ในคติพุทธ  นาคเป็นสัญลักษณ์แทนกิเลส  หรือความชั่วร้ายทั้งหลาย
 กิเลสอันชั่วร้ายที่มีพิษสงฉกาจฉกรรจ์  ทำให้คนทั้งโลก
ตกอยู่ภายใต้อำนาจนั้น  บัดนี้ได้ถูกพระพุทธเจ้าทรง
เอาชนะมันได้การที่พระพุทธเจ้าประทีปนั่งบนพญานาค
เท่ากับบอกให้โลกรู้ว่าบัดนี้พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะกิเลส
ทั้งมวลได้เด็ดขาดแล้ว  (เสถียรพงษ์  วรรณปก,
 ๒๕๓๗:๓๗)  นอกจากนี้ยังมี  ช้าง  เป็นสัตว์สัญลักษณ์
อย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องเนื่องในวัฒนธรรมนาคาคติ  ดั่งปรากฏ
หลักฐานในตำนานสิงหนวติกุมารเรื่อง  พระเจ้าพรหม  ว่า
  งูใหญ่ (นาค)  กลายร่างเป็นช้างเผือกชื่อ  ช้างพานคำ
 เป็นพาหนะคู่บุญทั้งพระเจ้าพรหมและท้าวฮุ่งหรือขุนเจือง

 

ที่มา : ติ๊ก แสนบุญ. 2550,33

   

                                

 
ที่มา : ติ๊ก แสนบุญ. 2550,32
 
ในส่วนของความเป็นสัญลักษณ์จากงู  สู่นาคโดยถูกปรับเปลี่ยนตามภาษาศักดิ์สิทธิ์
 ดังปรากฏอยู่ที่ลวดลายเขียนสีบนหม้อเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากที่ทำขึ้นเพื่อ
เซ่นบูชาศพ  ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น  หรือจะเห็นได้จากการที่รูปสัญลักษณ์
นาคถูกนำไปผูกติดเป็นองค์ประกอบสำคัญอยู่กับบั้งไฟ  ที่มนุษย์จุดไปขอฝน
  โดยมีลักษณะแบบงู  หรือนาค  จะสามารถพบได้ในกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว
ในหลายประเทศ  นอกจากนี้ยังมีงานพุทธหัตถศิลป์อย่าง  โฮงฮด  เป็น  รูปพญานาค
 ที่ใช้ในการทำ  พิธีฮดสรงพระ  หรือที่เรียกว่าพิธีเถราภิเศก  อันแสดงถึงการใช้นาค
เป็นสัญลักษณ์ในการเป็นตัวกลางที่เปลี่ยนผ่านสถานภาพทางสังคมระหว่าง
ชาวบ้านและพระสงฆ์
 
PREVIOUS        NEXT