|
สาเหตุที่พระองค์ทรงลาออกจากราชการทหารเรือวิเคราะห์ได้ว่าคงเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้
ประการแรก พระองค์ทรงต้องการอยู่เรือบังคับการเรือตอร์ปิโด และออกทะเลแต่กระทรวงทหารเรือเห็นว่าไม่สมควร
ที่สมเด็จเจ้าฟ้าจะทรงทำเช่นนั้น จึงได้จัดให้พระองค์ไปรับราชการในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ
และต่อมาย้ายไปประจำกองอาจารย์นายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อาจทำให้พระองค์เกิดความเบื่อหน่าย
ประการที่สอง พระองค์เห็นว่าความสำคัญและความจำเป็นในการใช้เรือขนาดเล็กความเร็วสูงประเภทเรือตอร์ปิโด
สำหรับใช้เป็นเรื่อเร็วโจมตี และเรือดำน้ำสำหรับใช้เป็นอาวุธป้อมปรามเพื่อใช้ป้องกันประเทศตามแผนการปรับปรุงกำลังทางเรือ
แต่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ส่วนมากเล่าเรียนมาจากอังกฤษ ต้องการมีเรือใหญ่ อาจเกิดปัญหาขัดแย้งและไม่ได้รับความเห็นชอบ
จากนายทหารส่วนมากในที่ประชุม จึงเชื่อว่าพระองค์คงไม่สามารถสร้างความเจริญให้แก่ทหารเรือของชาติได้อย่างเต็มที่
ประการที่สาม การที่บันทึกรายงานความเห็นเรื่องเรือ “ส” (หมายถึงเรือดำน้ำ ย่อมาจาก Submarine) ของพระองค
์ถูกแช่เย็นอยู่ในตู้นิรภัยโดยไม่ได้รับการพิจารณา อาจทำให้พระองค์ท้อพระทัยที่จะรับราชการทหารเรือต่อไปก็เป็นได้
ประการที่สี่ ขณะที่ทำรายงานความเห็นเรื่องเรือ “ส” พระองค์มักจะทรงไปสอบถามนายแพทย์ใหญ่ ที่ศิริราชพยาบาล
บริเวณวังหลัง เกี่ยวกับการถนอมอาหารที่จะเก็บไว้ให้ได้นานกับเรือดำน้ำ ในระหว่างนี้เอง พระองค์ได้ทรงพบเห็นคนเจ็บป่วย
ที่มารักษาอยู่ในสภาพน่าสงสารเป็นจำนวนมาก พระองค์อาจเกิดความคิดว่าจะทรงสามารถทำประโยชน์ทางด้านกิจการแพทย์
ได้มากกว่ากิจการทหารเรือ
หลังจากทรงลาออกจากทหารเรือแล้ว พระองค์ได้ทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์จนได้รับปริญญา
แพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และเสด็จกลับมาสร้างความเจริญ
และทรงวางรากฐานการแพทย์และสาธารณสุขเป็นเหตุให้วิทยาการแพทย์และสาธารณสุข
แผนปัจจุบันหยั่งรากลึกลงในสังคมไทยด้วยเหตุนี้พสกนิกรจึงพร้อมใจกันถวายพระสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย” |
|
สิ้นพระชนม์
วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ รวมพระชนมายุ ๓๗ พรรษา ๘ เดือน ๒๓ วัน
๒๑ ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ผู้ที่ได้รับทุนของพระองค์ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ผู้ที่เคยได้รับพระมหากรุณาในประการอื่นๆ ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการร่วมกันน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง และมีศาสตราจารย์ศิลป พีรศรี เป็นผู้ควบคุมงาน
|
|
โกศพระศพ ประดิษฐาน ณ ท้องพระโรง วังสวนกุหลาบ |
การพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จฯพระบรมราชชนก ณ เมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2472 |
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชนุสาวรีย์เมื่อวันที๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๗ และอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐานและบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ |
|
|
|