ครอบแก้วตรงบริเวณที่ยืนขอพรต่ออัลลอฮ์ของนบีอิบรอฮีม (มะกอมอิบรอฮีม) ที่มา : บรรจง บินกกาซัน. 2542,84

ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
 ประเพณีวันฮารีรายอ

                วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม นอกจากมุสลิมจะถือว่าวันศุกร์เป็นวันสำคัญในรอบสัปดาห์ เพราะชายมุสลิมทุกคนต้องไปละหมาดร่วมกัน ณ มัสยิด และรับฟังคำอบรมแล้ว ในรอบปีชาวไทยมุสลิมยังมีวันสำคัญอื่นเป็นวันรื่นเริง คือ
                 วันอีด ซึ่งมี วาระ คือ อีดุลฟิฏร์ และอีดุลอัฎหา
                ความหมายของวันอีด อีด แปลว่า เทศกาล, ที่กลับมา เวียนมา ในรอบปีหนึ่งชาวไทยมุสลิมมีวันอีดสองครั้งคือ อีดุลฟิฏร์ และอีดุลอัฎหา
               วันอีดุลฟิฏร์       อัลฟิฏร์ แปลว่า สภาพเดิม เมื่อนำเอาคำว่า “อีด” มาประสม กับ “อัลฟิฏร์” จึงได้เป็น อีดุลฟิฏร์ มีความหมายว่า วันรื่นเริงเนื่องในการครบรอบเข้าสู่สภาพเดิม หรือเทศกาลของการเข้าสู่สภาพเดิม คือ สภาพที่ไม่ต้องอดอาหาร ซึ่งตรงกับวันที่ (วันขึ้น1 ค่ำดือนเชาวาล (เดือนที่ 10 ของชาวมุสลิม)
               ในระหว่างเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม) มุสลิมจะต้องถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งบางคนเรียกว่า ถือบวช ฉะนั้นวันอีดุลฟิฏร์ คือ วันรื่นเริงที่กลับสู่สภาพเดิม คือ ไม่ต้องถือบวช จึงนิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช” หรือ “วันอีดเล็ก” ภาษามลายูเรียกว่า “ฮารีรายอ ปอซอ”

                           
               วันอีดุลอัฎหา        อัฎหา แปลว่า การเชือดสัตว์พลี เพื่อเป็นเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน มื่อนำมาประสมกับคำว่า อีด จึงกลายเป็น อีดุลอัฎหา หมายถึงวันรื่นเริงเนื่องในการเสร็จสิ้นวันประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งมีการเชือดสัตว์พลีเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน ตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลฮัจญะห์ (เดือนที่ 12 ของฮิจญ์ จึงนิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกฮัจญี” หรือวันออกอีดใหญ่ว่าตรงกับภาษามลายูว่า “ฮารีรายอฮายี”
               อนึ่ง การฉลองนี้ไม่ได้มีเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำฮัจญ์ ณ นตรเมกกะเท่านั้น แต่เป็นการฉลองพร้อมกันทั่วโลกทั้งผู้ที่ไปและไม่ได่ไปประกอบพิธีฮัจญ์
               วัตถุประสงค์

  1. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
  2. เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวงศาคณาญาติและเพื่อนฝูง
  4. เพื่อสงเคราะห์อาหารแก่คนยากจน
  5. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบต่อกันมา

             กระบวนการ
   ในวันอีดทั้งสองนี้ ชาวไทยมุสลิมควรปฏิบัติดังนี้

  1. อาบน้ำซุนนะห์ ให้อาบทั้งชายหญิงและเด็ก ซึ่งจะสามารถไปละหมาดอีกได้หรือไม่ก็ตาม
  2. ให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดในบรรดาที่ผู้นั้นมีอยู่
  3. หากเป็นวันอีดุลฟิฏร์ ทุกคนต้องตวงข้าวสารบริจาคแก่คนยากจน
  4. ให้ทุกคนเดินทางไปร่วมละหมาด และชุมนุมกันที่มัสยิด เพื่อฟังคุฏบะฮ์และร่วมตักบิร์ (การกล่าวสดุดีในพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ) การเดินทางไปมัสยิดนั้น จะเป็นการดีหากจะไปโดยการเดิน ทั้งนี้เพราะระหว่างเดินทางจะได้พบปะทักทายเยี่ยมเยียนและขออภัยซึ่งกันและกันกับพี่น้องชาวไทยมุสลิม และญาติมิตรอันเป็นแนวทางท่านศาสดาเคยปฏิบัติ
  5. ให้กล่าวตักบิร์ เพื่อสูเจ้าจะได้ร้องขอความเกรียงไกรของพระอัลลอฮ ในการที่พระองค์ได้ทรงนำทางสูเจ้า
  6. การละหมาดนี้เป็นสุนัต คือ สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างหนึ่ง
  7. การฟังคุตบะฮ คือ ฟังอบรมแนะแนวทางชีวิตทั้งด้านความศรัทธาที่กระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติแต่ความดี ละเว้นความชั่ว และปฏิบัติตนตามแนวทางของอิสลาม เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างดีมีความสุข ในฐานะที่เป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติหนึ่ง
  8. ไปเยี่ยมญาติพี่น้อง เพือ่นฝูง เพื่อเป็นการผูกสัมพันธ์และขออภัยซึ่งกันและกัน
  9. ในความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
  10. ร่วมสนุกสนานรื่นเริงต่างๆที่จะจัดให้มีขึ้น แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของหลักการอิสลาม

