"วันมหิดล" กับกองทัพเรือ
              นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขแล้ว พระองค์ก็ทรงมี
ีคุณูปการแก่กองทัพเรืออย่างใหญ่หลวง กองทัพเรือยังถือว่าใน "วันมหิดล" จะเป็นวัน
ที่ร่วมรำลึกถึง จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีพระ
กรุณาธิคุณต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์ กองทัพเรือจึงได้จัดพิธีทำบุญวันมหิดลเป็นประจำทุกปี
ตอนปลายเดือนมีนาคมนั้นเอง ทูนกระหม่อมได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นร้อยโท ในราชนาวี และได้ทรงรับราชการ
ในกระทรวงทหารเรือตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๕๘
เป็นเวลาทั้งสิ้น ๙ เดือนครึ่ง ถึงแม้พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือเป็นระยะเวลาไม่นานนัก แต่ด้วยความ
ี่ทรงเชี่ยวชาญทางเรือดำน้ำและเรือตอร์ปิโดรักษาฝั่ง สายพระเนตรอันกว้างไกลพระองค์ได้ทรงเสนอแนวคิดและ
โครงการ สร้างกองเรือรบที่กองทัพเรือ ควรจะมีไว้ประจำการต่อเสนาธิการทหารเรือ จึงทำให้เกิดการสร้างกำลังรบทางเรือไว้ป้องกันประเทศชาติ
ิในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการมีเรือดำน้ำและเรือรบประเภทต่าง ๆนั้นทำให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและ
รักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีศักยภาพ
และรักษาสันติสุขของชาติไว้ได้อย่างมั่นคง ดั่งที่ทหารเรือทั่วโลกในเวลานี้ต่างก็เล็งเห็นถึงความสำคัญ


โรงเรียนนายเรือเฟลนส์บูร์ก มุรวิก ( Marineschule Flensburg Murwik )
ปี 2456

 

สมเด็จพระบรมราชชนกกับการพัฒนาประเทศด้านการทัพเรือ
พระราชประวัติของพระองค์ท่านในส่วนที่เกี่ยวกับการทหารเรือ  ตั้งแต่ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศ
เยอรมันนี  จนถึงทรง ลาออกจากทหารเรือ  รวมทั้งการพัฒนาด้านการทัพเรือ โดยแบ่งออกเป็น  ๕ หัวข้อ  ดังนี้
๑. ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ
          การศึกษาวิชาการทหารเรือของสมเด็จพระบรมราชชนก  ทรงเริ่มศึกษาจากการฝึกภาคทะเลกับเรือฝึกวิคตอเรีย
  หลุยส์  ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะขนาดใหญ่  มีระวางขับน้ำ  ๕,๖๖๐  ตัน  มีนาวาเอก  เฟรย์  เป็นผู้บังคับการเรือ  ได้นำเรือออกฝึก และแวะเยี่ยมเมืองท่าในทะเลบอลติก  ทะเลเหนือ  อเมริกาเหนือเมริกากลางและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก  รวมระยะเวลาประมาณ   ๑๐  เดือน  พระองค์ทรงสอบผ่านวิชาเดินเรือและวิชาระดับนักเรียนทำการได้ในเดือนมีนาคม  ๒๔๕๕
          หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาการทหารเรือในโรงเรียนนายเรือมือร์วิคเมืองเฟลนส์บาร์กระยะ
เวลาประมาณ  ๑๑  เดือน  ในแต่ละสัปดาห์กำหนดให้มีการศึกษา  ๖ วัน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ หยุดพักประจำสัปดาห์ ์เฉพาะ วันอาทิตย์เท่านั้น  โดยในแต่ละวันแบ่งการศึกษาออกเป็น  ๒  ภาค
          ภาคเช้า  เป็นการศึกษาวิชาการด้านการเดินเรือ  การเรือ  ต่อเรือ  เครื่องยนต์  ไฟฟ้า คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศเป็นต้น
          ภาคบ่าย  เป็นช่วงเวลาศึกษานอกห้องเรียน  วิชาทหาร  การเรือ  กีฬา  หรือศึกษาตามลำพัง
          เมื่อพระองค์สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือมือร์วิคแล้วทรงได้รับการฝึกหัดศึกษาวิชาการทหารราบ
ในกองพันนาวิกโยธิน ที่ ๒  เมื่อวิลเฮมส์ฮาเฟน  ตามด้วยหลักสูตรการตอร์ปิโตในเรือหุ้นเกราะวีอร์เทมแบร์ก  ซึ่งใช้เป็นโรงเรียนตอร์ปิโดผลการศึกษา
ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักสูตรดังกล่าวได้ผลดีแม้พระองค์จะมีสุขภาพพลานามัย
ไม่สู้แข็งแรงนักก็ตามและหลักสูตรสุดท้ายคือวิชาการปืนใหญ่ที่โรงเรียนปืนใหญ่ทหารเรือ  เมืองซอนเดอร์บวร์ก    ไม่ปรากฎหลักฐานรายงานผลการศึกษา

