ที่มา : ภูรินทร์ อัครกุลธร. 2553,5

    ส่วนในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ  ประเทศอินเดีย  ได้มีการขุดค้นพบซากโบราณสถาน
โบราณวัตถุ  พบว่ามีลวดลายรูปทรางดอกบัวและกลับบัวหลวงจำนวนมากนอกจากนี้
ยังพบเมล็ดบัวหลวง  (Nelumbo nucifera Gaertn)  ณ เหมืองถ่านหินแห่งหนึ่งใน
แมนจูเรียและจีน  มีอายุระหว่าง  ๓,000-๔,000  ปี
     บัวเป็นชื่อเรียกของไม้น้ำที่มีใบลอยหรือชูพันน้ำ  ดอกหลากสี  เห็นได้ทัวไปตาม
แหล่งน้ำที่เรา ๆ  ท่าน ๆ  รู้จัก  ที่จริงแล้วมีการกล่าวถึงไม้น้ำชนิดนี้มานานมากแล้ว 
ในแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ  ทั่วโลก  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือมีหลักฐานเป็นภาพปรากฏ
ตามแหล่งวัฒนธรรมสำคัญ  ทั้งในอียิปต์  เมโสโปเตเมีย  จีน  อินเดีย ฯลฯ
    อุบลชาติ  และ  ปทุมชาติ  ก็เป็นชื่อเรียกของบัวเช่นกัน  แต่เป็นชื่อเรียกคำกลาง ๆ
 ที่มีรากศัพท์มากจากภาษาบาลีสันสกฤต  “อุบลชาติ”  แปลงมาจากคำว่า อปุปล 
ในภาษาบาลี  หรือ  อุตุปล  ในภาษาสันสกฤต  หมายถึง  บัวกินสาย  บัวก้านอ่อน 
บัวผัน  บัวเผื่อน  บัวขาบ  ที่นักพฤกษศาสตร์จัดอยู่ในวงศ์  (Family)  เดียวกัน 
คือ  Nymphaeaceae  ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ  Waterlily
   ส่วน  “ปทุมชาติ”  นั้น  แปลงมาจากคำว่า  ปทุมในภาษาบาลี  หรือ ปทุม  ในภาษา
สันสกฤต  หมายถึงบัวหลวง  หรือบัวก้านแข็ง  นักวิทยาศาสตร์จัดอยู่ในวงศ์
 (Family)  Nelumbonaceae  ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ คือ  Lotus

                                                  Next

HOME         MAIN
ประวัติ                    ประเภท                 การขยายพันธุ์
                 การดูแลรักษา บัว กับวิถีไทย