              ก่อนถึงวันอีดประมาณ 1-2 วัน ชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมทำขนมต้มห่อด้วยใบกะพ้อ สำหรับเลี้ยงในคืนก่อนวันอีดและแจกจ่ายญาติพี่น้องเพื่อนบ้านในวันรุ่งขึ้น ชาวไทยมุสลิมจะเริ่มคอยเริ่มฟังข่าวการประกาศจากศุนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือจากจังหวัดก็ได้ เมื่อมีข่าวยืนยันว่าวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันออกบวชหรือวันฮารีรายอ ชาวไทยมุสลิมบางครอบครัวจะเตรียมการทำนาซิดาฆัง (คล้ายข้าวต้ม) ขนมจีน สะเต๊ะ และอาหารอื่นๆสำหรับเลี้ยงในวันฮารีรายอ ในวันนี้ชาวไทยมุสลิมทั้งชายและหญิงจะตื่นเช้า อาบน้ำซุนนะห์ เสร็จแล้วจะเดินไปละหมาดที่มัสยิด เมื่อเสร็จจากการละหมาดก็ไปเยี่ยมกูโบ (สุสาน) อ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน แผ่ผลบุญให้แก่ผู้ตาย และช่วยกันทำความสะอาดให้แก้กูโบ การไปเยียมกูโบ (สุสาน) ซึ่งมักปฏิบัติในหมู่มุสลิมในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย อนึ่งการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน จุดประทีปที่หลุมฝังศพด้วยนั้น ไม่ได้บัญญัติไว้ในหลักของศาสนาอิสลาม วันอีดเป็นวันรื่นเริงไม่ใช่วันโศกเศร้า กลุ่มประเทศอาหรับไม่มีมุสลิมคนใดกระทำกัน ในวันนี้ชาวไทยมุสลิมจะไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน ตลอดจนการเยี่ยมญาติพี่น้องครูบาอาจารย์ แจกขนมต้ม และถือโอกาสขออภัยซึ่งกันและกันในสิ่งที่มีการผิดพลาดล่วงเกินไปแล้ว มีการเลี้ยงอาหาร น้ำชา เที่ยวชมงานฮารีรายอตามหมู่หมู่บ้านต่างๆที่จัดขึ้นหรือดูภาพยนตร์ในเมือง  กลางคืนจะจัดให้มีการรื่นเริงสนุกสนาน และมีการละเล่นต่างๆ ในบางหมู่บ้าน
               ปัจจุบัน ทางรัฐบาลมีนโยบายให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และหน่วยงานทางราชการ ช่วยสนับสนุนการจัดงานฉลองให้แก่ชาวไทยมุสลิมเพื่อเปิดโอกาสให้เที่ยวงานอย่างสนุกสนาน ดังปรากฏที่จังหวัดปัตตานีได้ลงทุนจัดงานต้อนรับฮารีรายอเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวไทยมุสลิมมาเที่ยวงานอย่างสนุกสนานกัน               ปัจจุบันนี้งานต้อนรับฮารีรายอกลายเป็นประเพณีของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนถึงวันนี้ทางจังหวัดปัตตานีจะเตรียมงาน โดยจัดให้มีการละเล่นต่างๆมสามาย รวมทั้งมหรสพเปิดโอกาสให้ชาวไทยมุสลิมเข้ามาเที่ยวงานฮารีรายอ แต่ศาสนิกต่างศาสนา อาทิ พุทธศาสนิกชนก็มาเที่ยวงานสนุกสนานร่วมกัน นับว่าเป็นประเพณีที่สมควรแก่การส่งเสริมให้มีตลอดไป จะทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนุกสนาน และได้พบปะกันในงานทำให้บุคคลทั้งสองกลุ่มมี
ความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นสมาชิกในสังคมเดียวกัน ทั้งสามารถที่จะมาร่วมสนุกสนานกันได้ เพราะการจัดงานต้อนรับฮารีรายอไม่ขัดต่อหลักการอิสลาม แต่อิสลามก็สนับสนุนให้มีการ
รื่นเริงภายในขอบเขตของศาสนา สิ่งใดที่ไม่ควรจึงควรงดไว้