“บัว”  กับวิถีไทย

 
 
 

ที่มา : ภูรินทร์ อัครกุลธร. 2553,17

บัวเป็นไม้มงคล  เป็นทั้งอาหารกายและอาหารใจอาหารกายได้กล่าวมาแล้วใน 
“บัว”  เป็นพืชปัจจัยสี่
  ส่วนบัวเป็นอาหารใจ  ความหมายคือ  บัวเป็นราชินีแห่งดไม้น้ำ 
มีสีหลากหลาย  สวยงาม  (มี  ๙  สี  แดง  ขาว  ชมพู  เหลือง  แสด  ม่วงแดง  ม่วงน้ำเงิน 
ฟ้าคราม  และสีเหลือง)  และดอกบัวมีกลิ่นหอม  ทำให้ชวนดม  ชื่นใจอีกประการหนึ่ง 
ใบบัวมีความหลากหลาย  เช่นใบสีเขียว  สีแดงน้ำตาล  ใบลายกระ  ใบลายพราง 
ทำให้นาพิศวงชวนชมมากขึ้น  ดอกบัวบานและก็หุบได้หากเป็นกลุ่มบัวบานกลางวัน 
เช้ามาก็บาน  เย็นก็หุบกลุ่มบัวบานกลางคืน  ค่ำมาก็บาน  เช้ามาสาย ๆ  ก็หุบอยู่อย่างนี้
 ๓-๔  วัน  (บัวบานแล้วก็หุบอยู่อย่างนี้  ๓-๔  วัน  แต่บุคคลใดมาชมความงามของดอกบัว
แล้วหัวใจจะบานไม่รู้หุบ)
“บัว”  กับพระพุทธศาสนา
                พูดถึงคนในแถบเอเชียที่นับถือศาสนาพุทธเรารู้จักบัวมากว่า  ๒,๕00  ปีแล้ว
  เพราะพระพุทธเจ้าประสูติมาและย่างพระบาทไป  ๗  ก้าว  มีดอกบัวขึ้นมารองรับ  ๗  ดอก
 ในพุทธประวัติ  และเรานิยมใช้ดอกบัวบูชาพระไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป  หรือพระสงฆ์
เพราะเราถือว่าบัวเป็นดอกไม้บริสุทธิ์ซึ่งเกิดจากโคลนตม  เวลาโผล่บนน้ำ  และเมื่อบาน
 มีความสะอาดบริสุทธิ์เหนืออื่นใด  จึงนิยมนำมาไว้พระ
“บัว”  กับศิลปวัฒนธรรม
                บัวเป็นพันธุ์ไม้น้ำ  ที่นิยมใช้รูปดอกเป็นสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา 
และศาสนาพราหมณ์  อันหมายถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง  ดอกบัวหลวงเป็นตันเค้าของพุทธ
ศิลปะไทย  และเป็นองค์ประกอบเชิงศิลปะ  ที่นิยมทำเป็นรูปรองพระพุทธปฏิมากร 
สถูปเจดีย์  อาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์  อาคารสำหรับสถาบันทาง
พระพุทธศาสนา  เทวรูป  และเครื่องราชูปโภค

                                 Next

HOME         MAIN
ประวัติ                    ประเภท                 การขยายพันธุ์
                 การดูแลรักษา บัว กับวิถีไทย