แห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ลงน้ำ ที่แม่น้ำปัตตานีกลางเมือง ที่มา : อภินันท์ บัวหภักดี. 2554,49 |
|
ประวัติของเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว เป็นตำนานที่ย้อนกลับไปถึงสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา เอ่ยอ้างถึงการมาของนายทหารจีนรูปหล่อ ชื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยมซึ่งเป็นพี่ชายของลิ่มกอเหนี่ยวว่า เมื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยมคุมสำเภามาถึงปัตตานีก็ได้พบรักกับบุตรสาวเจ้าเมือง และได้อยู่ช่วยเป็นมือขวาให้แก่เจ้าเมืองปัตตานีในกิจการต่าง ๆ รวมถึงการเป็นนายกองจัดสร้างมัสยิดสำคัญประจำเมือง คือ มัสยิดกรือเซะในปัจจุบัน และต่อมามิสยิดกือเซะก็สร้างไม่สำเร็จจริง ๆ ในตำนานของเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวกล่าวว่า ทุกครั้งที่มัสยิดสร้างมาจนถึงขั้นสุดท้ายคือยอดโดม ก็จะต้องถูกฟ้าผ่าพังทลายลงมาทุกครั้ง และด้วยเรื่องราวอันเป็นตำนานของการเดินทางไกลข้ามน้ำข้ามทะเลมาติดตามพี่ชาย ความกตัญญูในตัวมารดา และความมีวาจาสิทธิ์จึงทำให้ลิ่มกอเหนี่ยวได้กลายเป็นเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่องลือ ในปัจจุบันศาลของเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวคือศาลเจ้าเล่งจูเกียงใจกลางเมืองปัตตานี
|
|
ภายในวังยะหริ่ง อดีตที่พักและที่ว่าการเมืองยะหริ่ง พิธีลาซัง (ปูยอมือแน) เป็นพิธีฉลองนาหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ที่มา : อภินันท์ บัวหภักดี. 2554,43 ที่มา : ประเพณีแห่ลาซัง หรือที่ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า "บูยอบือแน" http://123.242.179.85/webptn/index. |
|
และแม้จะผ่านเลยมาเป็นสิบปี แต่ความร้อนที่หน้ากองไฟก็ยังคงร้อนจี๋ และกลุ่มควันหนาทึบที่เกิดขึ้นจากกองไฟก็ยังคงแสบหูแสบตา ทว่าลูกศิษย์ที่มากันมากมายจนเต็มเมืองของเจ้าพ่อเจ้าแม่ก็ยังแบกเกี้ยวเดินลุยขึ้นกองไฟกันได้อย่างไม่ครั่นคร้าม จะมีใครบาดเจ็บขาพองไหม้จากการนี้หรือไม่ ลองถามคนในเมืองดูอย่างเปิดอก ก็ได้คำตอบว่ามีอยู่บ้างเหมือนกัน แต่ก็ต้องถามต่อว่า แล้วลูกศิษย์คนนั้นก่อนมาลุยไฟไปทำบาปหนักหนาอะไรมาหรือเปล่า เจ้าพ่อเจ้าแม่จึงลงโทษถึงขนาดนั้น | |