๓) พระราชพิธีซึ่งสืบทอดประเพณีปฏิบัติตามความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ เพื่อความมั่นคง เป็นสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่ราษฎร |
|
|
๓.๑) พระราชพิธีสมโภชหลักเมืองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักในความหมาย
และความสำคัญของคติความเชื่อเรื่องหลักเมืองที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
ในขณะเดียวกันก็ทรงเตือนสติว่าประชาชนที่ยึดมั่นในการประกอบความดีด้วยจึงจะช่วยให้เกิด
ความมั่นคงและความเจริญของประชาชน ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่
คณะกรรมการสร้างศาลหลักเมืองบางจังหวัด ซึ่งเข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวาย
ยอดหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม ความตอนหนึ่งว่า
“หลักเมืองนี้ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจไม่ว่าหมู่ใดคณะใด ถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียว
และทำให้มีกำลังใจขึ้นมานั่นเอง ทุกสมัยและโดยเฉพาะปัจจุบันนี้กำลังใจ
และสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน จะเป็นผุ้ที่มีหน้าที่ในด้านใดก็ตาม ทั้งราชการ
ทั้งเอกชนทั้งผู้ที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ต้องมีที่ยึดเหนี่ยวในด้านจิตใจทั้งนั้น
เพราะเหตุว่าสถานการณ์หรือสภาพบ้านเมือง ทั้งตนเอง ย่อมต้องมีสิ่งที่น่าวิตกอยู่เสมอ” |
|
๓.๒) พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้หล่อเป็นรูปสมมติเทพยดา สำหรับการบูชา
เพื่อให้บ้านเมืองมั่นคงปลอดภัยและเจริญรุ่งเรือง
พระราชพิธีนี้จัดทำเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔
สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน มีการประกอบพระราชพิธีถวาย
สักการะพระสยามเทวาธิราชและเทวดาต่าง ๆ ณ พระที่นั่ง
ไพศาลทักษิณในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี |
|
๓.๓) พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หมายถึง พระราชพิธีอันเป็นมงคล
แห่งความซื่อสัตย์ที่ใช้น้ำเป็นเครื่องกำหนด เป็นพระราชพิธี
ที่มีความสำคัญในด้านการปกครองสืบทอดมาแต่สมัยอยุธยา
เดิมมีแต่พิธีพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ร่วมกับพิธีพราหมณ์
|
และเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดบางอย่าง โดยกำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า
และข้าราชการ ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์ ภายในพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ร่วมเสวย
น้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่มีการจัด
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาอีกจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีถือน้ำ
พระพิพัฒน์สัตยา ผนวกเข้ากับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชิสริยาภรณ์
อันมีศักดิ์รามาธิบดี โดยกำหนดเฉพาะผู้เป็นสมาชิกเครื่องราชดิสริยาภรณ์
อันมีศักดิ์รามาธิบดีเท่านั้นที่ต้องดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|