ชื่อเรียกในภาษาถิ่น

ภาษาเรียกภาคเหนือตอนล่าง
จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน เรียกว่าไอ้จุกก้นแดง (ตูดแดง) หรือไอ้จุกหน้าแดงก็เรียก นกเพ็จจะหลิว พิตตะหลิว ก็เรียกๆ ตามสีลักษณะของนก บางก็เรียกนกปรอดก้นแดง ก็มีแต่ก็เป็นส่วนน้อยเนื่องจากว่าไม่ได้ใส่ใจไม่ได้ให้ความสำคัญมาแต่ต้น โดยมากชาวบ้านมักจะจับนกมาทอดกรอบรับประทานเป็นอาหาร หรือไม่ก็ขายบางแล้วแต่โอกาส
ภาษากลาง
ภาษาเรียกชื่อทางภาคกลาง เรียกเหมือนกันว่านกปรอดหัวจุก ภาษาเรียกชื่อทางราชการโดยกรมป่าไม้ นกปรอดหัวโขนเคราแดง (PYCNONOTUS JOCOSUS) ในกลุ่มเผ่าพันธุ์สายตระกูลนี้มีอยู่ห้าชนิดรูปร่างสัณฐานคล้ายกันทั้งห้าตัวตัวที่หนึ่ง สีสันลักษณะจะโดดเด่นกว่าเพื่อนๆ มีจุกยาวบนหัว มีสีแดงที่แก้มหรือที่ใบหน้า มีบัวแดงที่ก้นหรือใต้ทวารหนักและสายพันธุ์ที่ทั่งไปนิยมเลี้ยง นิยมเล่นกันมาก เพราะมีลักษณะที่สวยงามเฉพาะตัวไม่เหมือนนกอื่นๆ ชื่ออนาคตมีแนวโน้มเรียกเป็นสองชื่อสองภาษาเรียก
1.ภาษาเรียกทางราชการ “นกปรอดจุกหัวโขนเคราแดง”
2.ภาษาเรียกตามสังคมนิยมในปัจจุบันนกกรงหัวจุก จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม นกกรงหัวจุกชื่อนี้กำลังเป็นที่นิยมขานรับกันทั่วประเทศ เป็นแรงศรัทธาของผู้เล่น ต่างก็ชอบร่วมกันตั้งสมยานามนี้ขึ้นโดยยึดหลัก ปฏิบัติตามกรอบเดิมซึ่งเรียกกันมานานกว่า 20 ปี
(สงกรานต์ ศิลลามะ, 2542 )