๒. ทรงรับราชการทหารเรือ
          เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยได้   ๖ว ันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้าฯ
ให้เป็น  นายเรือเอก  เหมือนกับพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย  แต่พระองค์ทรงแสดงพระประสงค์ให้เลื่อนยศตาม
ระเบียบเดียวกับ ทหารเรือทั่วไป  ดังนั้นจึงได้รับพระราชทานยศเป็น  นายเรือโท  และทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในตำแหน่ง สำรองราชการ  กรมเสนาธิการทหารเรือ  ตั้งแต่วันที่ ๒  เมษายน ๒๔๗๕  เพื่อทรงศึกษาระเบียบราชการทหารเรือ  และวิธีบริหารราชการ
          สมเด็จพระบรมราชชนกทรางรับราชการอยู่ในกรมยุทธศึกษาทหารเรือ  จนกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ 
ตั้งแต่วันที่ ๒๐  มกราคม  ๒๕๔๘ เป็นต้นไป  รวมระยะเวลาที่พระองค์ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือ  ๙  เดือน 
๑๘  วัน
๓. พระจริยวัตรขณะทรงรับราชการทหารเรือ
          ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการอยู่ในกระทรวงทหารเรือ ทรงปฏิบัติพระองค์เหมือนอย่างนายทหารเรือ
ธรรมดาทั่วไป  ในการเดินทางมาปฏิบัติราชการ  ทางกระทรวงทหารเรือได้จัดเรือเป็นพาหนะรับ-ส่งให้พระองค์
โดยเฉพาะ สำหรับข้ามฟากระหว่างท่าราชวรติฐกับท่าหน้ากระทรวงทหารเรือ  พระองค์ไม่ทรงโปรดประทับในเรือ
ที่จัดถวาย  ทรงโปรด ประทับเรือที่จัดรับ-ส่งนายทหารโดยทั่วไป
          ในระหว่างรับราชการทหารเรือ  สมเด็จพระบรมราชชนกทรงมีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารีต่อข้าราชการชั้น
ผู้น้อยของ ทหารเรือเป็นอย่างยิ่ง  เงินเดือนที่พระองค์ทรงได้รับจะทรงเก็บไว้ในโต๊ะทรงพระอักษร  เพื่อเก็บไว้ประทานแก่ทหารรับใช้และบุคคลอื่นตามพระอัธยาศัย

๔. ทรงพัฒนาด้านการทัพเรือ
      แม้สมเด็จพระบรมราชชนกจะทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือระยะเวลาสั้นก็ตาม
 แต่พระองค์ทรงมีพระดำริที่เป็นผลงานการพัฒนาด้านการทัพเรือฝากเอาไว้หลายเรื่อง 
ทั้งที่เป็นเอกสารของทางราชการ  บันทึกรายงานการเสนอความคิดริเริ่ม  และเอกสารบันทึก
ส่วนพระองค์  สามารถรวบรวมและสรุปได้  ๔  เรื่อง  ดังนี้
          ๑. บันทึกรายงานความเห็นเรื่องเรือ  “ส”
          ๒. ทรงร่วมจัดแสดงจำลองยุทธทางเรือ
          ๓. โครงการสร้างกำลังทางเรือ
          ๔. ทรงออกแบบเรือรบใช้เครื่องยนต์ดีเซล
๕. ทรงกราบถวายบังคมลาออกจากทหารเรือ
          สมเด็จพระบรมราชชนกทรงกราบถวายบังคมลาออกจากทหารเรือ  ตั้งแต่วันที่  ๒๐ มกราคม  ๒๔๕๘  เพื่อเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ต่อไป 

 
<<< Previous >>> Next