ที่มา : ติ๊ก แสนบุญ. 2550,34

นาค  ในมิติวัฒนธรรมเชิงช่าง  โดยเฉพาะในกลุ่มวัฒนะรรมไทย-ลาว  ทั้งล้านนาและล้านช้าง
 ยังปรากฏการใช้นาคเป็นองค์ประกอบสำคัญในลวดลายของผ้าทอโดยลดทอนรายละเอียด
ตามจินตนาการเป็นลักษณะตัว  s  และตัว  w  โดยมีคำอธิบายว่าความคิดเรื่องนาคมีมาก่อน
ที่นาคแบบอินเดียจะแพร่เข้ามาสู่ท้องถิ่นนาคในความหมายเก่าของท้องถิ่นเป็นสัญลักษณ์
แห่งอวัยวะเพศชายเป็นผู้บันดาลสายฝนเชื่อมดยงกับความอุดมสมบูรณ์  เมื่อรับ
พระพุทธศาสนาเข้ามา  นาคได้หมายถึงสายรุ้งผู้เชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับเขาพระสุเมรุ
อันเป็นที่สถิตย์ของพระเจ้า  (แพทริเซียแน่นหน่า  อ้างถึงใน  พิเชษ  สายพันธ์,  ๒๕๓๙:๓๕)
 ในส่วนงานประติมากรรมโดยเฉพาะพระพุทะรูปกับนาค  ที่กลายมาเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับ
วัฒนธรรมพื้นถิ่นในแถบนี้กับวัฒนธรรมทางศาสนาจากภายนอกได้ก่อเกิด  คติการสร้าง
พระพุทธรูปนาคปรก  ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่เป็นบ่อเกิดลัทธิธรรมเนียมการทำ
พระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าแก่ที่สุด  ก็น่าจะเป็นประเทศไทย  (ชอง  บวสเซอลิเยร์, 
๒๕๓๐:๑๓๑)  ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังสอดคล้องกับการศึกษาของ  ไมเคิล  ไรท
  ที่อธิบายว่า  พระพุทธรูปนาคปรกไม่พบในอินเดียหรือในลังกา  แต่พบการทำในแถบนี้
เพราะฉะนั้นพระพุทธรูปนาคปรกจึงเป็นการกลืนกันระหว่างอำนาจทางธรรมกับ
อำนาจทางโลกให้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ทุกครั้งที่เรากราบพระพุทธรูปนาคปรก
  เรากราบทั้งอำนาจทางธรรมซึ่งแสดงโดยตัวองค์พระพุทธรุปกับนาคปรกที่อยู่ข้างหลัง
ด้วยเหมือนกับนิทานฮินดูหลายเรื่องที่พยายามกลืนสองอย่างนี้เข้าหากัน  เขาไม่ได้ทำ
สัญลักษณ์แบบที่เราเรียกว่านาคปรก  ฉะนั้นการกราบพระพุทธรูปนาคปรกก็คือการบูชา
ความอุดมสมบูรณ์ในทางจิตใจและในทางโลกในเวลาเดียวกัน
 (นิธิ  เอียวศรีวงศ์,  ๒๕๔๙ : ๖๒-๖๓) 

 
PREVIOUS        NEXT