|
|
|
|
|
|
|
ที่มา : ติ๊ก แสนบุญ. 2550,29 |
นาค หรือ พญานาค เป็นชื่อเรียกตามสมมติอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกแทน สัตว์เลื้อยคลานในจินตนาการประเภท งู
ที่มีปรากฏการณ์ความเชื่อทั้งในโลกวัฒนธรรมตะวันตกและโลกตะวันออก โดย มิติทางภาษา
นาค จัดอยู่ในภาษาตระกูล อินโด-ยูโรป มีรากเดิมว่า นอค (naga) แปลว่า เปลือย แก้ผ้า
แล้วภาษาอังกฤษรับมาใช้ว่า nakea เป็นอันรู้กันว่านาคไม่ใช่คำไทยลาวและไม่ใช่คำมอญเขมร
แต่ทั้งตระกูลไทยลาวกับมอญเขมรรับมาใช้ในความหมายว่า งู เพราะงูป็นสัตว์เปลือย
ไม่มีขนปกปิดแล้วสร้างจินตนาการเพิ่มเติมต่อมาว่า หัวหน้างู ทั้งหลายคือ
พญานาค (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๔๙:๒๖๔) และโดยเฉพาะในบริบทแถบถิ่นลุ่มน้ำโขง
ตั้งแต่ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เรื่อยลงมาจนถึงปากแม่น้ำโขงล้วนแล้วแต่
มีคตินับถือบูชางู หรือนาค โดยในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี มีหลักฐานสำคัญ
ที่อธิบายความหมายเชื่อมโยง จาก ลวดลายเขียนสีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
หรือที่บ้านโนนต่ำ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปรากฏลวดลายเขียนสีเป็นรูปงูที่ภาชนะ
ดินเผาที่ใช้เช่นบูชาศพจำนวนมาก |
|
ที่มา : ติ๊ก แสนบุญ. 2550,30 |
ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นร่องรอยความเชื่อมโยงถึง ลัทธิความเชื่อดั้งเดิมที่มีต่อ งู ว่าผู้คนในแถบถิ่นอุษาคเนย์นั้น
เคารพบูชางูมาไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีตั้งแต่ยุคโลหะซึ่งพบในแอ่งสกลนคร (ปราณี ววษ์เทศ ๒๕๔๓:๒๒๖) เช่นเดียวกับคนในวัฒนธรรมอื่น ๆ ดั่งมีตำนานในแถบลุ่มน้ำโขงเช่นในเขมร มีเรื่อง นางนาคกับพระทอง
กล่าวได้ว่าเป็นนิทานปรัมปราของบรรพบุรุษเขมร ในลาวและภาคอีสานของไทยมีหนังสืออุรังคธาตุ
ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับนาคอยู่มากมาย ส่วนเวียดนาม (อาณาจักรจามปา) มีนิทาน นางนาค เช่นกัน
และไทยสยาม ในแถบแคว้นสุโขทัยมีเรื่องราวพระร่วงเป็นลูกนางนาค ส่วนในพม่ามีตำนาน
เกี่ยวกับนาคอยู่ในเรื่อง กำเนิดเมืองหงสาวดี ดังนั้น นาคจึงมีความหมายนัยยะสำคัญต่อลัทธิ
ความเชื่อ ที่เป็นลักษณร่วมบนความหลากหลายของวัฒนธรรมตามบริบทในแต่ละพื้นที่ |
|
|
|