ใน  ตำนานอุรังคธาตุกัณฑ์ที่  ๒  พุทธประวัติ  ยังบรรยายถึง  การเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยการ
สร้างรอยพระพุทธบาทในที่ต่าง ๆ  ซึ่งเป็นยุคก่อนจะมีพระพุทธรูป  ตลอดจนการทำให้พวกนาคยอมรับ
นับถือพุทธศาสนา  มีข้สันนิษฐานว่า  แต่เดิมมาคนเผ่าอ้ายลาวคงนับถือผีคือบรรพบุรษผู้มีพระคุณที่
ล่วงลับไปแล้วและมีลัทธิบูชางู  โดยเหตุที่ได้อพยพโยกย้ายมาสู่อาณาบริเวณที่เป็นมรสุมฝนตกชุก
มีสัตว์ร้ายนานาชนิด  โดยเฉพาะคงจะถูกงูกัดตายมาก  จึงยอมจำนนแล้วบูชาจะเห็นรูปปั้นงู
ในสมัยก่อนเป็นหัวงูจงอางซึ่งเรียกกันว่า  งูซวง  ต่อมาจึงเติมหนอนขึ้นคล้ายกับสวมชฏาให้งูแล้ว
ใช้เป็นลวดลายประดับไว้ตามสถานที่เคารพ  เช่นบนหลังคาโบสถ์วิหารหรือตามข้างบันไดทางขึ้นลง
 ต่อมาชนพวกนี้จึงยอมรับนับถือพุทธศาสนาในสมัยก่อนสร้างพระอุรังคธาตุ
                นอกจากนี้ยังพบวัฒนธรรมการสักที่เกี่ยวข้องกับนาคที่ว่า  พวกอ้ายลาวโดยคำว่าอ้ายลาวหมายถึง 
ชนชาติไทยคือลาว  แต่โบราณนานมาเรียกกันว่า  “อ้ายลาว”  (มานิต  วัลลิโภดม  ๒๕๒๑:๑๑๗)  นิยมสักตัว
ด้วยหมึก  โดยเฉพาะ  มณฑลยูนานกับไกวเจานั้น  จีนหรือฮั่น  เลยเรียกพวกนี้ว่า  ขึ่นหมาน  ที่แปลว่า
 งูใหญ่  ความข้อนี้นำไปพิเคราะห์เปรียบเทียบกับพงศาวดารญวนที่เล่าว่า  พระเจ้าหลากกองลุน
  เป็นเชื้อสายพระยานาค  และทรงประกาศบังคับให้พลเมืองของพระองค์สักเนื้อตัวให้เป็น  รูปนาค
 รูปงู
                เพื่อป้องกันอสรพิษ  นั้น  ก็ได้ความรู้ว่าชนเหล่านั้นคือพวกอ้ายลาว  ต่อมาชนเผ่าอ้ายลาว
ที่เคลื่อนตัวมาอยู่ทางอาณาจักรล้านนา  และล้านช้าง  (ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังสอดคล้องกับการศึกษา
ของนักวิชาการลาว  (หุมพัน  รัตนวงศ์,  ๒๕๓๗:๑๐๘)  กับความเชื่อที่ว่าคนลาวและตระกูลของ
คนลาวเป็นนาค)  ยังนิยมทำการสักตัวด้วยหมึกอยู่  เนื่องจากได้รับ  อิทธิพลทางศาสนาจากอินเดีย
 มากขึ้นกว่าเดิม  จึงเปลี่ยนลวดลายการสักจากรูปนาค  รูปงู  เป็น  สัตว์ป่าหิมพานต์ตามคติของอินเดีย
 เช่น  รูปมอม (สิงโต)  และรูปนก  (จารุบุตร  เรืองสุวรรณ  ๒๕๒๑:๑๒)
                ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  นาค  คือผู้บันดาลให้เกิดแม่น้ำลำคลองเกิดความสมบูรณ์พูนสุขแก่บ้านเมือง
และอาจบันดาลภัยพิบัติให้น้ำท่วมเกิดความล่มจมแก่บ้านเมืองก็ได้  นาคมีความสัมพันธ์กับคน
นฐานะเป็นบรรพบุรุษ  เช่น  ประวัติของอาณาจักรฟูนันในจดหมายเหตุจีนกล่าวว่า  พราหมณ์
มาแต่งงานกับลูกสาวนาคแล้วตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองฟูนัน  หรือในตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึง
การที่พระพุทธเจ้าทรงทรมานพวกนาค  จนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  กลายเป็นผู้อุปถัมภ์
พระพุทธศาสนาไปยิ่งไปกว่านั้นนาคยังเป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ในการปกครองและความยุติธรรม
 (ศรศักร  วัลลิโภดม,  ๒๕๔๖:๑๒)

PREVIOUS        NEXT