ่งในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด รวมทั้งคุณธรรมความดีทุกอย่าง"
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ผู้นำศาสนาอิสลาม (อิหม่าม) ในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ และผู้แทนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตการศึกษา ๒ วันพฤหัสบดีที
่ ๒๔
กันยายน ๒๕๓o   ที่มา : รักในหลวง ห่วงภาษาไทย: 2544,10

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำเนินทรงร่วมอภิปรายเรื่อง  “ปัญหาการใช้คำไทย”
 ซึ่งชุมนุมภาษาไทย  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเมื่อวันที่  ๙
 กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๐๔  ณ ตึกอักษรศาสตร์  พระราชดำรัสที่พระราชทานในวันนั้น
แสดงให้เห็นว่า  พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องของภาษาไทยขึ้นและมีพระบรม
ราชาธิบายว่า  ภาษาไทยทั้งหลายมีความสำคัญ  เพราะว่า  “เป็นเครื่องมือของมนุษย์
ชนิดหนึ่ง  คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง  เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง
  เช่น  ในทางวรรณคดี  เป็นต้น”
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในธรรมชาติของภาษาซึ่งย่อมมีการ
เปลี่ยนแปลง  ทรงตั้งข้อสังเกตว่า  ภาษาไทยหรือภาษาทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
นั้นเป็นภาษาที่มีชีวิต  ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและจากการที่ได้เสด็จฯ  ไป
ในท้องที่ต่าง ๆ  ทั่วประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน  จึงทรงตระหนักในความสำคัญ
ของการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น  ตลอดจนการสืบทอดและการศึกษา
ภาษาท้องถิ่น  มีแนวพระราชดำริว่า  ภาษาถิ่นก็มีความสำคัญ  ต้องส่งเสริมรักษาไว้ 
เพราะเป็นภาษาดั้งเดิมมากกว่าภาษากรุงเทพฯ  ภาษาถิ่นช่วยในการศึกษา
ความเป็นมาของภาษไทย

                  

       การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมอภิปราย  ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในครั้งนั้นเป็นเหตุให้เกิดการตื่นตัวในการทำนุบำรุงภาษาไทย  คณะกรรมการรณรงค์
เพื่อภาษาไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จึงเสนอแนะคณะรัฐมนตรีให้กำหนด
วันที่  ๒๙  กรกฎาคมของทุกปี  เป็น  “...วันภาษาไทยแห่งชาติ” 
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่  ๑๓  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๒
      แม้ว่าจะมีพระราชกรณียกิจมากมายหลายด้าน  แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ก็ทรงใช้เวลาว่างวันละเล็กวันละน้อยทรงพระราชนิพนธ์  และทรงแปลหนังสือขึ้นหลายเรื่อง
  พระราชนิพนธ์ที่สำคัญคือ
   - พระราชนิพนธ์ที่แปลเป็นหนังสือได้แก่  เรื่อง  นายอินทร์ผู้ปิดทองหนังพระทรงแปล
จากเรื่อง  A man called Intrepid by William Stevenson  เรื่อง  ติโต  ทรงแปล
จากเรื่อง  Tito  ของ  Phyllis Auty
   - พระราชนิพนธ์เรื่อ  พระมหาชนก ซึ่งทรงเรียบเรียงเป็นภาษาไทย
  และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย  และพระราชนิพนธ์เรื่องทองแดง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิถีพิถันการใช้ภาษาไทยในพระราชนิพนธ์ทุกเรื่อง
  ทรงใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีความกะทัดรัดแจ่มกระจ่าง  และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน

       
                                                        PREVIOUS      NEXT