พระพุทธรูปหยก วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมือง จังหวดสงขลา ที่มา : http://www.109wat.com/bk01.php?id=550
พระพุทธรูปหยก วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
พระพุทธรูปหยก วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
พระพุทธรูปหยก เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบวัสดุหินอ่อน ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๗.๕ เซนติมเตร สูง ๖๔ เซนติเมตร
ฐานสูง ๕๐ เซนติเมตร ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส สร้างโดยพระยาวิเชียรคีรี(บุญสังข์ ณ สงขลา)ผู้สำเร็จราชการคนที่ ๕ ในตระกูล ณ สงขลา เป็นผู้สั่งการให้ช่างจีนทำการออกแบบก่อสร้างพระพักตร์ของพระพุทธรูปหยก มีพระเกตุมาลาทำด้วยทองคำประดิษฐาน ภายในพระบุษบก สองข้างมีพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องเป็นการจัดลักษณะเดียวกับพระพุทธ เทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง
     
พระพุทธรูปหยก และ ภาพจิตกรรมฝาผนังอันสวยงาม ตอนบนเป็นเรื่องพุทธประวัติ ตอนล่างเป็นเรื่องทศชาติ
ที่มา : ใต้ หรอยมีลุย. 2547,91

พระอุโบสถ  เป็นอาคารทรงไทยสมัยรัตนโกสินทร์โดยย่อส่วน และปรับปรุงจากแบบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นฝีมือช่างหลวงในกรมช่างสิบหมู่จากกรุงเทพ ฯ ร่วมกับช่างเมืองสงขลา ส่วนประกอบของช่อฟ้ามีแต่ตัวลำยองไม่มีนาคสะดุ้ง เสารองพระอุโบสถเป็นสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม ประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มมงกุฎ หน้าบันทั้งภายนอกและภายในเป็นประติมากรรมปูนปั้น นูนสูงปิดทองและติดกระจก หน้าบันด้านทิศตะวันออก เป็นรูปปั้นพระพรหมสี่หน้าทรงหงส์ ล้อมด้วยกนกลายไทย ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปปั้นพระอินทรทรงช้างเอราวัณ อยู่ในวงล้อมที่เป็นกนกลายไทย   ที่หน้าบันด้านในทิศตะวันออก มีรูปปั้นราหูอมจันทร์หน้าตรง ที่หน้าบันด้านในทิศตะวันตกมีรูปปั้นราหูอมจันทร์หน้าเอียง
          พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาส สร้างระหว่าง พุทธศักราช ๒๓๙๐ - ๒๔๐๓ รูปแบบทรงไทยมีเสาหารรับหลังคา สามารถเดินได้รอบ หน้า บันภายนอกเป็นปูนปั้นตามทิศทางต่างๆ มีรูปพระพรหมทรงหงส์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หน้าบันภายในเป็นรูปราหู ที่ผนังภาย ในมีภาพจิตกรรมฝนผนังอันสวยงาม ตอนบนเป็นเรื่องพุทธประวัติ ตอนล่างเป็นเรื่องทศชาติ ผนังภายนอกระหว่างเสาประดับด้วย ภาพจำหลักหินฝีมือช่างจีน ระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔ ได้ทำการซ่อมแซมพระอุโบสถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธียกช่อฟ้าเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๑๖
สถาปัตยกรรมเด่น ได้แก่ พระวิหารพระเจดีย์แบบจีน เสาตะเกียบคู่ของเสาธง ใบเสมา ๘ ทิศ กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ศาลาฤๅษี หอพระไตรปิฎก กุฎิแบบเก๋งจีน พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส

 
 
PREVIOUS      NEXT